วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556

บุึคลลสำคัญมาพบกันที่ีวัดเชียงป้อม เชียงรุ่ง สิบสองปันนา

บุคคลสำคัญในทางพระพุทธศาสนา จากซ้ายไปขวา ๑ พระอาจารย์พระครูประกาศพุทธพากย์ พระธรรมทูตสายต่างประเทศ ผู้อุปถัมภ์การฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในสิบสองปันนา ๒ พระครูสิริธรรมวิเทศ เจ้าอาวาสวัดญาณรังษี วอร์ชิงตัน ดีซี เวอรน์จีเนียร์ สหรัฐอเมริกา ๓ หนานมหาจอมผู้เคยบวชเรียนจบถึงเปรียญธรรม ๔ ประโยค ผู้อำนวยการซ่อมวิหารวัดปาเชต์มหาราชฐาน สิบสองปันนา

พญานาคหน้าวิหาาวัดเชียงป้อม

พญานาคที่ชาวไทลื้อเรียกว่าลวง เป็นสัตว์ที่มีพลังอำนาจมากกว่าพญานาคและมังกร มักจะทำไว้ทุกแห่งในดินแดนไทโบราณที่นับถือพระพุทธศาสนา ถ่ายที่หน้าวิหารวัดเชียงป้อม ต.กาดทราย อ.เชียงรุ่ง จ.สิบสองปันนา มณฑลยูนนาน สาะารณรัฐประชาชนจีน

ชาปูเอ้อร์แห่งสิบสองปันนา

ชาปฟุเอ้อร์ มีถิ่นกำเนิดอยู่ในสิบสองปันนา ราคาก็ขึ้นอยู่กัยอายุแห่งต้นชานั้นๆ หากมีอายุมากๆ ราคาใบชาที่เก็บจากต้นชานั้นก(็จะมีราคาแพงไปด้วย เวลาซื้อเขาจึงมักจะถามเสมอว่า เอาชาปีไหน คือแบบอานุมากหรือน้อย เปฌ็นต้น อายุมากมักจะมีผลทางเป็นยาบำรุงไปด้วยทำให้าราคาแพง

พระครูสิริธรรมวิเทศ กับผู้เฒ่าแห่งสิบสองปันนา

พระอาจารย์พระครสิริธรรมวิเทศ (อุดม อตฺตมสีโล) เจ้าอาวาสวัดญาณรังษี เวอร จีเนีรยร์สหรัฐอเมริกา ถ่ายภาพที่ระเบียงบ้านไทลื้อกับผู้เฒ่าเจ้าของบ้านแห่งสิบสองปันนา มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน

สร้างบ้านกลบบ่อน้ำ

ยอดแหลมที่โผล่ขึ้นมาคือยอดอาคารที่สร้างครอบบ่อน้ำเอาไว้แต่โบราณ เมื่อทำการสร้างบ้านใหม่ต้องการถมให้จมมิดลงในดินข้างบ้าน แต่พระอาจารย์ตุ๊เจ้าขงเจ้าอาวาสวัดเชียงป้อม เป็นผู้อนุรักษ์ของเก่า ต้องการให้รักษาสมบัติเก่าที่บรรพชนทำไว้จึงสั่งให้เอาดินถมออก จึงเหลือโผล่มาให้เห็นแต่ยอดแหลมๆดังปรากฏในภาพ

รถบรรทุกไฟฟ้า

รถบรรทุกใช้แบตเตอรี่ บรรทุกของไดเ้เต(็มคัน ผมเห็นเขาบรรทุกขวดน้ำดิ่มขนาดยักษ์เต็มคันรถแบะสามารถใช้ความเร็วได้เป้นปกติ มีเกียรผืเดินหน้าถอยหลังได้เหมือนรถยนต์ทั่วๆไป แต่ที่สำคั(ญก็คือมันไม่ได้ใช้น้ำมัน ทำให้เราไม่ต้องจ่ายค่าน้ำมันที่แสนจะแพง น้ำมันในเมืองจีนแพงกว่าในประเทศไทย การใช้รถไฟฟ้ารแบบนี้จึงช่วยได้มาก อันที่จริงมันก็ไม่ใช่ขอิงยากสำหรับคนไทย แต่มันยากที่คนมีอำนาจทำไม่อยากทำคือนักการเมืองต่างหาก

เสาหลักบ้าน สิบสองปันนา จีน

เสาหลักบ้าน ประเพนีไทโบราณ เมื่อมีการตั้งหมู่บ้านก็จะสร้างเสาหลักบ้านไว้ในหมู่บ้านนั้นๆ เป็นที่สิงสถิตของเทวดาประจำหมู่บ้าน เาหลักบ้านนี้บันทึกมาจาก หมู่บ้านไทลื้อ ต.กาดทราย อ.เชียงรุ่ง จ.สิบสองปันนา มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน จะมีประเพนีไหว้เสาหลักบ้านประจำปี

ข้าวซอยที่เชียงรุ่ง สิบสองปันนา จีน


ข้าวซอย อาหารมื่อเช้าของผู้คนเมืองจีน เชียงรุ่ง สิบสองปันนา มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน เปฌนเส้นคล้ายๆเส้นก๋ยวเตี๋ยว มีเส้นเล็กและเส้นใหญ่  เพราะคนที่นี่ไม่นิยมรับประทานอาหารมือเช้าแบบอาหารหนักๆ  ที่รับประทานอาหารก็เป็นแบบที่เห็นคือ มีขันโตกและม้านั่งเล็กๆ ทุกแห่งแม้ในภัตตาคารก็นิยมใช้แบบนี้กันโดยทั่วไป อากาศที่หนาวเย็นในตอนเช้า ทำให้รู้สึกอบอุ่นขึ้น

วัดเชียงป้อม เชียงรุ่ง สิบสองปันนา มณฑลยูนนาน

วัดเชียงป้อม ต.กาดทราย อ.เชียงรุ่ง จ.สิบสองปันนา มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นวัดเก่าแก่ของเมือง เชียงป้อม หมายถึงจุดระดมพลสมัยโบราณ นัดระดมพลกันที่นี่ ป้อมมาจากคำว่าพร้อม พร้อมเพรียงกัน นัดชุมนุมกัน จึงขนานนามวัดแห่งนี้ว่าวัดเชียงป้อม มีพระอาจารย์ตุ๊เจ้าขง เป็นเจ้าอาวาส แวดล้อมไปด้วยหมู่บ้านไทลื้อ ผู้นับถือพระพุทธศาสนามาแต่บรรพชนกว่าสองพันปีมาแล้ว แม้ในคราวที่ท่านขุนบรมราชาธิราชแห่งราชอาณาจักรหนองแส คนไททั้งหลายก็นับถือพระพุทธศาสนาสร้างบ้านแปลงเมืองมาด้วยอาศัยคุณธรรมนำชีวิต เผ่าไทถอยร่นลงมาจากจีน จนมาถึงอาณาจักรหนองแส เรื่อยลงมา ราชอาณาจักรหอคำเชียงรุ่ง สิบสองปันนา สิบสองจุไท ล้านช้าง ล้านนา สุโขทัย อยุธยา รัตนโกสินทร ตามลำดับ มีภาษาทีวิวัฒนาการมาโดยลำดับ แม้กระนั้น ภาษาดั้งเดิมก็ยังคงอยู่ไม่เปลี่ยนแปลง ไทบางกลุ่มก็อพยพไปอยู่ทางอินเดียเหนือ พม่า และยังคงอยู่ที่นั่นจวบจนปัจจุบัน