วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2554

อานาปานสติ nine ways are a body

ลมหายใจออกและลมหายใจเข้ายาว (ที่เป็นไป) โดยอาการ 9 นี้นับเป็นกาย


‘ Long in-breaths and out-breaths in these nine ways are a body.


สิ่งที่เข้าไป(ทำกายนั้นเป็นอารมณ์) ตั้งอยู่เป็นตัวสติ
The establishment ( foundation) is mindfulness.


อนุปัสสนา (ความตามกำหนดดูกายให้รู้ตามที่มันเป็น) เป็นตัวญาณ
The contemplation is knowledge.


กายเป็นที่เข้าไปตั้งอยู่ ( แห่งสติ ) ไม่ใช่ตัว สติ
The body is the establishment (foundation), but it is not the mindfulness.


สติ เป็นสิ่งที่เข้าไปตั้งอยู่ และเป็นตัวระลึกด้วย
Mindfulness is both the establishment (foundation) and the mindfulness.


พระโยคาวจรกำหนดดูกายนั้น ด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้นแล
By means of that mindfulness and that knowledge he contemplates that body.


เพราะเหตุนั้นจึงตรัสว่า “การตามกำหนดดูกายในกาย เป็นการบำเพ็ญสติปัฏฐาน “ ดังนี้
That is why “ development of the foundation 9 establishment) of mindfulness consisting in contemplation of the body as a body is said’.


นัยแม้ในรัสบท (บทว่าด้วยลมหายใจสั้น) ก็ดุจนัยนี้
(ii)The same method of explanation applies also in the case of short breaths.


แต่นี่เป็นความแปลกัน
But there is this difference.


คือคำว่า ทีฆํ อสฺสาสํ อทฺธานสงฺขาเต ( เป็นลมหายใจออกยาว ในเพราะกาลที่นับว่ายาว)ที่ท่านกล่าวในทีฆบท ( บทว่าด้วยลมหายใจยาว) นั้น ฉันใด


ในรัสสบทนี้ คำนั้นก็มา (เป็น) ว่า รสฺสํ อฺสาสํ อิตฺตรสงฺขาเต สฺสสติ ฅ( ระบายลมออกเป็นลมหายใจสั้น ในเพราะกาลที่นับว่าระยะสั้น) ฉันนั้น
While in the former case ‘ a long in-breath reckoned as an extent’ is said, here ‘ a short in-breath reckoned as a little (duration)’ is given.


เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงประกอบคำเข้าโดยใช้รัสสศัพท์ (แทนทีฆศัพท์) ไปจนถึงคำว่า เตน วุจฺจติ กาเย กายาสุปสฺสนา สติปฏฺฐานภาวนา ( เพราะเหตุนั้นจึงตรัสว่า การตามกำหนดดูกายในกายเป็นการบำเพ็ญสติปัฏฐาน) ฉะนี้เถิด
So it must be construed as ‘ short’ as far as the phrase ‘ That is why “ development of the foundation (establishment) of mindfulness consisting in contemplation of the body as a body” is said’.


พระโยคาวจรนี้ เมื่อรู้ลมหายใจออกและลมหายใจเข้าตามอาการเหล่านี้ ทั้งโดยกาลระยะยาวและโดยกาลระยะสั้นอยู่อย่างนี้
บัณฑิตพึงทราบว่า เธอได้ชื่อว่า เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ว่าเราหายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ว่าเราหายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ว่าหายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ว่าหายใจเข้าสั้น ( ดังที่กล่าวในบาลี)
So it should be understood that it is when this bhikkhu knows in-breaths and out-breaths in these nine ways as ‘a [long] extent’ and as ‘ a little [duration]’ that ‘breathing in long, he knows “ I breathe in long”;…… breathing out short, he knows “ I breathe out short” ‘ is said of him.


ก็แลเมื่อภิกษุนั้นรู้อยู่อย่างนี้
And when he knows thus:
ลม 4 อย่าง คือลมหายใจออกยาวและสั้น


แม้ลมหายใจเข้าเล่าก็อย่างนั้น ย่อมเป็นไป
(คือรู้สึก) อยู่ที่ปลายจมูกของภิกษุนั้นแล
‘the long kind and the short as well,
The in-breath and the out-breath too,
Such then are the four kinds that happen
At the bhikkhu’s nose tip here’.


แก้ สพฺพกายปฏิสํเวที


ข้อความ” เธอสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้ตลอดนายทั้งหมดหายใจออก....... หายใจเข้า” นั้น คือ เธอใส่ใจว่าเราจักทำต้น กลาง ปลาย แห่งกายคือลมหายใจทั้งสิ้นให้เป็นสิ่งที่เรารู้
(iii) He trains thus: ‘I shall breathe in….. I shall breathe out experiencing the whole body’: he trains thus: ‘ I shall breathe in making known, making plain, the beginning, middle and end of the entire in-breath body.


คือทำ ( ลมหายใจนั้น) ให้เป็นสิ่งที่เห็นชัดหายใจออก ใส่ใจว่าจักทำต้น กลาง ปลาย แห่งกายคือลมหายใจทั้งสิ้นให้เป็นสิ่งที่เรารู้ คือทำ (ลมหายใจนั้น) ให้เป็นสิ่งที่เห็นชัดหายใจเข้า
I shall breathe out making known, making plain, the beginning, middle and end of the entire out-breath body’, thus he trains.


เมื่อทำ (ลมหายใจ) ให้เป็นสิ่งที่ตนรู้ คือทำ (ลมหายใจ) ให้เป็นสิ่งที่เห็นชัดอย่างนั้น ก็ชื่อว่าเธอหายใจออกและหายใจเข้าด้วยทั้งจิตอันประกอบด้วยญาณ
Making them known, making them plain, in this way he both breathes in and breathes out with consciousness associated with knowledge.


เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า “ เธอสำเหนียกว่า เราจัก..... หายใจออก... หายใจเข้า “ ดังนี้
That is why it is said, ‘ He trains thus: I shall breathe in….shall breathe out…. “ ‘ .


To one bhikkhu the beginning of the in-breath body or the out-breath body, distributed in particles , [that is to say, regarded as successive arising is plain, but not the middle or the end; he is only able to discern the beginning and has difficulty with the middle and the end.


To another the middle is plain, not the beginning or the end; he is only able to discern the middle and has difficulty with the beginning and the end.


To another the end is plain, not the beginning or the middle; he is only ale to discern the end and has difficulty with the beginning and the middle.


To yet another all stages are plain; he is ale to discern them all and has no difficulty with any of them;


Pointing out that one should be like the last-mentioned bhikku, he said: ‘ He trains thus: “ I shall breathe in….. shall breathe out experiencing the whole body” ‘.


Herein, he trains: he strives, he endeavours in this way.


Or else the restraint here in one such as this is training in the higher virtue, his consciousness is training in the higher consciousness, and his understanding is training in the higher understanding.


So he trains in, repeats, develops repeatedly practises, these three kinds of training, on that object, by means of that mindfulness, by means of that attention.


This is how the meaning should be regarded here.


Herein, in the first part of the system ( nos, I and ii) he should only breathe in and breathe out and not do anything else at all, and it is only afterwards that he shold apply himself ot the arousing of knowledge, and so on.


Consequently the present tense is used here in the text, ‘ He knows: “ I breathe in” ….. he knows: “ I breathe out” ‘.


But the future tense in the passage beginning ‘ “ I shall breathe in experiencing the whole body “ ‘ should be understood as used in order to show that the aspect of arousing knowledge, etc.’ has to be undertaken from then on.

อานาปานสติ Word Commentary Continued First Tertrad

Word Commentary Continued – First Tertrad


บัดนี้ พระโยคาวจรเป็นสโตการีด้วยอาการเหล่าใด
I Now breathing in long, etc, is said in order to show the different ways in which he is a mindful worker.


เพื่อจะทรงแสดงอาการเหล่านั้น จึงตรัสคำว่า ทีฆํ วา อสฺสสนฺโต เป็นอาทิ จริงอยู่ ในปฏิสัมภิทาท่านก็กล่าวคำ(ต่อไป) นี้ไว่ในวิภังค์แห่งปาฐะว่า “ โส สโตว อสฺสสติ สโต ปสฺสสติ” นั้นนั่นแหละว่า “ โยคาวจรภิกษุย่อมเป็นสโตการีด้วยอาการ 32 คือ
For in the Paṭisambhidā, in the exposition of the clause ‘ Ever mindful he breathes in, mindful he breathes out’ this is said: He is a mindful worker in thirty-two ways:


เมื่อเธอรู้ความเป็นอารมณ์เดียว ความไม่ส่ายไปมาแห่งจิต ด้วยอำนาจแห่งการหายใจออกยาวอยู่ สติย่อมตั่งมั่น(ในอารมณ์นั้น) เธอก็เป็นสโตการีด้วยสตินั้น ด้วยความรู้นั้น
1. When he knows unification of mind and non-distraction by means of a long in-breath, mindfulness is established in him; owing to that mindfulness and that knowledge he is a mindful worker.


เมื่อเธอรู้ความมีอารมณ์เดียว ความไม่ส่ายไปมาแห่งจิต ด้วยอำนาจแห่งการหายใจเข้ายาวอยู่ สติย่อมตั้งมั่น(ในอารมณ์นั้น) เธอก็เป็นสโตการีด้วยสตินั้น ด้วยความรู้นั้น ฯเปฯ
2. When he knows unification of mind and non-distraction by means of a long out-breath…….


เมื่อเธอรู้ความมีอารมณ์เดียว ความไม่ส่ายไปมาแห่งจิต ด้วยอำนาจแห่งความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละละทิ้ง หายใจออกอยู่.........
31. by means of breathing in contemplating relinquishment……


... ด้วยอำนาจแห่งความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละละทิ้ง หายใจเข้าอยู่ สติย่อมตั้งมั่น (ในอารมณ์นั้น) เธอก็เป็นสโตการีด้วยสตินั้น ด้วยความรู้นั้น “ ดังนี้
32.When he now unification of mind and non-distraction by beans of breathing out contemplating relingquishment, mindfulness is established in him; owing to that mindfulness and that knowledge he is a mindful worker’.

แก้ศัพท์ อัสสาสะ ปัสสาสะ

ในปาฐะเหล่านี้ ปาฐะว่า ทีฆํ วา อสฺสสนฺโต คือยังอัสสาสะยาวให้เป็นไป
Herein, breathing in long(assasanto) is producing a long in-breath.


หรือ ในอรรถกถาพระวินัยกล่าวว่า ลมออกข้างนอก ชื่ออัสสาสะ ลมเข้าข้างในชื่อปัสสาสะ
Assāsa is the wind issuing out; Passāsa is the wind entering in’ is said in the Vinaya Commentray.


แต่ในอรรถกถาพระสูตรทั้งหลายมากลับกัน ( กับคำอรรถกถาวินัย)
But in the Suttanta Commentaries it is given in the opposite sense.


ในลม 2 อย่างนั้น เวลาที่ครรภไสยกสัตว์ทั้งปวงออกจากท้องมาดร ลมข้างในออกมาข้างนอกก่อน ลมข้างนอกพาเอาธุลีละเอียดเข้าข้างในทีหลัง พอถึงเพดานปากก็ดับ
Herein, when any infant comes out from the mother’s womb, first the wind from within goes out and subsequently the wind from without enters in with fine dust, strikes the palate and is extinguished [with the infant’s sneezing].


พึงทราบเรื่องลมอัสสาสะและปัสสาสะอย่างนี้ก่อน
This, firstly, is how assāsa and passāsa should be understood.


ส่วนความยาวของลมทั้ง 2 นั้น อันใด ความยาวและสั้นนั้นพึงทราบ (ว่าเป็น) ด้วยอำนาจอัทธานะ (คือระยะที่ และระยะกาล)
But their length and shortness should be understood by extent (addhāna).


เหมือนอย่างน้ำหรือทรายก็ดี ที่แผ่นไปตลอดอัทธานะคือที่( ยาวหรือสั้น) เขาเรียกว่า ( ลำ) น้ำยาว ( หาด) ทรายยาว (ลำ) น้ำสั้น ทรายสั้น ฉันใด ลมหายใจออกและลมหายใจเข้าที่แม้เป็นของละเอียดยิ่งนัก (แต่มันเข้าไป) ทำอัทธานะ (คือที่) อันยาว ในร่างกายช้างและร่างกายงู กล่าวคือลำตัวของมันให้เต็มช้าๆ แล้วออกช้าๆ เหมือนกัน
For just as water or sand that occupies and extent of space is called a ‘long water’, a ‘long sand’, a ‘short water’, a ‘short sand’, so in the case of elephants’ and snakes’ bodies the in-breaths regarded as particles slowly fill the long extent, in other words, their persons, and slowly go out again.


เพราะฉะนั้น เขาจึงว่าลมหายใจ( ของช้างและงู) ยาว
That is why they are called ‘long’.


ลมนั้น (เข้าไป) ทำอัทธานะ (คือที่) อันสั้น กล่าวคือลำตัวของสัตว์ (ตัวเล็กและตัวสั้น) มีสุนัขและกระต่ายเป็นต้นให้เต็มโดยเร็วแล้วออกเร็วเหมือนกัน
They rapidly fill a short extent, in other worlds, the person of a dog, a hare, etc., and rapidly go out again.


เพราะฉะนั้น เขาจึงว่าลมหายใจ(ของสัตว์เล็ก) สั้น
That is why they are called ‘short’.


ส่วนในพวกมนุษย์ ว่าโดยอัทธานะคือกาล บางเหล่าก็หายใจออกและหายใจเข้ายาว ดังสัตว์ ( ตัวใหญ่และตัวยาว) มีช้างและงูเป็นต้น บางเหล่าก็กายใจออกและหายใจเข้าสั้น ดังสัตว์ (ตัวเล็กและตัวสั้น) มีสุนัขและกระต่ายเป็นอาทิ
And in the case of human beings some breathe in and breathe out long, by extent of time, as elephants, snakes, etc., do, while others breathe in and breathe out short in that way as dogs, hares, etc., do.


เพราะเหตุนั้น ลมหายใจของพวกมนุษย์นั้น เมื่อออกก็ดี เข้าก็ดี กินระยะเวลานาน ก็พึงทราบว่ายาว เมื่อออกก็ดี เข้าก็ดี กินระยะเวลานิดหน่อย ก็พึงทราบว่าสั้น โดยเนื่องด้วยกาล
Of these, therefore, the breaths that travel over a long extent in entering in and oing out are to be understood as long in time; and the breaths that travel over a little extent in entering in and going out, as short in time.


อานาปานสติเป็นกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน

ในการหายใจออกและเข้าสั้นนั้น ภิกษุ (โยคาวจร) นี้ เมื่อหายใจออกก็ดี หายใจเข้าก็ดี ยาว ย่อมรู้ว่าเราหายใจออกหายใจเข้ายาว ด้วยอาการ 9 อย่าง
Now this bhikkhu knows ‘ I breathe in, I breathe out, long’ while breathing in and breathing out long in nine ways.


และเมื่อเธอรู้อยู่อย่างนั้น พึงทราบว่าสติปัฏฐานภาวนาส่วนกายานุปัสสนา ย่อมสำเร็จโดยอาการอันหนึ่ง ดังท่านกล่าวไว้ในปฏิสัมภิทาว่า
And the development of the foundation of mindfulness consisting in contemplation of the body should be understood to be perfected in one aspect in him who knows thus, according as it is said in the Paṭisambhidā:


ถามว่า ภิกษุโยคาวจรเมื่อหายใจออกยาวก็รู้ว่าหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ว่าเราหายใจเข้ายาว ด้วยอาการอย่างไร?
‘ How, breathing in long, does he know: “ I breathe in ling”, breathing out long, des he know: “ I breathe out long”?


แก้ว่า 1 ภิกษุระบายลมอกเป็นลมหายใจออกยาว ในเพราะกาบที่นับว่าระยะยาว
1. He breathes in a long tin-breath reckoned as an extent.


2 สูดลมเข้าเป็นลมหายใจเข้ายาว ในเพราะกาลที่นับว่าระยะยาว
2. He breathes out a long out-breath reckoned as an extent.


3 ทั้งระยายลมออก ทั้งสูดลมเข้า เป็นลมหายใจออกและลมหายใจเข้ายาว ในเพราะกาลที่นับว่าระยะยาว
3. He breathes in and breathes out long in-breaths and out-breaths reckoned as an extent.


เมื่อเธอทั้งระยายลมออกทั้งสูดลมเข้า เป็นลมหายใจออกและลมหายใจเข้ายาว ในเพราะกาลที่นับว่าระยะยาวอยู่ ฉันทะเกิดขึ้น
As he breathes in and breathes out long in-breaths and out-breaths reckoned as an extent, zeal arises.


4 ด้วยอำนาจฉันทะ เธอระบายลมออก เป็นลมหายใจออกยาว ในเพราะกาลที่นับว่าระยะยาว เป็นลมละเอียดกว่าก่อนนั้น
4. Through zeal he breathes in a long in=breath more subtle than before reckoned as an extent.


5 ด้วยอำนาจฉันทะ เธอสูดลมเข้าเป็นลมหายใจเข้ายาว ในเพราะกาลที่นับว่าระยะยาว เป็นลมละเอียดกว่าก่อนนั้น
5. Through zeal he breathes out a long out-breath more subtle than before reckoned as an extent.


6 ด้วยอำนาจฉันทะ เธอทั้งระบายลมออกทั้งสูดลมเข้า เป็นลมหายใจออกและลมหายใจเข้ายาว ในเพราะกาลที่นับว่าระยะยาว เป็นลมละเอียดกว่าก่อนนั้น เมื่อเธอ ทั้งระบายลมออกทั้งสูดลมเข้าเป็นลมหายใจออกและลมหายใจเข้ายาว ในเพราะกาลที่นับว่าระยะยาว เป็นลมละเอียดกว่าก่อนนั้นด้วยอำนาจฉันทะอยู่ ความปราโมชเกิดขึ้น
6. Through zeal he breathes in and breathes out long in-breaths and out-breaths more subtle than before reckoned as an extent. As, through zeal, he breathes in and breathes out long in-breaths and out-breaths more subtle than before reckoned as an extent, gladness arises.


7 ด้วยอำนาจปราโมช เธอระบายลมออก เป็นลมหายใจออกยาว ในเพราะกาลที่นับวาระยะยาว เป็นลมละเอียดยิ่งกว่านั้นไปอีก
7. Through gladness he breathes in a long in-breath more subtle than before reckoned as an extent.


8 ด้วยอำนาจปราโมช เธอทั้งระบายลมออกทั้งสูดลมเข้า เป็นลมหายใจออกและลมหายใจเข้ายาว ในเพราะกาลที่นับระยะยาว เป็นลมละเอียดยิ่งกว่านั้นไปอีก
8. Through gladness he breathes out a long out-breath more subtle than before reckoned as an extent.


9 ด้วยอำนาจปราโมช เธอทั้งระบายลมออกทั้งสูดลมเข้า เป็นลมหายใจออกและลมหายใจเข้ายาว ในเพราะกาบที่นับว่าระยะยาว เป็นลมละเอียดยิ่งกว่านั้นไปอีก
9. Through gladness he breathes in and breathes out long in-breaths out long in-breath and out-breaths more subtle than before reckoned as an extent.


เมื่อเธอระบายลมออกทั้งสูดลมเข้า เป็นลมหายใจออกและหายใจเข้ายาว ในเพราะกาลที่นับว่าระยะยาว เป็นลมละเอียดยิ่งกว่านั้นไปอีก ด้วยอำนาจปราโมชอยู่ จิตก็ผละจากลมหายใจออกและลมหายใจเข้ายาว(นั้น) อุเบกขาก็ตั้งขึ้น
As , through gladness, he breathes in and breathes out long in-breaths and out-breaths more subtle than before reckoned as an extent, his mind turns away from the long in-breaths and out-breaths and equanimity is established.


1-2-53

อานาปานสติ gone to the forest

เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงเสนาสนะป่าอันเป็นโยคภูมิ (ที่ทำความเพียร) แห่งผู้มีความบากบั่นและความว่องไว(ในการภาวนา) แก่โยคาวจรภิกษุนั้น จึงตรัสคำว่า อรญฺญคโต วา เป็นอาทิ


So the blessed One said’ gone to the forest’, etc., to point out a forest abode as a place likely to hasten his advancement.

แก้อรรถบทต่างๆ แห่งบาลีคำเฉลย

ในบทเหล่านั้น บทว่า อรญฺญคโต ความว่า ในบรรดาป่าอันมีลักษณะที่ท่านกล่าวไว้ว่า “ ชื่อว่าป่า คือที่นอกเสาอินทขีลออกไปนั่นจัดเป็นป่าทั้งสิ้น” ดังนี้ก็ดี
Herein, gone to the forest is gone to any kind of forest possessing the bliss of seclusion among the kids of forests characterized thus: ‘Having gone out beyond the boundary post, all that is forest’,


ว่า “ เสนาสนะอันมีในที่ประมาณ 500 ชั่วธนู (แต่แดนบ้าน) เป็นอย่างต่ำ ชื่อว่า เสนาสนะป่า” ดังนี้ก็ดี
And ‘ a forest abode is five hundred bow lengths distant’.


ภิกษุไปสู่ป่าอย่างใดอย่างหนึ่ง อันเป็นที่สงัดเป็นสุข บทว่า สุญญาคารคโต หมายความว่าไปสู่ที่ไกล้ต้นไม้
To the root of a tree: gone to the vicinity of a tree.


บทว่า สุญฺญาคาคตโต หมายความว่าไปสู่โอกาสว่างคือสงัด
To and empty place: gone to an empty, secluded space.


และในบาลีบทนี้ เว้นที่ป่าและรุกขมูลเสีย แม้ไปสู่เสนาสนะที่เหลืออีก 7 อย่าง ก็ควรเรียกว่า สุญญาคารคโต ได้
And here he can be said to have gone to and ‘empty place’ if he has gone to any of the remaining seven kinds of abode.


พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงชี้เสนาสนะอันเหมาะแก่การบำเพ็ญอานาปานสติอนุกูลแก่ฤดูทั้ง 3 และอนุกูลแก่ธาตุและจริยาด้วย อย่างนี้แล้ว
Having thus indicated and abode that is suitable to the three seasons, suitable to humour and temperament, and favourable to the development of mindfulness of breathing,


จะทรงชี้อิริยาบถอันสงบ ไม่เป็นไปข้างหู่และไม่เป็นข้างฟุ้งแก่พระโยคาวจรภิกษุนั้น (ต่อไป)
he then said sits down, etc., indicating a posture that is peaceful and tends neither to idleness nor to agitation.


จึงตรัสคำว่า “ นั่ง” ต่อนั้น เมื่อจะทรงแสดงความมั่นคงแห่งการนั่ง ความเป็นไปสะดวกแห่งลมหายใจออกเข้า และอุบายในการกำหนดถือเออารมณ์ด้วย จึงตรัสคำว่า “ คู้บัลลังก์” เป็นอาทิ
Then he said having folded his legs crosswise, etc., to show firmness in the sitting position, easy occurrence of the in-breaths and out-breaths, and the means for discerning the object.

ในบทเหล่านั้น บทว่า บัลลังก์ ได้แก่นั่งคู้ขาเข้าโดยรอบ
Herein, crosswise is the sitting position with the thighs fully loked.

บทว่า คู้ คือ ขดเข้า Folded: having locked.

คำว่า ตั้งกายตรง คือตั้งสรีระส่วนบนให้ตรงให้ปลายกับปลายกระดูกสันหลัง 18 ข้อจดกัน
Set his body erect: having placed the upper part of the body erect with the eighteen backbones resting end to end.


เมื่อพระโยคาวจรนั่งอย่างนี้ หนัง เนื้อ และ เอ็น ย่อมไม่ขด เมื่อเป็นอย่างนั้น เวทนาเหล่าใดจะพึงเกิดขึ้นในขณะ ๆ เพราะความจดแห่งหนัง เนื้อ และ เอ็นนั้น เป็นปัจจัย เวทนาเหล่านั้นก็จะไม่เกิดขึ้นแก่เธอ
For when he is seated like this, his skin, flesh and sinews are not twisted, and so the feelings that would arise moment by moment if they were twisted do not arise.


ครั้นเวทนาเหล่านั้นไม่เกิดขึ้น จิตก็จะมีอารมณ์เป็นหนึ่ง กรรมฐานไม่ตก เข้าถึงความเจริญงอกงามขึ้น
That being so, his mind becomes unified, and the meditation subject, instead of collapsing, attains to growth and increase.

คำว่า ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า คือตั้งสติให้มุ่งหน้าต่อกรรมฐาน
Established mindfulness in front of him)arimukkham satiṃ upaṭṭhapetavā) – having place (ṭhapayitvā) mindfulness ( satiṃ) facing the meditation subject ( kammaṭṭhanabhimukkhaṃ).


อีกนัยหนึ่ง อรรถาธิบายในคำนี้พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้ในปฏิสัมภิทาอย่างนี้ว่า “ ศัพท์ว่า ปริ มี ปริคฺคห (ความกำหนดถือเอาเป็นอรรถ ศัพท์ว่า มุข มี นิยฺยาน ( ความออกไป) เป็นอรรถ ศัพท์ว่า สติ มี อุปฏฺฐาน ( ความเข้าไปตั้งอยู่ ไม่ลืมเลือน ) เป็นอรรถ เหตุนั้น จึงตรัสว่า ปริมุขํ สตึ ดังนี้ก็ได้ นี่เป็นอธิบายสังเขปในคำนั้นคือ “
Or alternatively, the meaning can be treated here too according to the method of explanation given in the Paṭisambhidā, which is this: Pari has the sense of control ( pariggaha), mukhaṃ (lit.mout) has the sens of outlet ( niyyāna), sati has the sense of establishment ( upaṭṭhana); that is why parimukhaṃ satiṃ ( “ mindfulness as a controlled outlet”) is said’ .


ทำสติให้มีความออก(จากปฏิปักธรรม) อันกำหนดถือเอาแล้ว
The meaning of it in brief is: having mad mindfulness the outlet [ from opposition, forgetfulness being thereby] controlled.

สโตการี
คำว่า “ เธอคงมีสติหายใจเข้า “ เป็นต้น ความว่า ภิกษุนั้น นั่งอย่างนี้ และตั้งสติไว้มั่นอย่างนี้แล้ว ไม่ละสตินั้นอยู่ ชือว่าคงมีสติหายใจออก คงมีสติหายใจเข้า มีคำอธิบายว่า เป็นสโตการี (ผู้มีสติทำ)
Ever mindful he breathes in, mindful he breathes out: having seated himself thus, having established mindfulness thus, the bhikkhu does not abandon that mindfulness; ever mindful he breathes in, mindful he breathes out; he is a mindful worker, is what is meant.


31-1-53

อานาปานสติ อรญฺญคโต mindfulness of breathing

เหตุที่ตรัส อรญฺญคโต ฯเปฯ นัยที่ 2


อีกนัยหนึ่ง เพราะเหตุที่อานาปานสติกรรมฐานอันเป็นยอดในประเภทกรรมฐาน เป็นปทัฏฐานแห่งการบรรลุธรรมวิเศษและทิฏฐธรรมสุขวิหาร ของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธ และพุทธสาวกทั้งปวงนี้ มิใช่เป็นการง่ายทีจะไม่สละแดนบ้านอันอึงไปด้วยเสียงต่างๆ เช่น เสียงผู้หญิง เสียงผู้ชาย เสียงช้าง เสียงม้า แล้วบำเพ็ญขึ้นได้ เพราะฌานมีเสียงเป็นข้าศึก แต่ในที่มิใช่แดนบ้านคือในป่า(ละก็) เป็นการง่ายที่พระโยคาวจรจะถือกรรมฐานนี้ ยังอานาปานจตุตถฌานให้เกิดแล้วทำฌานนั้นแหละเป็นบาท พิจารณากองสังขารจนบรรลุพระอรหัตอันเป็นผลสุดยอดได้
Or alternatively, this mindfulness of breathing as a meditation subject – which is foremost among the various meditation subjects of all Buddhas,[some]Paccekabuddhas and [some] Buddhas’ disciples as a basis for attaining distinction and abiding in bliss here and now – is not easy to develop without leaving the neighbourhood of villages, which resound with the noises of women , men, elephants, horses, etc., noise being a thorn to jhana, whereas in the forest away from a village a meditator can at his ease set about discerning this meditation subject and achieve the fourth jhana in mindfulness of breathing; and then, by making that same jhana the basis for comprehension of formations [with insight], he can reach Arahantship, the highest fruit.

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงแสดงเสนาสนะอันเหมาะแก่พระโยคาวจรนั้น จึงตรัสคำว่า อรญฺญคโต วา ดังนี้เป็นอาทิ
That is why the Blessed One said “ gone to the forest”, etc., in pointing out a favourable abode for him.

เหตุที่ตรัส อรญฺญคโต ฯเปฯ นัยที่ 3

แท้จริง พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นดุจวัตถุวิชาจารย์ ( อาจารย์วิชาชี้ที่)
For the Blessed one is like a master of the art of building sites.

วัตถุวิชาจารย์พบภูมิอันควรจะสร้างเมืองเข้า ตรวจดูตลอดแล้ว จึงชี้บอกว่า “ท่านทั้งหลายจงสร้างเมืองในที่นี้เถิด” ก็แลครั้นเมืองสำเร็จโดยสวัสดีแล้ว ย่อมได้รับสักการะใหญ่แต่ราชสกุล ฉันใด
As the master of the art of building sites surveys the proposed site for a town, thoroughly examines it, and then gives his directions, “ Build the town here”, and when the town is safely finished, he receives great honour from the royal family,

พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทรงตรวจดูเสนาสนะอันเหมาะแก่พระโยคาวจรแล้วจึงตรัสชี้บอกว่า “ กรรมฐานควรประกอบในสถานที่นี้”
so the Blessed One examines an abode as to this suitability for the meditator, and he directs, “ Devote yourself to the meditation subject here”,

แต่นั้น ครั้นพระอรหัตผล อันพระโยคีผู้ประกอบกรรมฐาน ณ ที่ได้ได้บรรลุโดยลำดับแล้ว ย่อมทรงได้รับสักการะใหญ่ ( โดยสรรเสริญพระคุณ) ว่า “ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเป็นพระสัมมาสัมพุทธะหนอ “ ดังนี้
and later on, when the meditator has devoted himself to the meditation subject and has reached Arahantship and says, “ The Blessed One is indeed fully enlightened”, the Blessed One receives great honour.

ส่วนว่าภิกษุ(โยคี) นี้ ท่านกล่าวว่าเป็นดุจเสือเหลือง
And This bhikkhu is compared to a leopard.

พึงทราบอธิบายว่า เหมือนอย่างพญาเสือเหลืองใหญ่ อาศัยพงหญ้าหรือป่ารกหรือดง เข้าไปในป่าซุ่มอยู่ จึงจับสัตว์ป่าทั้งหลาย มี กระบือป่า กวาง และสุกรป่า เป็นต้นได้ ฉันใด
For just as a great leopard king lurks in a grass wilderness or a jungle wilderness or a rock wilderness in the forest and seizes wild beast – the wild buffalo, wild ox, boar, etc. -- ,

ภิกษุผู้ประกอบกรรมฐานอยู่ในเสนาสนะอันเหมาะทั้งหลาย มีป่าเป็นอาทินี้ ก็ย่อมคว้าเอาโสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตมรรค และอริยผลตามลำดับได้ ฉันนั้นเหมือนกัน
so too, the bhikkhu who devotes himself to his meditation subject in the forest, etc., should be understood to seize successively the paths of stream-entry, once-return, non-return, and Arahantship; and the noble fruitions as well.

เพราะเหตุนั้น พระโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า
Hence the Ancients said:

อุปมาดังเสือเหลืองชุ่มตัวอยู่ จึงจับสัตว์ป่าได้ ฉันใดก็ดี พระพุทธบุตรประกอบความเพียร
บำเพ็ญวิปัสสนานี้ก็ฉันนั้นแล(ต้อง) เข้าป่า จึงคว้าเอาอุดมผลได้
‘ For as the leopard by is lurking [in the forest] seizes beasts
So also will this Buddhas’ son, with insight gifted, strenuous,
By his retreating to the forest seize the highest of all’

31-1-53

อานาปานสติสมาธิ breathing-mindfulness concentration

ขยายความบาลีคำถาม : Word comentary

บัณฑิตพึงทราบนิเทศ(ขยายความ) แห่งบาลีคำถาม “กถํ ภาวิโต จ ภิกฺขเว อานาปานสฺสติสมาธิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติ บุคคลทำให้มีอย่างไร “ เป็นต้น คำว่า “กถํ” เป็นพระปุจฉาด้วยความเป็นผู้ทรงใคร่จะตรัสการเจริญอานาปานสติสมาธิให้พิศดารโดยประการต่างๆ
And how develop, bhikkhus, how practised much, is concentration through mindfulness of breathing: here in the first place how is a question showing desire to explain in detail the development of concentration through mindfulness of breathing in its various forms.


คำต่อไปว่า “ ภาวิโต จ ภิกฺขเว อานาปานสฺสติสมาธิ” เป็นคำทรงชี้ธรรมที่ได้ตรัสถามว่า ด้วยความเป็นผู้ทรงใคร่จะตรัสให้พิสดารโดยประการต่างๆ
Developed, bhikkhus,….. is concentration through mindfulness of breathing: This shows the things that is being asked about our of desire to explain it in its various forms.


แม้ในคำว่า “กถํ พหุลีกโตฯเปฯ วุปสเมติ “ นั้นก็นัยนี้เหมือนกัน
How practised much…. As soon as they arise? : here too the same explanation applies.


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภาวิโต- ทำให้มี นั้นคือ ทำให้เกิดขึ้น หรือเจริญขึ้น บทว่า อานาปานสติสมาธิ แปลว่า สมาธิที่สัมปยุตกับสติ อันกำหนดเอาลมหายใจออกและลมหายใจเข้า ( เป็นอารมณ์) นัยหนึ่ง สมาธิในอานาปานสติ ชื่อว่า อานาปานสติสมาธิ
Herein, developed means aroused or increased, concentration through mindfulness of breath in (lit. ‘breathing-mindfulness concentration’) is either concentration associated with mindfulness that discerns breathing, or it is concentration on mindfulness of breathing.


บทว่า พหุลีกโต –ทำให้มาก คือทำบ่อยๆ
Practised much: practised again and again.

แก้ สนฺโต ปณีโต

สองบทว่า สนฺโต เจว ปณีโต จ นั้นพึงประกอบว่า สนฺโต เจว ปณีโต เจว – ละเมียดแท้ด้วย ประณีตแท้ด้วย พึงทราบวส่า การจำกัดความด้วยเอวศัพท์ ย่อมมีทั้ง 2 บท
Both peaceful and sublime ( santo c’ eva paṇīta ca): it is peaceful in both ways and sublime in both ways; the two words should each be understood as governed by the word ’both’ (eva).

ถามว่า พระพุทธาธิบายมีอยู่อย่างไร?
What is meant?

เฉลยว่า พระพุทธาธิบายมีอยู่ว่า “ อันอานาปานสติสมาธินี้ จะได้เป็นธรรมไม่ละเมียดหรือไม่ประณีตโดยปริยายไรๆ เหมือนอย่างอสุภกรรมฐาน ซึ่งละเมียดและประณีตโดยปฏิเวธอย่างเดียว แต่ไม่ละเมียดไม่ประณีตทางอารมณ์เลย เพราะมีอารมณ์หยาบ และมีสิ่งปฏิกูลเป็นอารมณ์(เช่นนั้น) หามิได้ ที่แท้เป็นธรรมชื่อว่าละเมียด คือเรียบราบดับเย็น เพราะทั้งละเมียดโดยอารมณ์ เพราะทั้งละเมียดโดยองค์ที่นับว่าปฏิเวธ ชื่อว่าประณีต คือ ไม่ทำให้เบื่อ เพราะทั้งประณีตโดยอารมณ์ เพราะทั้งประณีตโดยองค์ “ ดังนี้
Unlike foulness, which as a meditation subject is peaceful and sublime only by penetration, but is neither (n’eva) peaceful nor sublime in its object since its object [in the learning stage] is gross, and [after that] its object is repulsiveness—unlike that, this is not unpeaceful or unsublime in any way, but on the contrary it is peaceful, stilled and quiet both on account of the peacefulness of this object and on account of the peacefulness of that one of its factors called penetration. And it is sublime, something one cannot have enough of, both on account of the sublimeness of its object and on account of the sublimeness of the aforesaid factor.


เพราะเหตุนั้นจึงตรัสว่า “ (อานาปานสติสมาธิ) เป็นธรรมละเมียดแท้ด้วย ประณีตแท้ด้วย”
Hence it is called ‘both peaceful and sublime’.


แก้ อเสจนโก

ส่วนในคำว่า “ อเสจนโก จ สุโข จ วิหาโร เป็นธรรมเครื่องพักอยู่อันละมุนละไมและเป็นสุขด้วย” นั้นมีอรรถาธิบายว่า เสจนะ(ความเปียก) ไม่มีแต่อานาปานสติสมาธินั้น เหตุนั้น อานาปานสติสมาธินั้นจึงชื่อว่า อเสจนโก – ละมุนละไม ( เหมือนข้าวสวย) คือ ไม่เปรอะ ไม่ปน แยกเป็นหนึ่งได้จำเพาะตัว หมายความว่า ความละเมียดในอานาปานสติสมาธินี้ หามีโดยบริกรรมหรือโอยอุปจารก็ตามไม่ อานาปานสติสมาธินี้ เป็นธรรมละเมียดด้วย ประณีตด้วย โดยสภาวะของตนแท้ จำเดิมแต่อาทิสมันนาหาร ( การเริมต้นประมวลจิตเข้าทำกรรมฐาน) ไป
It is an unadulterated blissful abiding: it has no adulteration, thus it is unadulterated; it is unalloyed, unmixed, particular, special. Here it is not a question of peacefulness to be reached through preliminary work [as with the kasinas] or through access [ as with foulness, for instance].It is peaceful and sublime in this own individual essence too starting with the very first attention given to it.


ส่วนอาจารย์ลางเหล่ากล่าวว่า บทว่า “อเสนจนโก” ความว่า ไม่ต้องเติมอะไร เป็น(ดุจ) สิ่งมีรสดีอร่อยโดยภสภาพเอง
But some say that it is ‘unadulterated’ because it is unalloyed, possessed of nutritive value and sweet in its individual essence too.


บัณฑิตพึงทราบว่า อานาปานสติสมาธินี้ เป็นอเสจนกะอย่างนี้แหละ จึงเป็นสุขวิหารด้วย เพราะเป็นไปเพื่อได้กายิกสุขและเจตสิกสุข ทุกขณะที่ถึงอัปปนา
So it should be understood to be’ unadulterated’ and a ‘blissful abiding’ since it leads to the obtaining of bodily and mental bliss with every moment of absorption.


คำที่เกิดขึ้นๆ หมายความว่าที่ยังมิได้ข่มๆ ลง
As soon as they arise: whenever they are not suppressed.

คำว่า บาป คือ ชั่ว
Evil: bad.

คำว่า ธรรมอันเป็นอกุศล คือ ธรรมอันเกิดแต่ความไม่ฉลาด
Unprofitable (akusala) thoughts: thoughts produced by unskilfulness ( akosalla).


คำว่า ให้หายไปโดยพลัน หมายความว่าให้ลับไป คือ ข่มลงได้โดยทันทีทีเดียว
It banishes at once: it banishes, suppresses, at that very moment.


คำว่า ให้รำงับไป คือให้สงบไปอย่างดี นัยหนึ่ง เธอถึงความเจริญแห่งอริยมรรคโดยลำดับ ย่อมตัดขาดได้ อธิบายว่า ให้สงบราบคาบไปได้ เพราะอานาปานสติสมาธิเป็นนิพเพธภาคิยธรรม
Stills ( vūpasameti): it throughly calms (suṭṭhu upasameti); or else, when eventually brought to fulfilment by the noble path, it cuts off, because of partaking of penetration; it tranquillizes, is what is meant.


ก็ในพระบาลีคำถามนี้ มีความสังเขป (ดังต่อไป)นี้ว่า ดุกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิ บุคคลทำให้มีด้วยประการไร ด้วยอาการไร ด้วยวิธีไร ทำให้มากด้วยประการไร.... จึงเป็นธรรมละเมียดแท้ด้วย ฯลฯ ให้รำงับไปโดยพลันด้วย
In brief, however, the meaning here is this: ‘Bhikkhus, in what way, in what manner, by what system, . is concentration through mindfulness of breathing developed, in what way is ti practised much, that it is both peaceful…. As soon as they aris?’.

ขยายความแห่งบาลีคำเฉลย : The explanation of the answer text.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงยังความข้อนั้นให้พิสดาร จึงตรัสคำว่า อิธ ภิกฺขเว เป็นต้น
He now said, ‘ Here, bhikkhus’, a bhikkhu eans: bhikkhus, in this dispensation a bhikkhu.

แก้ อิธ ศัพท์ : the word here

ในคำเหล่านั้น คำว่า อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ แปลว่า “ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้ “ เพราะอิธศัพท์ในพระบาลีนี้เป็นศัพท์แสดงถึงศาสนา อันเป็นที่ก่อเกิดแห่งบุคคลผู้ทำอานาปานสติสมาธิทุกประการให้เกิดขึ้น และปฏิเสธความเป็นอย่างนั้นแห่งศาสนาอื่น
For this word here signifies the [Buddha’s] dispensation as the prerequisite for a person to produce concentration through mindfulness of breathing in all its modes, and it denies that such a state exists in any other dispensation.


สมกับพระพุทธพจน์นี้ว่า “ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะมีอยู่ในศาสนานี้เท่านั้นฯลฯ วาทะ(ลัทธิ) อื่นๆ ว่างเปล่าจากสมณะทุกจำพวก”
For tis is said: ‘ Bhikkhus, only here is there an ascetic, here a second ascetic, here a third ascetic, here a fourth ascetic; other dispensations are devoid of ascetics’.


เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงแก้ (อิธ ภิกฺขุ) ว่า อิมสฺมึ สาสเน ภิกฺขุ – ภิกษุในศาสนานี้
That is why it was said above ‘ in this dispensation a bhikkhu’.


เหตุที่ตรัส อรญฺจคโต ฯลฯ นัยที่ 1

คำว่า “ ไปสู่ป่าหรือโคนไม้หรือเรือนว่างกฅ็ตาม” นี่เป็นคำแสดงถึงการกำหนดถือเอาสานาสนะ อันเหมาะแก่การบำเพ็ญอานาปานสติสมาธิแห่งโยคาวจรภิกษุนั้น
Gone to the forest…. Or to an empty place: this signifies that he has found an abode favourable to the development of concentration through mindfulness of breathing.


เพราะจิตของภิกษุนี้(เคย) เพ่นพ่านไปตามอารมณ์ต่างๆ มีรูปารมณ์เป็นต้นมาเสียนาน ไม่ใคร่จะขึ้นสู่อารมณ์แห่งอานาปานสติสมาธิได้ คอยแต่จะแล่นไปนอกทาง เหมอนรถทีเทียมด้วยโคโกง แล่นออกนอกทางไปฉะนั้น
Fro this bhikkhus’s mind has long been dissipated among visible data, etc., as its object, and it does not want to mount the object of concentration-through-mindfulness-of –breathing; it runs off the track like a chariot harnessed to a wild ox.


เพราะฉะนั้น นายโคบาลใคร่จะฝึกลูกโคโกงซึ่งดื่มกินน้ำนมแม่โคโกง (หมด) จนเติบใหญ่แล้วพึงพราก(มัน) ไปเสียจากแม่ ฝังหลักใหญ่เข้าข้างหนึ่ง ผูก(มัน) ด้วยเชือกไว้ที่หลักนั้น ทีนี้เจ้าลูกโคของเขาตัวนั้นจะดิ้นไปดิ้นมา (แต่) ไม่อาจหนีไปได้ (เหนื่อยเข้าหมดพยศ) ก็จะพึงหมอบอิง หรือนอนอิงหลักนั้นอยู่นั่นเอง ฉันใดก็ดี
Now suppose a cowherd wanted to tame a wild calf that had been reared on a wild cow’s mil, he would take it away from the cow and tie it up apart with a rope to a stout post dug into the ground; then the calf might dash to and fro, but being unable to get away, it would eventually sit down or lie down by the post.


แม้ภิกษุนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ใคร่จะทรมานจิตร้าย อันเติบขึ้นด้วยการดิ่มรสอารมณ์มีรูปารมณ์เป็นต้นมาเสียนาน ก็พึงพราก( มัน) เสียจากอารมณ์มีรูปเป็นอาทิ เข้าไปสู่ป่า หรือโคนไม้ หรือเรือนว่างก็ตาม แล้วผูก(มัน) ไว้ทีหลักคือลมหายใจออกและลมหายใจเข้าด้วยเชือกคือสติ
So too, when a bhikkhu wants to tame his own mind which has long been spoilt by being reared on visible data, etc., as object for its food and drink, he should take it away from visible data, etc., as object and bring it into the forest or to the root of a tree or to an empty place and tie it up there to the post of in-breaths and out-breaths with the ripe of mindfulness.


เมื่อถูกผูกไว้อย่างนั้น จิตของเธอนั้นแม้จะดิ้นรนไปมา ก็ไม่ได้อารมณ์ทีเคยชินมา (แต่) ไม่อาจจะตัดเชือกคือสติหนีไปได้ ก็ย่อมจะหมอบและนอนอิงอารมณ์(กรรมฐาน) นั้นเอง โดย ( ถึงความเป็น ) อุปจารและอัปปนา
And so his mind may then dash to and fro when it no longer gets the objects it was formerly used to, but being unable to break the rope of mindfulness and get away, it sits down, lies down, by that object under the influence of access and absorption.


เพราะเหตุนั้น พระโบราณาจารย์ทั้งหลาย จึงกล่าวไว้ว่า
Hence the Ancient sad:


คนจะฝึกลูกโค พึงผูก(มัน) ไว้ที่หลักฉันใด พระโยคาวจรในศาสนานี้ ก็พึงผูกจิตของตน
ไว้ที่อารมณ์(กรรมฐาน) ให้มั่นด้วยสติ ฉันนั้นเถิด
‘Just as a man who tames a calf Would tie it to a post, so here Should his own mind by mindfulness
Be firmly to the object tied’.


เสนาสนะ (ที่กล่าวมา) นั่น เป็นทีเหมาะแก่การภาวนาแห่งพระโยคาวจรนั้นด้วยประการฉะนี้
This is how and abode is favourable to his development.


เหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวไว้ว่า คำนี้เป็นคำแสดงถึงการกำหนดถือเอาเสนาสนะ อันเหมาะแก่การบำเพ็ญอานาปานสติสมาธิแห่งพระโยคาวจรภิกษุนั้น ดังนี้
Hence it was said above:” This signifies that he has found an abode favourable to the development of concentration through mindfulness of breathing’.


30-1-53

อานาปานสติ Mindfulness of Breathing

วิสุทธิมรรค แปล ภาค 2 ตอน 1 หน้า 84 (Page 259) เริ่มเขียน 29-1-53
อานาปานสติ : Mindfulness of Breathing
เรียบเรียงเป็น ไทย-อังกฤษ โดย สมลักษณ์ วันโย

อานาปานสติกรรมฐานนั้นใด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรรเสริญไว้อย่างนี้ว่า
Now comes the description of the deveopment of mindfulness of breathing as a meditation subject.It has been recommentded by the Blessed One thus:


“ดูก่อนภิกษทั้งหลาย แม้อานาปานสติสมาธินี่แล บุคคลทำให้มี ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นธรรมละเมียดแท้ด้วย ประณีแท้ด้วย เป็นธรรมเครื่องพักอยู่อันละมุนละไมและเป็นสุขด้วย ยังธรรมอันเป็นบาปอกุศลทั้งหลาย ที่เกิดๆ ขึ้นให้หายลัลรำงับไปโดยพลันด้วย ดังนี้
‘And, buikkhus, this concentration through mindfulness of breathing, when developed and practised much, is both peaceful and sublime, it is an unadulterated blissful abiding, and it banishes at once and stills evil unprofitable thoughts as soon as they arise’

บาลีอุทเทศ : Text

แล้วตรัสจำแนกให้เป็นกรรมฐานมีวัตถุ(ลูกข้อ) 16 อย่างนี้ว่า
It has been described by the Blessed One as having sixteen bases thus:


“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติสมาธิ บุคคลทำให้มีอย่างไร ทำให้มากอย่างไร จึงเป็นธรรมละเมียดแท้ด้วย ประณีตแท้ด้วย เป็นเครื่องพักอันละมุนละไม และเป็นสุขด้วย ยังธรรมอันเป็นบาปอกุศลทั้งหลายที่เกิดๆ ขึ้นให้หายลับรำงับไปโดยพลันด้วย?
‘And how developed, bhikkhus, how practised much, is concentration through mindfulness of breathing both peaceful and sublime, and unadulterated blissful abiding, banishing at once and stilling evil unprofitable thoughts as soon as they arise?


“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่า หรือโคนไม้ หรือเรือนว่างก็ตาม นั่งคู้บรรลังก์ ตั้งกายให้ตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอคงมีสติหายใจออก คงมีสติหายใจเข้า (มีวัตถุ16 ข้อคือ)
‘Here, bhikkhus, a bhikkhu, gone to the forest or to the root of a tree or to an empty plac, sits down; having folded his legs crosswise, set his body erect, established mindfulness in front of him, ever mindful he breathes in, mindful he breathes out.

จตุกกะที่ 1 the first of four items

1 เธอหายใจออกยาวอยู่ ก็รู้ว่าเราหายใจออกยาว หรือ หายใจเข้ายาวอยู่ ก็รู้ว่าเราหายใจเข้ายาว
I Breathing in long, he knows: “ I breath in long; or breathing our long, he knows: “ I breathe out long”


2. เธอหายใจออกสั้นอยู่ ก็รู้ว่าเราหายใจออกสั้น หรือหายใจเข้าสั้นอยู่ ก็รู้ว่าเราหายใจเข้าสั้น
II Breathing in short, he knows: “ I breathe in short; or breathing out short, he knows: “ I breathe our short”.


3 เธอสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้ตลอดกายทั้งหมดหายใจออก สำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้ตลอดกายทั้งหมดหายใจเข้า
III He trains thus: “ I shall breathe in experiencing the whole body” he trains thus: “ I shall breathe out experiencing the whole body”.


4 สำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจออก สำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจเข้า
IV He trains thus: “ I shall breathe in tranquillizing the bodily formation”; he trans thus:” I shall breathe out tranquillizing the bodily formation”.

จตุกกะที่ 2 the second four items

5 สำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้ชัดซึ่งปีตีหายใจออก สำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้ชัดซึ่งปีตีหายใจเข้า
V He trains thus: “ I shall breathe in experiencing happiness”; he trains thus: “ I shall breathe out experiencing happiness”.


6 สำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้ชัดซึ่งสุขหายใจออก สำเหนียกว่า เราจักเป็นผุ้รู้ชัดซึ่งสุขหายใจเข้า
VI He trains thus:” I shall breathe in experiencing bliss”; he trains thus: I shall breathe out experiencing bliss”.


7 สำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้ชัดซึ่งจิตตสังขารหายใจออก สำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้ชัดซึ่งจิตตสังขารหายใจเข้า
VII He trains thus:” I shall breathe in experiencing the mental formation”; he trains thus: “ I shall breathe out experiencing the mental formation”.


8 สำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ระงับจิตตสังขารหายใจออก สำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ระงับจิตตสังขารหายใจเข้า
VIII He trains thus:” I shall breathe in tranquillizing the mental formation”: he trains thus:” I shall breathe our tranquillizing the mental formation”.

จตุกกะที่ 3 the third of four items.

9 สำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตหายใจออก สำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตหายใจเข้า
IX He trains thus:” I shall breathe in experiencing the [manner of] consciousness”; he trains thus:” I shall breathe our experiencing the [manner of ] consciousness”;


10 สำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ยังจิตให้บันเทิงหายใจออก สำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ยังจิตให้บันเทิงหายใจเข้า
X He trains thus:” I shall breathe in gladdening the [manner of] consciousness”: he trains thus: “ I shall breathe out gladdening the [manner of] consciousness”.


11 สำเหนียกว่า เราจักตั้งจิตมั่นหายใจออก สำเหนียกว่า เราจักตั้งจิตมั่นหายใจเข้า
XI He trains thus:” I shall breathe in concentrating the [manner of] consciousness”; he trains thus:” I shall breathe out concentrating the [manner of] consciousness”.


12 สำเหนียกว่า เราจักเปลื้องจิตหายใจออก สำเหนียกว่า เราจักเปลื้องจิตหายใจเข้า
XII He trains thus:” I shall breathe in liberating the [manner of] consciousness”; he trains thus:” I shall breathe out liberating the [manner of ] consciousness”.

จตุกกะที่ 4 the fourth of four items.

13 สำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงหายใจออก สำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงหายใจเข้า
XIII He trains thus: “ I shall breathe in contemplating impermanence”; he trains thus: I shall breathe out contemplating impermanence”.


14 สำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นความคลายไปหายใจออก สำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นความคลายไปหายใจเข้า
XIV He trains thus:” I shall breathe in contemplating fading away”; he trains thus: “ I shall breathe out contemplating fading away”.


15 สำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นความดับไปหายใจออก สำเหนียกว่า เราจักเป็นผุ้พิจารณาเห็นความดับไปหายใจเข้า
XV He trains thus: “ I shall breathe in contemplating cessation”; he trains thus: “ I shall breathe out contemplating cessation”.


16 สำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละทิ้งหายใจออก สำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละทิ้งหายใจเข้า ดังนี้
XVI He trains thus: “ I shall breathe in contemplating relinquishment”: he trains thus: “ I shall breathe out contemplating relinquishment”’


บัดนี้ มิเทศแห่งการเจริญอานาปานสติกรรมฐานนั้น มาถึงแล้วโดยลำดับ แต่เพราะนิเทศนั้น เมื่อกล่าวไปตามแนวคำบาลีนั่นแล จึงจะบริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง เพราะเหตุนั้น นิเทศในอานาปานสติกรรมฐานนั้น (ต่อไป) นี้ จึงเป็นนิเทศยึดคำบาลีเป็นเบื้องหน้า
The description [of development] is complete in all respects, however, only if it is given in due course after a commentary on the text. So, it is given here introduced by a commentary on the ]first part of the]text.





ธัมมจักกัปปวัตนสูตร

ธัมมจักกัปปวัตนสูตร Discourse on the setting in motion the wheel of truth

เอวมฺเม สุตํ
อันข้าพเจ้า (พระอานนทเถระ) ได้สดับมาแล้วอย่างนี้
Thus have I heard.


เอกํ สมยํ ภควา พาราณสิยํ วิหรติ อินิปตเต มิคทาเย
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยุ่ที่ป่าอิสิปตนทฤคทายวัน ใกล้เมือง พาราณสี
Once the Blessed One was staying at the Deer Sanctury in Isipatana near Baranasi.


ตตฺร โข ภควา ปญฺจวคฺคิเย ภิกฺขู อามนฺเตสิ
ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเตือนพระภิกษุปัญจวัคคีย์ว่า
There the Blessed One addressed the Group of Five monks.


เทฺวเม ภิกฺขเว อนฺตา ปพฺพชิเตน น เสวิตพฺพา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่สุดสองอย่างี้ อันบรรพชิตไม่ควรเสพ
Monks, these two extremes, should not be resorted to by one who has renounced worldly life.


ที่สุดสองอย่างเป็นไฉน ( ตรงนี้ในหนังสือสวดมนต์ของเราไม่มี)
Which two?


โย จายํ กาเมสุ กามสุขลฺลิกานุโยโค หีโน คมฺโม โปถุชฺชนิโก อนริโย อนตฺถสญฺหิโต
คือการประกอบตนให้พัวพันด้วยกาม ในกามทั้งหลายนี้ใด เป็นธรรมอันเลว เป็นเหตุให้ตั้งบ้านเรือน เป็นของคนมีกิเลสหนา ไม่ใช่ไปจากข้าศึกคือกิเลส ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ อย่างหนึ่ง
Indulgence in sensual pleasures which is base, vulgar, worldly, ignoble and unsalutary.


โย จายํ อตฺตกิลมถานุโยโค ทุกฺโข อนริโย อนตฺถสญฺหิโต
คิอการประกอบความเหน็ดเหนือยด้วยตนเหล่านี้ใด ให้เกิดทุกข์แก่ผุ้ ประกอบ ไม่ใช่ไปจากข้าศึกคือกิเลส ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ อยางหนึ่ง
And adherence to self-mortification which is painful, ignoble and unsalutary.


เอเต เต ภิกฺขเว อุโภ อนฺเต อนุปคมฺม มชฺฌิมา ปฏิปทา ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺธา
จกฺขุกรณี ญาณกรณี อุปสมาย อภิญฺญาย สมฺโพธาย นิพฺพานาย สํวตฺตติ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติอันเป็นกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอยางนั่นนั้น อันตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตา ทำญาณเครื่องรู้ ย่อมเป็นไป เพื่อความเข้าไปสงบระงับ เพื่อความดับ
Monks, the Middle Path which does not take recourse to both these extremes, and which produces Vision, arouses Insight, leadss to peace, to Supermundance Direct Experience, to Enlightenment and to Nibbana, has been discovered by the Truth-Bearer ( The Supermely Enlightened One).


กตมา จ สา ภิกฺขเว มชฺฌิมา ปฏิปทา ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺธา จกฺขุกรณี ญาณกรณี อุปสมาย อภิญฺญาย สมฺโพธาย นิพฺพานาย สํวตฺตติ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อปฏิบัติซึ่งเป็นกลางนั้นเป็นไฉน ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตา ทำญาณเครื่องรู้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเข้าไปสงบ ระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี เพื่อความดับ
And what, Monks, is this Middle Path, discovered by the Truth-Bearer, that produces Vision, arouses Insight, leads to Peace, to Supermundane Direct Experience, to Enlightnment and to Nibbana?


อยเมว อริโย อฏฺฐงฺคิโก มคฺโค
เสยฺยถีทํ
สมฺมาทิฏฺฐิ สมฺมาสงฺกปฺโป สมฺมาวาจา สมฺมากมฺมนฺโต สมฺมาอาชีโว สมฺมาวายาโม สมฺมาสติ สมฺมาสมาธิ
ทางมีองค์ ๘ เครื่องไปจากข้าศึก คือกิเลสนี้เอง กล่าวคือ ปัญญาเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ ความเลี้ยงชีวิตชอบ ความเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งจิตชอบ
This very Noble Eightfold Path, namely, Right Understanding, Right Thought, Right Speech, Right Action, Right Livelihood, Right Effort, Right Mindfulness, Right Concentration.


อยํ โข สา ภิกฺขเว มชฺฌิมา ปฏิปทา ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺธา
จกฺขุกรณี ญาณกรณี อุปสมาย อภิญฺญาย สมฺโพธาย นิพฺพานาย สํวตฺตติ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้แล ข้อปฏิบัติซึ่งเป็นกลางนั้น ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตา ทำญาณเครื่องรู้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเข้าไปสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี เพื่อความดับ
Monks, this, indeed, is the Middle Path, discovered by the Truth-Bearer, that produces Vision, arouses Insight, leads to Peace, to Supermundane Direct experience, to enlightenment and to Nibbana.


อิทํ โข ปน ภิกฺขเว ทุกฺขํ อริยสจฺจํ
ชาติปิทุกฺขา ชราปิ ทุกฺขา มรณมฺปิ ทุกฺขํ โสกปริเทวทุกฺขโมนสฺสุปายาสาปิ ทุกฺขา อปฺปิเยหิ สมฺปโยโค ทุกฺโข  ปิเยหิ วิปฺปโยโค ทุกฺโข ยมฺปิจฺฉํ น ลภติ ตมฺปิ ทุกฺขํ สงฺขิตฺเตน ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา ทุกฺขา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นี้แล เป็นทุกข์อย่างแท้จริง คือ ความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่ก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์โทมนัส และความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจาก สิ่งที่รักทั้งหลาย เป็นทุกข์ ปราถนาอยู่ย่อมไม่ได้ แม้อันใด แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่อแล้ว อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
" Monks, this is the Noble Truth of Suffering, namely: birth is suffering, ageing is suffering, disease is suffering, death is suffering, coming in contact with the disliked is suffering, separation from the liked is suffering, not to get what one desires is suffering, in short, the five aggregates (as object) of clinging are suffering.


อิทํ โข ปน ภิกฺขเว ทุกฺขสมุทโย อริยสจฺจํ
ยายํ ตณฺหา โปโนพฺภวิกา นนฺทิราคสหคตา ตตฺรตตฺราภินนฺทินี
เสยฺยถีทํ
กามตณฺหา ภวตณฺหา ภวตณฺหา วิภวตณฺหา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นี้แล เป็นเหตุให้ทุกข์เกิดขึ้นอย่างจริงแท้คือ ความทะยาน อยากนี้ ทำให้มีภพอีก เป็นไปกับความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลิน เพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ กล่าวคือ คือความทะยานอยากในอารมณ์ที่ไคร่ คือ ความทะยานอยากในความมีความเป็น คือ ความทะยานอยากในความไม่มี ไม่เป็น
"Monks, this is the Noble Truth of the Cause of suffering, namely, this very craving, which gives rise to rebirth, which is accompanied by delight and lust, now taking pleasure in this and now in that: That is, craving for sensual pleasures, craving for recurring existence and craving for annihilation.


อิทํ โข ปน ภิกฺขเว ทุกฺขนิโรโธ อริยสจฺจํ
โย ตสฺสาเยว ตณฺหาย อเสสวิราคนิโรโธ
จาโค ปฏินิสฺสคฺโค มุตฺติ อนาลโย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นี้แล เป็นความดับทุกข์อย่างจริงแท้ คือ ความดับโดยสิ้นกำหนัด โดยไม่เหลือแห่งตัณหานั้นนั่นเทียว อันใด ความสละตัณหานั้น ความวาง ตัณหานั้น ความปล่อยตัณหานั้น ความไม่พัวพันแห่งตัณหานั้น
" Monks, this is the Noble Truth of the Cessation of Suffering: The reaminderless fading away and cessation of that very craving, abandoning it, turning away from it, freedom and detachment from it.


อิทํ โข ปน ภิกฺขเว ทุกฺขนิโรธคามินี ปฏิปทา อริยสจฺจํ
อยเมว อริโย อฏฺฐงฺคิโก มคฺโค
เสยฺยถีทํ
สมฺมาทิฏฺฐิ สมฺมาสงฺกปฺโป สมฺมาวาจา สมฺมากมฺมนฺโต สมฺมาอาชีโว สมฺมาวายาโม สมฺมาสติ สมฺมาสมาธิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นี้แล เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์อย่างจริงแท้ คือ ทาง มีองค์ ๘ เครืองไปจากข้าศึกคือกิเลสนี้แล กล่าวคือ
ปัญญาเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ ความเลี้ยงชีวิตชอบ ความเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งจิตชอบ
"Monks, this is the Noble Truth of the Path leading to the cessation of suffering: That is, the Noble Eightfold Path, namely, Right Understanding, Right Thought, Right Speech, Right Action, Right Livelihood, Right Effort, Right Mindfulness, Right Concentration.


อิทํ ทุกฺขํ อริยสจฺจนฺติ เม ภิกฺขเว
ปุพฺเพ อนนุสฺสุเตสุ ธมฺเสสุ
จกฺขุ ๊ อุทปาทิ ญาณํ อุทปาทิ ปญฺญา อุทปาทิ วิชฺชา อุทปาทิ อาโลโก อุทปาทิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้ เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่านี้เป็นทุกขอริยสัจ
Monks, with the realization: " This is the Noble Truth of suffering" there arose in me the vision of things hitherto unknown, there arose Insight, Wisdom, Penetration and Light!


ตํ โข ปนิทํ ทุกฺขํ อริยสจฺจํ ปริญฺเญยฺยนฺติ เม ภิกฺขเว
ปุพฺเพ อนนุสฺสุเตสุ ธมฺเมสุ
จกฺขุ ํ อุทปานิ ญาณํ อุทปาทิ ปญฺญา อุทปาทิ วิชฺชา อุทปาทิ อาโลโก อุทปาทิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟัง แล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกขอริยสัจนี้นั้นแล ควรกำหนดรู้
Monks, with the realization: " This is the Noble Truth of suffering must be fully comprehended", there arose in me the Vision of things hitherto unknown, there arose Insight, Wisdom, Penetration and Light!


ตํ โข ปนิทํ ทุกฺขํ อริยสจฺจํ ปริญฺญาตนฺติ เม ภิกฺขเว
ปุพฺเพอนนุสสุเตสุ ธมฺเมสุ
จกฺขุ ํ อุทปาทิ ญาณํ อุทปาทิ ปญฺญา อุทปาทิ วิชฺชา อุทปาทิ อาโลโก อุทปาทิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคย ฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกขอริยสัจนี้นั้นแล อันเราได้กำหนดรู้แล้ว
Monks, with the realization: " This Noble Truth of suffering has been fully comprehended", there arose in me the Vision of things hitherto unknown, there arose Insight, Wisdom, Penetration and Light!


อิทํ ทุกฺขสมุทโย อริยสจฺจนฺติ เม ภิกฺขเว
ปุพฺเพอนนุสฺสุเตสุ ธมฺเมสุ
จกฺขุ ๊ อุทปาทิ ญาณํ อุทปาทิ ปญฺญา อุทปาทิ วิชฺชา อุทปาทิ อาโลโก อุทปาทิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้ เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี้ทุกขสมุทัยสัจ
Monks, with the realization: " This is the Noble Truth of the Cause of suffering", there arose in me the Vision of things hitherto unknown, there arose Insight, Wisdom, Penetration and Light!


ตํ โข ปนิทํ ทุกฺขสมุทโย อริยสจฺจํ ปหาตพฺพนฺติ เม ภิกฺขเว
ปุพฺเพ อนนุสฺสุเตสุ ธมฺเมสุ
จกฺขุ ๊ อุทปาทิ ญาณํ อุทปาทิ ปญฺญา อุทปาทิ วิชฺชา อุทปาทิ อาโลโก อุทปาทิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้ เคยฟังแล้ว ในกาลก่อนว่า ก็ทุกขมสมุยอริยสัจนี้นั่นแล ควรละเสีย
Monks, with the realization : This Noble Truth of the Cause of Suffering must be abandoned", there arose in me the Vision of things hitherto unknown, there arose Insight, Wisdom, Penetration and Light!


ตํ โข ปนิทํ ทุกฺขสมุทโย อริยสจฺจํ ปหีนนฺติ เม ภิกฺขเว
ปุพฺเพ อนนุสฺสุเตสุ ธมฺเมสุ
จกฺขุ ํ อุทปาทิ ญาณํ อุทปาทิ ปญฺญา อุทปาทิ วิช่ชา อุทปาทิ อาโลโก อุทปาทิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญานได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้ เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้นั่นแล อันเราละได้แล้ว
Monks, with the realization: " This Noble Truth of the cause of suffering has been abandoned", there arose in me the Vision of things hitherto unknown, ther arose Insight, Wisdom, Penetration and Light!


อิทํ ทุกฺขนิโรโธ อริยสจฺจนฺติ เม ภิกฺขเว
ปพฺเพ อนนุสฺสุเตสุ ธมฺเมสุ
จุกฺขุ ํ อุทปาทิ ญาณํ อุทปาทิ ปญฺญา อุทปาทิ วิชฺชา อุทปาทิ อาโลโก อุทปาทิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้ เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ
Monks, with the realization: " This Noble Truth of the Cessation of suffering', there arose in me the Vision of things hitherto unknown, ther arose Insight, Wisdom, Penetration and Light!


ตํ โข ปนิทํ ทุกฺขนิโรโธ อริยสจฺจํ สจฺฉิกาตพฺพนฺติ เม ภิกฺขเว
ปุพฺเพ อนนุสสุเตสุ ธมฺเมสุ
จกฺขุ ํ อุทปาทิ ญาณํ อุทปาทิ ปญฺญา อุทปาทิ วิชฺชา อุทปาทิ อาโลโก อุทปาทิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้ เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้นแล ควรทำให้แจ้ง
Monks, witht the realization:" The Noble Truth of the Cessation of suffering must be realized", there arose in me the Vision of thing hitherto unknown, there arose Insight, Wisdom, Penetration and Light!


ตํ โจ ปนิทํ ทุกฺขนิโรโธ อริยสจฺจํ สจฺฉิกตนฺติ เม ภิกฺขเว
ปุพฺเพ อนนุสฺสุเตสุ ธมฺเมสุ
จกฺขุ ํ อุทปาทิ ญาณํ อุทปาทิ ปญฺญา อุทปาทิ วิชฺชา อุทปาทิ อาโลโก อุทปาทิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้ เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้นแล อันเราได้ทำให้แจ้งแล้ว
Monks, with the realization:"This Noble Truth of the Cessation of suffering has been realised", there arose in me the Vision of thing hitherto unknown, there arose Insight, Wisdom, Penetration and Light!


อิทํ ทุกฺขนิโรธคามินี ปฏิปทา อริยสจฺจนฺติ เน ภิกฺขเว
ปุพฺเพ อนนุสฺสุเตสุ ธมฺเมสุ
จกฺขุ ํ อุทปาทิ ญาณํ อุทปาทิ ปญฺญา อุทปาทิ วิชฺชา อุทปาทิ อาโลโก อุทปาทิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
Monks, with the realization:" This is the Noble Truth of the Path leading to the Cessation of suffering", there arose in me the Vision of things hitherto unknown, there arose Insight, Wisdom, Penetration and Light!


ตํ โข ปนิทํ ทุกฺขนิโรธคามินีปฏิปทา อริยสจฺจํ ภาเวตพฺพนฺติ เม ภิกฺขเว
ปุพฺเพ อนนุสฺสุเตสุ ธมฺเมสุ
จกฺขุ ํ อุทปาทิ ญาณํ อุทปาทิ ปญฺญา อุทปาทิ วิชฺชา อุทปาทิ อาโลโก อุทปาทิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ไดเคย ฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้แล ควรให้เจริญ
Monks, with the realization:" This Noble Truth of Path leading to the Cessation of suffering must be developed", there arose in me the Vision of things hitherto unknown, there arose Insight, Wisdom, Penetration and Light!


ตํ โข ปนิทํ ทุกฺขนิโรธคามินี ปฏิปทา อริยสจฺจนฺติ เม ภิกฺขเว
ปูพฺเพ อนนุสฺสุเตสุ ธมฺเมสุ
จกฺขุ ํ อุทปาทิ ญาณํ อุทปาทิ ปญฺญา อุทปาทิ วิชฺชา อุทปาทิ อาโลโก อุทปาทิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคย ฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธตามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้นแล อันเราเจริญแล้ว
Monks, with the realization:" This Noble Truth of the Path leading to the Cessation of suffering has been developed", there arose in me the Vision of things hitherto unknown, there arose Insight, Wisdom, Penetration and Light!


ยาวกีวญฺจ เม ภิกฺขเว อิเมสุ จตูสุ อริยสจฺเจสุ
เอวนฺติปริวฏฺฏํ ทฺวาทสาการํ ยถาภูตํ ญาณทสฺสนํ น สุวิสุทฺธํ อโหสิ
เนว ตาวาหํ ภิกฺขเว สเทวเก โลเก สมารเก สพฺรหฺมเก
สสฺสมณพฺพราหฺมณิยา ปชาย สเทวมนุสฺสาย
อนุตฺตรํ สมฺมาสมฺโพธึ อภิสมฺพุทฺโธ ปจฺจญฺญาสึ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงแล้วอย่างไร ในอริยสัจ ๔ นี้ของเรา ซึ่งมีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ ยังไม่หมดจดเพียงไร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราได้ยืนยันตนว่า เป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งปัญญาเครืองตรัสรู้ชอบ ไมมีความตรัสรู้อื่นจะยิ่งกว่าในโลก เป็นไปกับด้วยเทพดา มาร พรหม ในหมูสัตว์ ทั้งสมณพราหมณ์ เทพดา มนุษย์ ไม่ได้เพียงนั้น
Monks, until my Insight and Vision of these Four Noble Truths, in three modes and twelve ways, had become absolutely perfect and in accordance with Reality, not till then, Monks, did I make known to the world, with its monks and priests, kings and men, its deities, mara gods and brahama divinities that I had discovered the summit state of Supreme Enlightenment.


ยโต จ โข แม ภิกฺขเว มิเสสุ จตูสุ อริยสจฺเจสุ
เอวนฺติปริวฏฺฏํ ทฺวาทสาการํ ยถาภูตํ ญาณทสฺสนํ สุวิสุทฺธํ อโหสิ
อถาหํ ภิกฺขเว สเทวเก โลเก สมารเก สพูรหฺมเก
สสฺสมณพูราหฺมณิยา ปชาย สเทวมนุสฺสายะ
อนุตฺตรํ สมฺมาสมฺโพธึ อภิสมฺพุทฺโธ ปจฺจญฺญาสึ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก้เมือใดแล ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงอย่างไรในอริยสัจ ๔ เหล่านี้ ของเรา ซึ่งมีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้หมดจดดีแล้ว เมื่อนั้น เราจึงได้ยืนยัน ตนว่าเป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งปัญญาเครืองตรัสรู้ชอบ ไม่มีความตรัสรู้อื่นยิ่งกว่า ในโลก เป็นไปกับด้วยเทพดา มาร พรหม ในหมูสัตว์ มนุษย์ ทั้งสมณพราหมณ์ เทพดา มนุษย์
But monks, when my Insigth and Vision of these Four Noble truths, in three modes and twelve ways, had become absolutely perfect and in accordance with Reality, only then, monks, did I make known to the world with its monks and priests, kings and men, its deities, mara gods and brahma divinities that I had discovered the summit state of Supreme Enlightenment.


ญาณญฺจ ปน เม ทสฺสนํ อุทปาทิ
อกุปฺปา เม วิมุตฺติ
อยมนฺติมา ชาติ
นตฺถิทานิ ปุนพฺภโวติ
ก็แล ปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ว่าความพ้นวิเศษของเราไม่กลับกำเริบ ชาตินี้ เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีภพอีก
Indeed, the Insight and Vision arose in me that unshakable is the deliverance of my mind. This is the last birht. Now ther is no more rebirth!


อิทมโวจ ภควา
อตฺตมนา ปญฺจวคฺคิยา ภิกฺขู ภควโต ภาสิตํ อภินนฺทุ ํ
พระผุ้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสธรรมปริยายนี้แล้ว ภิกษุปัญจวัคคีย์ก็มีใจยินดี เพลินภาษิต ของพระผู้มีพระภาคเจ้า
Thus spoke the Blessed One. Inspired, the Group of Five monks rejoiced at the words of the Blessed One.


อิมสฺมิญฺจ ปน เวยฺยากรณสฺมึ ภญฺญมาเน
อายสฺมโต โกณฺฑญฺญสฺส วิรชํ วีตมลํ ธมฺมจกฺขุ ํ อุทปาทิ
ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมนฺติ
ก็แลเมื่อเวยยากรณ์นี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอยู่ จักษุในธรรม อันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดแล้วแก่พระผู้มีอายุโกณฑัญญะ ว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีอันเกิดขึ้น เป็นธรรมดา สิ่งทั้งปวงนั้น มีอันดับไปเป็นธรรมดา
When this Discourse was delivered, the unsullied and stainless Vision of Truth arose in the Venerable Kondanna: " Whatever is subject to arising, all that is subject to ceasing."


ปวตฺติเต จ ภควา ธมฺมจกฺเก ภูมฺมา เทวา สทฺทมนุสฺสาเวสุ ํ
เอตมฺภควตา พาราณสิยํ อิสิปตเน มิคทาเย อนุตฺตรํ ธมฺมจกฺกํ ปวตฺติตํ
อปฺปฏิวตฺติยํ สมเณน วา พฺราหฺมเณน วา เทเวน วา มาเรน วา พฺรหฺมุนา วา เกนจิ วา โลกสฺมินฺติ
ก็ครั้นเมื่อธรรมจักร อันพระผู้มีพระภาคเจ้าให้เป็นไปแล้ว เหล่าภุมมเทพดา ก็ยัง เสียงให้บันลือลั่น ว่านั้นจักร คือ ธรรม ไม่มีจักรอื่นสู้ได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ให้เป็นไปแล้ว ทีป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ไกล้เมืองพาราณสี อันสมณพราหมณ์ เทพดา มาร พรหม และใครๆ ในโลกยังให้เป็นไปไม่ได้ ดังนี้
With the Wheel of Truth thus set in motion by the Blessed One, the Earth-bound ( Bhumma) Deities proclaimed in one voice, " This incomparable Wheel of Truth has been set in motion by the Blessed One at the Deer Sacntuary in Isipatana near Baranasi which cannot be reversed by anybody in the world, whether a monk, a priest, a deity, a mara god or a brahma divinity."


ภูมฺมานํ เทวานํ สทฺทํ สุตฺวา
จาตุมฺมหาราชิกา เทวา สทฺทมนุสฺสาเวสุ ํ
(เอตมฺภควตา พาราณสิยํ อิสิปตเน มิคทาเย อนุตฺตรํ ธมฺมจกฺกํ ปวตฺติตํ
อปฺปฏิวตฺติยํ สมเณน วา พฺราหฺมเณน วา เทเวน วา มาเรน วา พฺรหฺมุนา วา เกนจิ วา โลกสฺมินฺติ)
เทพเจ้าเหล่าชั้นจาตุมมหาราช ได้ฟังเสียงของเทพเจ้า เหล่าภุมมเทพดาแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น
(ว่านั้นจักร คือ ธรรม ไม่มีจักรอื่นสู้ได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ให้เป็นไปแล้ว ทีป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ไกล้เมืองพาราณสี อันสมณพราหมณ์ เทพดา มาร พรหม และใครๆ ในโลกยังให้เป็นไปไม่ได้ ดังนี้)
Having heard this proclamation of the Bhumma deities, the Four Rregentt Deities( Catummaharajika) proclaimed inonce voice, " This incomparable Wheel of Truth has been set in motion by the Blessed One at the Deer Sanctuary in Isipatana near Baranasi which cannot be reversed by anybody in the world, whether a monk, a priest, a deity, a mara god or a brahama divinity."


จาตุมฺมหาราชิกานํ เทวนํ สทฺทํ สุตฺวา
ตาวตึสา เทวา สทฺทมนุสฺสาเวสุ ํ
(เอตมฺภควตา พาราณสิยํ อิสิปตเน มิคทาเย อนุตฺตรํ ธมฺมจกฺกํ ปวตฺติตํ
อปฺปฏิวตฺติยํ สมเณน วา พฺราหฺมเณน วา เทเวน วา มาเรน วา พฺรหฺมุนา วา เกนจิ วา โลกสฺมินฺติ)
เทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์ ได้ฟังเสียงของเทพเจ้า เหล่าชั้นจาตุมหาราชแล้ว ก้ยังเสียงให้บันลือลั่น
(ว่านั้นจักร คือ ธรรม ไม่มีจักรอื่นสู้ได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ให้เป็นไปแล้ว ทีป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ไกล้เมืองพาราณสี อันสมณพราหมณ์ เทพดา มาร พรหม และใครๆ ในโลกยังให้เป็นไปไม่ได้ ดังนี้)
Having heard this proclamation of the Catummaharajika deities, the Group of Thrity-three-Deities ( Tavatimsa) proclaimed in one voice, " This incomparable Wheel of Truth has been set in motion by the Blessed One at the Deer Sanctuary in Isipatana near Baranasi which cannot be reversed by anybody in the world, whether a monk, a priest, a deity, a mara god or a brahma divinity."


ตาวตึสานํ เทวานํ สทฺทํ สุตฺวา
ยามา เทวา สทฺทมนุสฺสาเวสุ ํ
(เอตมฺภควตา พาราณสิยํ อิสิปตเน มิคทาเย อนุตฺตรํ ธมฺมจกฺกํ ปวตฺติตํ
อปฺปฏิวตฺติยํ สมเณน วา พฺราหฺมเณน วา เทเวน วา มาเรน วา พฺรหฺมุนา วา เกนจิ วา โลกสฺมินฺติ)
เทพเจ้าเหล่าชั้นยามะ ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์แล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น
(ว่านั้นจักร คือ ธรรม ไม่มีจักรอื่นสู้ได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ให้เป็นไปแล้ว ทีป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ไกล้เมืองพาราณสี อันสมณพราหมณ์ เทพดา มาร พรหม และใครๆ ในโลกยังให้เป็นไปไม่ได้ ดังนี้)
Having hear this proclamation of the Tavatimsa deities, the Deities-Wielding-Sway-ver-the Under-world (Yama) proclaimed in one voice," This incomparable Wheel of Truth hgas been set in motion by the Blessed One at the Deer Sanctuary in Isipatana near Baranasi which cannot be reversed by anybody in the world, whther a monk, a priest, a deity, a mara god or a brahma divinity."


ยามานํ เทวนํ สทฺทํ สุตฺวา
ตุสิตา เทวา สทฺทมนุสฺสาเวสุ ํ
(เอตมฺภควตา พาราณสิยํ อิสิปตเน มิคทาเย อนุตฺตรํ ธมฺมจกฺกํ ปวตฺติตํ
อปฺปฏิวตฺติยํ สมเณน วา พฺราหฺมเณน วา เทเวน วา มาเรน วา พฺรหฺมุนา วา เกนจิ วา โลกสฺมินฺติ)
เทพเจ้าเหล่านั้นดุสิต ได้ฟังเสียงของเทพเจ้า เหล่าชั้นยามะแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น
(ว่านั้นจักร คือ ธรรม ไม่มีจักรอื่นสู้ได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ให้เป็นไปแล้ว ทีป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ไกล้เมืองพาราณสี อันสมณพราหมณ์ เทพดา มาร พรหม และใครๆ ในโลกยังให้เป็นไปไม่ได้ ดังนี้)
Having heard this proclamation of the Yama deities, the Happy Deities (Tusita) proclaimed in one voice,"This incomparable Wheel of Truth has been set in motion by the Blessed One at the Deer Sanctuary in Isipatana near baranasi which cannot be reversed by anybody in the world, whether a monk, a priest, a deity, a mara god or a brahma divinity."


ตุสิตานํ เทวานํ สทฺทํ สุตฺวา
นิมฺมานรตี เทวา สทฺทมนุสฺสาเวสุ ํ
(เอตมฺภควตา พาราณสิยํ อิสิปตเน มิคทาเย อนุตฺตรํ ธมฺมจกฺกํ ปวตฺติตํ
อปฺปฏิวตฺติยํ สมเณน วา พฺราหฺมเณน วา เทเวน วา มาเรน วา พฺรหฺมุนา วา เกนจิ วา โลกสฺมินฺติ)
เทพเจ้าเหล่าชั้นนิมานรดี ได้ฟังเสียงของเทพเจ้า เหล่าชั้นดุสิตแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น
(ว่านั้นจักร คือ ธรรม ไม่มีจักรอื่นสู้ได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ให้เป็นไปแล้ว ทีป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ไกล้เมืองพาราณสี อันสมณพราหมณ์ เทพดา มาร พรหม และใครๆ ในโลกยังให้เป็นไปไม่ได้ ดังนี้)
Having heard this proclamation of the Tusita deities, the Delivhting-in- creativity Deities ( Nimmanarati) proclaimed in one voice," This incomparable Wheel of Truth has been set in motion by the Blessed One at the Deer Sanctuary in Isipatana near Baranasi which cannot be reversed by anybody in the world, whether a monk, a priest, a deity, a mara god or a brahma divinity."


ปรนิมฺมิตวสวตฺตีนํ เทวนํ สทฺทํ สุตฺวา
พฺรหฺมกายิกา เทวา สทฺทมนุสฺสาเวสุ ํ
เอตมฺภควตา พาราณสิยํ อิสิปตเน มิคทาเย อนุตฺตรํ ธมฺมจกฺกํ ปวตฺติตํ
อปฺปฏิวตฺติยํ สมเณน วา พฺราหฺมเณน วา เทเวน วา มาเรน วา พฺรหฺมุนา วา เกนจิ วา โลกสฺมินฺติ
เทพเจ้าเหล่าที่เกิดในหมู่พรหม ได้ฟังเสียงของเทพเจ้า เหล่าชั้นปรนิมมิตวสวัดดีแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น (ว่านั้นจักร คือ ธรรม ไม่มีจักรอื่นสู้ได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ให้เป็นไปแล้ว ทีป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ไกล้เมืองพาราณสี อันสมณพราหมณ์ เทพดา มาร พรหม และใครๆ ในโลกยังให้เป็นไปไม่ได้ ดังนี้)
Having heard this proclamation of the Nimmanarati deities, the Deities- Holding-Sway-over-Other's -Creativity ( Paranimmita Vasavatti) proclaimed in one voice," This incomparable Wheel of Truth has been set in motion by the Blessed One at the Deer Sanctuary in Isipatana near Baranasi which cannot be reversed by anybody in the world, whether a monk, a priest, a deity, a mara god or a brahama divinity."


อิติห เตน ขเณน เตน มุหุตฺเตน
ยาว พูรหฺมโลกา สทฺโท อพฺภูคจฺฉิ
อยญฺจ ทสสหสฺสี โลกธาตุ
สงฺกมฺปิ สมฺปกมฺปิ สมฺปเวธิ
โดยขณะครู่เดียวเท่านั้น เสียงขึ้นไปถึงพรหมโลก ด้วยประการฉะนี้ ทั้งหมื่นโลกธาตุ ได้หวันไหวสะเทือนสะท้านลั่นไป
Thus, in a flash, promptly and instantly, this message went forth up to the world of the Brahama gods. And indeed this entire universe of ten thousand world-systems quaked, trembled and shook.


อปฺปมาโร จ โอฬาโร โอภาโส โลเก ปาตุรโหสิ
อติกฺกมฺเมว เทวนํ เทวนุภาวํ
ทั้งแสงสว่างอันยิ่งไม่มีประมาณได้ปรากฏแล้วในโลก ล่วงเทวานุภาพ ของเทพดาทั้งหลาย เสียหมด
Lo! A boundless and sublime illumination manifested over the world, surpassing even the radiance of the gods.


อถโข ภควา อุทานํ อุทาเนสิ
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเปล่งอุทานว่า
Then the Blessed One breathed forth this joyous untterance:


อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ
อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญติ
ว่า โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ผู้เจริญ โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ผู้เจริญ
" Indeed Knodanna, you have realised! Indeed, Kondanna, you have realised!"


อิติหิทํ อายสฺมโต โกณฺฑญฺญสฺส
อญฺญาโกณฺฑญฺโญเตฺวว นามํ อโหสีติ
เพราะเหตุนั้น นามว่า อัญญาโกณฑัญญะนี้นั้นเทียว ได้มีแล้วแก่พระผู้มีอายุโกณฑัญญะ ด้วยประการฉะนี้แล
It was thus that Venerable Kondanna came to be called' Kondanna-the-wise.
จบ ended

อาทิตตปริยายสูตร ฉบับ บาลี-ไทย-อังกฤษ

อาทิตตปริยายสูตร ฉบับ บาลี-ไทย-อังกฤษ
โดย สมลักษณ์ วันโย เปริยญ B.A. สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ M.A. เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยไมซอร์ อินเดัย


Once the Blessed One was staying at Gayasisa, near Gaya, together with a thousand monks.

There the Blessed One addressed the monks thus:

" Monks, all is burning.

And what, monks, is the all that is burning?

The eye is burning; visible forms are burning; eye-consciousness is burning; eye-contact is burining; whatever feeling that arises dependdent on eye-contact, whther pleasent of painful or neither-pleasant nor-painful, that too is burning.

Buring with what?

Buring with the fire of lust, with the fire of hatred, with the fire of delusion; burning with birth, ageing and death; with sorrow, lamentation, pain,sadness and dispair, I say.

"Monks, the ear is burning; sounds are burning; ear-consciousness is buring; ear=-contact is burning; whatever feeling that arises dependent on ear-contact, whether pleasant or painful or nether-pleasant nor -painful, that too is burning.

Burning with what?

Burning with the fire of lust, with the fire of hatrred, with the fire of delusion; burning with birth, ageing and death; with sorrow, lamentation, pain, saness and dispair, I say.

"Monks, the nose is burning; smells are burning; nose-consciousness is burning; nose contact is burning; whatever pleasant or painful or neither-pleasant nor-painful, that too is burning.

Burning with that?

Burning with the fire of lust, with the fire of hatred, with the fire of delusion; burning with birth,ageing and death; with sorrow, lamentation, pain ,sadness and dispair, I say.

"Monk, the tongue is burning; tastes are burning; tongue-consciousness is burning; tongue-contact is burning; whatever feeling that arises dependent on tongue-contact, whether pleasant or painful or neither- pleasant-nor-painful, that too is burning.

Burning with what?

Burning with the fire of lust, with the fire of hatred, with the fire of delusion; burning with birth, ageing and death; with sorrow, lamentation, pain, sadness and dispair, I say.

"Monks, the body is burning; tangibles are burning; body-consciousness is burning; mental-contact is burning; whatever feeling that arises dependent on mental-contact, whether pleasant or painful or neither-pleasant nor-painful, that too is burning.

Burning with what?

Burning with the fire of lust, with the fire of hatred, with the fire of delusion; burning with birth, ageing and death; with sorrow, lamentation, pain, sadness and dispair, I say.

Seeing thus , monks , and instructed noble disciple experiences distaste for the eye, the visible forms, the eye-consciousness, the eye-contact, and the feeling that arises dependent on eye-contact, whether pleasant or painful or neither-pleasant-nor-painful.

He experiences distaste for the ear, the sounds, the ear-consciousness, the ear-contact, and the feeling that arises dependent on ear-contact, whether pleasant or paianful or neither-pleasant nor-painful.

He experiences distaste for the nose, the smells, the nose-consciousness, the nose-contact, and the feeling that arises dependent on nose-contact, whether pleassant or painful or nether-pleasant nor-painful.

He experiences distaste for the tongue, the tastes, the tongue-consciousness, the tongue-contact, and the feeling that arises dependent on tongue-contact, whether pleasant or painful or neither-pleasant nor- painful.

He experiences distraste for the body, the tangibles, the body-consciousness, the body -contact, and the feeling that arises dependdent on body-contact, whether pleasant or paianful or neither-pleasant nor-painful.

He experiences distaste for the mind, the mental objects, the mind-consciousness, the mental-contact, and the feeling that arises dependdent on mental-contact, whether pleasant or painful or neither-pleasant nor-painful.

By experiencing distaste, he becomes dispassionate.

By being dispassionate he (his mind) is liberated.

When so liberated there comes the insightful knowledge; " I am now liberated".

When liberated, with intuitive wisdom he understands:" Birth is destroyed, the holy life has been lives, what had to be done has been done, there is no other trask left for this state of being".

This is what the Blessed One said.

Inwardly elated, those monks delighted in the Blessed One's discourse.

And while this discourse was being delivered the mind of the thousand monks were liberated from the cankers by non-clinging.


ended