วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2554

อานาปานสติ อรญฺญคโต mindfulness of breathing

เหตุที่ตรัส อรญฺญคโต ฯเปฯ นัยที่ 2


อีกนัยหนึ่ง เพราะเหตุที่อานาปานสติกรรมฐานอันเป็นยอดในประเภทกรรมฐาน เป็นปทัฏฐานแห่งการบรรลุธรรมวิเศษและทิฏฐธรรมสุขวิหาร ของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธ และพุทธสาวกทั้งปวงนี้ มิใช่เป็นการง่ายทีจะไม่สละแดนบ้านอันอึงไปด้วยเสียงต่างๆ เช่น เสียงผู้หญิง เสียงผู้ชาย เสียงช้าง เสียงม้า แล้วบำเพ็ญขึ้นได้ เพราะฌานมีเสียงเป็นข้าศึก แต่ในที่มิใช่แดนบ้านคือในป่า(ละก็) เป็นการง่ายที่พระโยคาวจรจะถือกรรมฐานนี้ ยังอานาปานจตุตถฌานให้เกิดแล้วทำฌานนั้นแหละเป็นบาท พิจารณากองสังขารจนบรรลุพระอรหัตอันเป็นผลสุดยอดได้
Or alternatively, this mindfulness of breathing as a meditation subject – which is foremost among the various meditation subjects of all Buddhas,[some]Paccekabuddhas and [some] Buddhas’ disciples as a basis for attaining distinction and abiding in bliss here and now – is not easy to develop without leaving the neighbourhood of villages, which resound with the noises of women , men, elephants, horses, etc., noise being a thorn to jhana, whereas in the forest away from a village a meditator can at his ease set about discerning this meditation subject and achieve the fourth jhana in mindfulness of breathing; and then, by making that same jhana the basis for comprehension of formations [with insight], he can reach Arahantship, the highest fruit.

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงแสดงเสนาสนะอันเหมาะแก่พระโยคาวจรนั้น จึงตรัสคำว่า อรญฺญคโต วา ดังนี้เป็นอาทิ
That is why the Blessed One said “ gone to the forest”, etc., in pointing out a favourable abode for him.

เหตุที่ตรัส อรญฺญคโต ฯเปฯ นัยที่ 3

แท้จริง พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นดุจวัตถุวิชาจารย์ ( อาจารย์วิชาชี้ที่)
For the Blessed one is like a master of the art of building sites.

วัตถุวิชาจารย์พบภูมิอันควรจะสร้างเมืองเข้า ตรวจดูตลอดแล้ว จึงชี้บอกว่า “ท่านทั้งหลายจงสร้างเมืองในที่นี้เถิด” ก็แลครั้นเมืองสำเร็จโดยสวัสดีแล้ว ย่อมได้รับสักการะใหญ่แต่ราชสกุล ฉันใด
As the master of the art of building sites surveys the proposed site for a town, thoroughly examines it, and then gives his directions, “ Build the town here”, and when the town is safely finished, he receives great honour from the royal family,

พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทรงตรวจดูเสนาสนะอันเหมาะแก่พระโยคาวจรแล้วจึงตรัสชี้บอกว่า “ กรรมฐานควรประกอบในสถานที่นี้”
so the Blessed One examines an abode as to this suitability for the meditator, and he directs, “ Devote yourself to the meditation subject here”,

แต่นั้น ครั้นพระอรหัตผล อันพระโยคีผู้ประกอบกรรมฐาน ณ ที่ได้ได้บรรลุโดยลำดับแล้ว ย่อมทรงได้รับสักการะใหญ่ ( โดยสรรเสริญพระคุณ) ว่า “ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเป็นพระสัมมาสัมพุทธะหนอ “ ดังนี้
and later on, when the meditator has devoted himself to the meditation subject and has reached Arahantship and says, “ The Blessed One is indeed fully enlightened”, the Blessed One receives great honour.

ส่วนว่าภิกษุ(โยคี) นี้ ท่านกล่าวว่าเป็นดุจเสือเหลือง
And This bhikkhu is compared to a leopard.

พึงทราบอธิบายว่า เหมือนอย่างพญาเสือเหลืองใหญ่ อาศัยพงหญ้าหรือป่ารกหรือดง เข้าไปในป่าซุ่มอยู่ จึงจับสัตว์ป่าทั้งหลาย มี กระบือป่า กวาง และสุกรป่า เป็นต้นได้ ฉันใด
For just as a great leopard king lurks in a grass wilderness or a jungle wilderness or a rock wilderness in the forest and seizes wild beast – the wild buffalo, wild ox, boar, etc. -- ,

ภิกษุผู้ประกอบกรรมฐานอยู่ในเสนาสนะอันเหมาะทั้งหลาย มีป่าเป็นอาทินี้ ก็ย่อมคว้าเอาโสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตมรรค และอริยผลตามลำดับได้ ฉันนั้นเหมือนกัน
so too, the bhikkhu who devotes himself to his meditation subject in the forest, etc., should be understood to seize successively the paths of stream-entry, once-return, non-return, and Arahantship; and the noble fruitions as well.

เพราะเหตุนั้น พระโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า
Hence the Ancients said:

อุปมาดังเสือเหลืองชุ่มตัวอยู่ จึงจับสัตว์ป่าได้ ฉันใดก็ดี พระพุทธบุตรประกอบความเพียร
บำเพ็ญวิปัสสนานี้ก็ฉันนั้นแล(ต้อง) เข้าป่า จึงคว้าเอาอุดมผลได้
‘ For as the leopard by is lurking [in the forest] seizes beasts
So also will this Buddhas’ son, with insight gifted, strenuous,
By his retreating to the forest seize the highest of all’

31-1-53

ไม่มีความคิดเห็น: