วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2554

อานาปานสติ gone to the forest

เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงเสนาสนะป่าอันเป็นโยคภูมิ (ที่ทำความเพียร) แห่งผู้มีความบากบั่นและความว่องไว(ในการภาวนา) แก่โยคาวจรภิกษุนั้น จึงตรัสคำว่า อรญฺญคโต วา เป็นอาทิ


So the blessed One said’ gone to the forest’, etc., to point out a forest abode as a place likely to hasten his advancement.

แก้อรรถบทต่างๆ แห่งบาลีคำเฉลย

ในบทเหล่านั้น บทว่า อรญฺญคโต ความว่า ในบรรดาป่าอันมีลักษณะที่ท่านกล่าวไว้ว่า “ ชื่อว่าป่า คือที่นอกเสาอินทขีลออกไปนั่นจัดเป็นป่าทั้งสิ้น” ดังนี้ก็ดี
Herein, gone to the forest is gone to any kind of forest possessing the bliss of seclusion among the kids of forests characterized thus: ‘Having gone out beyond the boundary post, all that is forest’,


ว่า “ เสนาสนะอันมีในที่ประมาณ 500 ชั่วธนู (แต่แดนบ้าน) เป็นอย่างต่ำ ชื่อว่า เสนาสนะป่า” ดังนี้ก็ดี
And ‘ a forest abode is five hundred bow lengths distant’.


ภิกษุไปสู่ป่าอย่างใดอย่างหนึ่ง อันเป็นที่สงัดเป็นสุข บทว่า สุญญาคารคโต หมายความว่าไปสู่ที่ไกล้ต้นไม้
To the root of a tree: gone to the vicinity of a tree.


บทว่า สุญฺญาคาคตโต หมายความว่าไปสู่โอกาสว่างคือสงัด
To and empty place: gone to an empty, secluded space.


และในบาลีบทนี้ เว้นที่ป่าและรุกขมูลเสีย แม้ไปสู่เสนาสนะที่เหลืออีก 7 อย่าง ก็ควรเรียกว่า สุญญาคารคโต ได้
And here he can be said to have gone to and ‘empty place’ if he has gone to any of the remaining seven kinds of abode.


พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงชี้เสนาสนะอันเหมาะแก่การบำเพ็ญอานาปานสติอนุกูลแก่ฤดูทั้ง 3 และอนุกูลแก่ธาตุและจริยาด้วย อย่างนี้แล้ว
Having thus indicated and abode that is suitable to the three seasons, suitable to humour and temperament, and favourable to the development of mindfulness of breathing,


จะทรงชี้อิริยาบถอันสงบ ไม่เป็นไปข้างหู่และไม่เป็นข้างฟุ้งแก่พระโยคาวจรภิกษุนั้น (ต่อไป)
he then said sits down, etc., indicating a posture that is peaceful and tends neither to idleness nor to agitation.


จึงตรัสคำว่า “ นั่ง” ต่อนั้น เมื่อจะทรงแสดงความมั่นคงแห่งการนั่ง ความเป็นไปสะดวกแห่งลมหายใจออกเข้า และอุบายในการกำหนดถือเออารมณ์ด้วย จึงตรัสคำว่า “ คู้บัลลังก์” เป็นอาทิ
Then he said having folded his legs crosswise, etc., to show firmness in the sitting position, easy occurrence of the in-breaths and out-breaths, and the means for discerning the object.

ในบทเหล่านั้น บทว่า บัลลังก์ ได้แก่นั่งคู้ขาเข้าโดยรอบ
Herein, crosswise is the sitting position with the thighs fully loked.

บทว่า คู้ คือ ขดเข้า Folded: having locked.

คำว่า ตั้งกายตรง คือตั้งสรีระส่วนบนให้ตรงให้ปลายกับปลายกระดูกสันหลัง 18 ข้อจดกัน
Set his body erect: having placed the upper part of the body erect with the eighteen backbones resting end to end.


เมื่อพระโยคาวจรนั่งอย่างนี้ หนัง เนื้อ และ เอ็น ย่อมไม่ขด เมื่อเป็นอย่างนั้น เวทนาเหล่าใดจะพึงเกิดขึ้นในขณะ ๆ เพราะความจดแห่งหนัง เนื้อ และ เอ็นนั้น เป็นปัจจัย เวทนาเหล่านั้นก็จะไม่เกิดขึ้นแก่เธอ
For when he is seated like this, his skin, flesh and sinews are not twisted, and so the feelings that would arise moment by moment if they were twisted do not arise.


ครั้นเวทนาเหล่านั้นไม่เกิดขึ้น จิตก็จะมีอารมณ์เป็นหนึ่ง กรรมฐานไม่ตก เข้าถึงความเจริญงอกงามขึ้น
That being so, his mind becomes unified, and the meditation subject, instead of collapsing, attains to growth and increase.

คำว่า ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า คือตั้งสติให้มุ่งหน้าต่อกรรมฐาน
Established mindfulness in front of him)arimukkham satiṃ upaṭṭhapetavā) – having place (ṭhapayitvā) mindfulness ( satiṃ) facing the meditation subject ( kammaṭṭhanabhimukkhaṃ).


อีกนัยหนึ่ง อรรถาธิบายในคำนี้พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้ในปฏิสัมภิทาอย่างนี้ว่า “ ศัพท์ว่า ปริ มี ปริคฺคห (ความกำหนดถือเอาเป็นอรรถ ศัพท์ว่า มุข มี นิยฺยาน ( ความออกไป) เป็นอรรถ ศัพท์ว่า สติ มี อุปฏฺฐาน ( ความเข้าไปตั้งอยู่ ไม่ลืมเลือน ) เป็นอรรถ เหตุนั้น จึงตรัสว่า ปริมุขํ สตึ ดังนี้ก็ได้ นี่เป็นอธิบายสังเขปในคำนั้นคือ “
Or alternatively, the meaning can be treated here too according to the method of explanation given in the Paṭisambhidā, which is this: Pari has the sense of control ( pariggaha), mukhaṃ (lit.mout) has the sens of outlet ( niyyāna), sati has the sense of establishment ( upaṭṭhana); that is why parimukhaṃ satiṃ ( “ mindfulness as a controlled outlet”) is said’ .


ทำสติให้มีความออก(จากปฏิปักธรรม) อันกำหนดถือเอาแล้ว
The meaning of it in brief is: having mad mindfulness the outlet [ from opposition, forgetfulness being thereby] controlled.

สโตการี
คำว่า “ เธอคงมีสติหายใจเข้า “ เป็นต้น ความว่า ภิกษุนั้น นั่งอย่างนี้ และตั้งสติไว้มั่นอย่างนี้แล้ว ไม่ละสตินั้นอยู่ ชือว่าคงมีสติหายใจออก คงมีสติหายใจเข้า มีคำอธิบายว่า เป็นสโตการี (ผู้มีสติทำ)
Ever mindful he breathes in, mindful he breathes out: having seated himself thus, having established mindfulness thus, the bhikkhu does not abandon that mindfulness; ever mindful he breathes in, mindful he breathes out; he is a mindful worker, is what is meant.


31-1-53

ไม่มีความคิดเห็น: