Word Commentary Continued – First Tertrad
บัดนี้ พระโยคาวจรเป็นสโตการีด้วยอาการเหล่าใด
I Now breathing in long, etc, is said in order to show the different ways in which he is a mindful worker.
เพื่อจะทรงแสดงอาการเหล่านั้น จึงตรัสคำว่า ทีฆํ วา อสฺสสนฺโต เป็นอาทิ จริงอยู่ ในปฏิสัมภิทาท่านก็กล่าวคำ(ต่อไป) นี้ไว่ในวิภังค์แห่งปาฐะว่า “ โส สโตว อสฺสสติ สโต ปสฺสสติ” นั้นนั่นแหละว่า “ โยคาวจรภิกษุย่อมเป็นสโตการีด้วยอาการ 32 คือ
For in the Paṭisambhidā, in the exposition of the clause ‘ Ever mindful he breathes in, mindful he breathes out’ this is said: He is a mindful worker in thirty-two ways:
เมื่อเธอรู้ความเป็นอารมณ์เดียว ความไม่ส่ายไปมาแห่งจิต ด้วยอำนาจแห่งการหายใจออกยาวอยู่ สติย่อมตั่งมั่น(ในอารมณ์นั้น) เธอก็เป็นสโตการีด้วยสตินั้น ด้วยความรู้นั้น
1. When he knows unification of mind and non-distraction by means of a long in-breath, mindfulness is established in him; owing to that mindfulness and that knowledge he is a mindful worker.
เมื่อเธอรู้ความมีอารมณ์เดียว ความไม่ส่ายไปมาแห่งจิต ด้วยอำนาจแห่งการหายใจเข้ายาวอยู่ สติย่อมตั้งมั่น(ในอารมณ์นั้น) เธอก็เป็นสโตการีด้วยสตินั้น ด้วยความรู้นั้น ฯเปฯ
2. When he knows unification of mind and non-distraction by means of a long out-breath…….
เมื่อเธอรู้ความมีอารมณ์เดียว ความไม่ส่ายไปมาแห่งจิต ด้วยอำนาจแห่งความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละละทิ้ง หายใจออกอยู่.........
31. by means of breathing in contemplating relinquishment……
... ด้วยอำนาจแห่งความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละละทิ้ง หายใจเข้าอยู่ สติย่อมตั้งมั่น (ในอารมณ์นั้น) เธอก็เป็นสโตการีด้วยสตินั้น ด้วยความรู้นั้น “ ดังนี้
32.When he now unification of mind and non-distraction by beans of breathing out contemplating relingquishment, mindfulness is established in him; owing to that mindfulness and that knowledge he is a mindful worker’.
แก้ศัพท์ อัสสาสะ ปัสสาสะ
ในปาฐะเหล่านี้ ปาฐะว่า ทีฆํ วา อสฺสสนฺโต คือยังอัสสาสะยาวให้เป็นไป
Herein, breathing in long(assasanto) is producing a long in-breath.
หรือ ในอรรถกถาพระวินัยกล่าวว่า ลมออกข้างนอก ชื่ออัสสาสะ ลมเข้าข้างในชื่อปัสสาสะ
Assāsa is the wind issuing out; Passāsa is the wind entering in’ is said in the Vinaya Commentray.
แต่ในอรรถกถาพระสูตรทั้งหลายมากลับกัน ( กับคำอรรถกถาวินัย)
But in the Suttanta Commentaries it is given in the opposite sense.
ในลม 2 อย่างนั้น เวลาที่ครรภไสยกสัตว์ทั้งปวงออกจากท้องมาดร ลมข้างในออกมาข้างนอกก่อน ลมข้างนอกพาเอาธุลีละเอียดเข้าข้างในทีหลัง พอถึงเพดานปากก็ดับ
Herein, when any infant comes out from the mother’s womb, first the wind from within goes out and subsequently the wind from without enters in with fine dust, strikes the palate and is extinguished [with the infant’s sneezing].
พึงทราบเรื่องลมอัสสาสะและปัสสาสะอย่างนี้ก่อน
This, firstly, is how assāsa and passāsa should be understood.
ส่วนความยาวของลมทั้ง 2 นั้น อันใด ความยาวและสั้นนั้นพึงทราบ (ว่าเป็น) ด้วยอำนาจอัทธานะ (คือระยะที่ และระยะกาล)
But their length and shortness should be understood by extent (addhāna).
เหมือนอย่างน้ำหรือทรายก็ดี ที่แผ่นไปตลอดอัทธานะคือที่( ยาวหรือสั้น) เขาเรียกว่า ( ลำ) น้ำยาว ( หาด) ทรายยาว (ลำ) น้ำสั้น ทรายสั้น ฉันใด ลมหายใจออกและลมหายใจเข้าที่แม้เป็นของละเอียดยิ่งนัก (แต่มันเข้าไป) ทำอัทธานะ (คือที่) อันยาว ในร่างกายช้างและร่างกายงู กล่าวคือลำตัวของมันให้เต็มช้าๆ แล้วออกช้าๆ เหมือนกัน
For just as water or sand that occupies and extent of space is called a ‘long water’, a ‘long sand’, a ‘short water’, a ‘short sand’, so in the case of elephants’ and snakes’ bodies the in-breaths regarded as particles slowly fill the long extent, in other words, their persons, and slowly go out again.
เพราะฉะนั้น เขาจึงว่าลมหายใจ( ของช้างและงู) ยาว
That is why they are called ‘long’.
ลมนั้น (เข้าไป) ทำอัทธานะ (คือที่) อันสั้น กล่าวคือลำตัวของสัตว์ (ตัวเล็กและตัวสั้น) มีสุนัขและกระต่ายเป็นต้นให้เต็มโดยเร็วแล้วออกเร็วเหมือนกัน
They rapidly fill a short extent, in other worlds, the person of a dog, a hare, etc., and rapidly go out again.
เพราะฉะนั้น เขาจึงว่าลมหายใจ(ของสัตว์เล็ก) สั้น
That is why they are called ‘short’.
ส่วนในพวกมนุษย์ ว่าโดยอัทธานะคือกาล บางเหล่าก็หายใจออกและหายใจเข้ายาว ดังสัตว์ ( ตัวใหญ่และตัวยาว) มีช้างและงูเป็นต้น บางเหล่าก็กายใจออกและหายใจเข้าสั้น ดังสัตว์ (ตัวเล็กและตัวสั้น) มีสุนัขและกระต่ายเป็นอาทิ
And in the case of human beings some breathe in and breathe out long, by extent of time, as elephants, snakes, etc., do, while others breathe in and breathe out short in that way as dogs, hares, etc., do.
เพราะเหตุนั้น ลมหายใจของพวกมนุษย์นั้น เมื่อออกก็ดี เข้าก็ดี กินระยะเวลานาน ก็พึงทราบว่ายาว เมื่อออกก็ดี เข้าก็ดี กินระยะเวลานิดหน่อย ก็พึงทราบว่าสั้น โดยเนื่องด้วยกาล
Of these, therefore, the breaths that travel over a long extent in entering in and oing out are to be understood as long in time; and the breaths that travel over a little extent in entering in and going out, as short in time.
อานาปานสติเป็นกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ในการหายใจออกและเข้าสั้นนั้น ภิกษุ (โยคาวจร) นี้ เมื่อหายใจออกก็ดี หายใจเข้าก็ดี ยาว ย่อมรู้ว่าเราหายใจออกหายใจเข้ายาว ด้วยอาการ 9 อย่าง
Now this bhikkhu knows ‘ I breathe in, I breathe out, long’ while breathing in and breathing out long in nine ways.
และเมื่อเธอรู้อยู่อย่างนั้น พึงทราบว่าสติปัฏฐานภาวนาส่วนกายานุปัสสนา ย่อมสำเร็จโดยอาการอันหนึ่ง ดังท่านกล่าวไว้ในปฏิสัมภิทาว่า
And the development of the foundation of mindfulness consisting in contemplation of the body should be understood to be perfected in one aspect in him who knows thus, according as it is said in the Paṭisambhidā:
ถามว่า ภิกษุโยคาวจรเมื่อหายใจออกยาวก็รู้ว่าหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ว่าเราหายใจเข้ายาว ด้วยอาการอย่างไร?
‘ How, breathing in long, does he know: “ I breathe in ling”, breathing out long, des he know: “ I breathe out long”?
แก้ว่า 1 ภิกษุระบายลมอกเป็นลมหายใจออกยาว ในเพราะกาบที่นับว่าระยะยาว
1. He breathes in a long tin-breath reckoned as an extent.
2 สูดลมเข้าเป็นลมหายใจเข้ายาว ในเพราะกาลที่นับว่าระยะยาว
2. He breathes out a long out-breath reckoned as an extent.
3 ทั้งระยายลมออก ทั้งสูดลมเข้า เป็นลมหายใจออกและลมหายใจเข้ายาว ในเพราะกาลที่นับว่าระยะยาว
3. He breathes in and breathes out long in-breaths and out-breaths reckoned as an extent.
เมื่อเธอทั้งระยายลมออกทั้งสูดลมเข้า เป็นลมหายใจออกและลมหายใจเข้ายาว ในเพราะกาลที่นับว่าระยะยาวอยู่ ฉันทะเกิดขึ้น
As he breathes in and breathes out long in-breaths and out-breaths reckoned as an extent, zeal arises.
4 ด้วยอำนาจฉันทะ เธอระบายลมออก เป็นลมหายใจออกยาว ในเพราะกาลที่นับว่าระยะยาว เป็นลมละเอียดกว่าก่อนนั้น
4. Through zeal he breathes in a long in=breath more subtle than before reckoned as an extent.
5 ด้วยอำนาจฉันทะ เธอสูดลมเข้าเป็นลมหายใจเข้ายาว ในเพราะกาลที่นับว่าระยะยาว เป็นลมละเอียดกว่าก่อนนั้น
5. Through zeal he breathes out a long out-breath more subtle than before reckoned as an extent.
6 ด้วยอำนาจฉันทะ เธอทั้งระบายลมออกทั้งสูดลมเข้า เป็นลมหายใจออกและลมหายใจเข้ายาว ในเพราะกาลที่นับว่าระยะยาว เป็นลมละเอียดกว่าก่อนนั้น เมื่อเธอ ทั้งระบายลมออกทั้งสูดลมเข้าเป็นลมหายใจออกและลมหายใจเข้ายาว ในเพราะกาลที่นับว่าระยะยาว เป็นลมละเอียดกว่าก่อนนั้นด้วยอำนาจฉันทะอยู่ ความปราโมชเกิดขึ้น
6. Through zeal he breathes in and breathes out long in-breaths and out-breaths more subtle than before reckoned as an extent. As, through zeal, he breathes in and breathes out long in-breaths and out-breaths more subtle than before reckoned as an extent, gladness arises.
7 ด้วยอำนาจปราโมช เธอระบายลมออก เป็นลมหายใจออกยาว ในเพราะกาลที่นับวาระยะยาว เป็นลมละเอียดยิ่งกว่านั้นไปอีก
7. Through gladness he breathes in a long in-breath more subtle than before reckoned as an extent.
8 ด้วยอำนาจปราโมช เธอทั้งระบายลมออกทั้งสูดลมเข้า เป็นลมหายใจออกและลมหายใจเข้ายาว ในเพราะกาลที่นับระยะยาว เป็นลมละเอียดยิ่งกว่านั้นไปอีก
8. Through gladness he breathes out a long out-breath more subtle than before reckoned as an extent.
9 ด้วยอำนาจปราโมช เธอทั้งระบายลมออกทั้งสูดลมเข้า เป็นลมหายใจออกและลมหายใจเข้ายาว ในเพราะกาบที่นับว่าระยะยาว เป็นลมละเอียดยิ่งกว่านั้นไปอีก
9. Through gladness he breathes in and breathes out long in-breaths out long in-breath and out-breaths more subtle than before reckoned as an extent.
เมื่อเธอระบายลมออกทั้งสูดลมเข้า เป็นลมหายใจออกและหายใจเข้ายาว ในเพราะกาลที่นับว่าระยะยาว เป็นลมละเอียดยิ่งกว่านั้นไปอีก ด้วยอำนาจปราโมชอยู่ จิตก็ผละจากลมหายใจออกและลมหายใจเข้ายาว(นั้น) อุเบกขาก็ตั้งขึ้น
As , through gladness, he breathes in and breathes out long in-breaths and out-breaths more subtle than before reckoned as an extent, his mind turns away from the long in-breaths and out-breaths and equanimity is established.
1-2-53
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น