วันอาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ลานหน้าวิหารวัดเชียงป้อม

ลานเอนกดประสงค์หน้าวิหารวัดเชียงป้อม สถานที่เล่นกีฬา ฝึกการฟ้นรำของสาวไทลื้อ ก่อนไปแสดง ณ สถานที่ท่องเที่ยวต่าง จะมีรถมารับที่ลานจอดรถในสนามนี้ ตลอดกิจกรรมต่างๆก็จะมาจัดที่วัดนี้เป็นศูนย์รวมของชุมชนโดยแท้

ทางขึ้นเขาและยอดดอย

มองไปข้างหน้านัี่นแหละคือเส้นทางที่เราจะไป คดเคี้ยวไปตามใหล่เขาและยอดดอย ทางดิน เต็มไปด้วนฝุ่นฟุ้งกระจาย ไม่ค่อยมีรถสวนมาเลย เพราะเป็นหนทางที่เขาไม่ใช้ คนจีนเรียกว่าทางมืด คือทางอันตรายนั่นเอง  แต่ด้วยบุญบารมีแห่งพระรัตนตรัย ก็รอดพ้นสรรพภัยทั้งหลายมาได้ ด้วยความช่วยเหลืทอของเหล่าเทวดาสและมนุษย์ทั้งหลายนั่นเอง

นอนให้พระเหยียบ

ผู้เฒ่าชาวจีน เชียงขาง นอนลงหน้าประตูโบสถ์เพื่อให้พระเหยียบลงบนร่างของตน เชื่อว่าสจะทำใมห้หายโรคหายภัย แต่วิธีการแบบนี้เคยทำมาแล้วเมื่อ ๔ อสงไขย กำไรแสนมหากัป เมื่อท่านสุเ้มธดาบส นอนราบลงบนพื้นพสุธาอาราธาพระพุทธเจ้าพร้อมพระสงฆ์เอย่าได้เหยียบลวงเปือกตมเลยให้่เหยียบลงบนร่างของท่านดาบสแทน ในครั้งนั้น พระพุทธเจ้่าทรงพระนามว่าทีปังกร ได้พยากรณ์ว่า ดาบศผู้นี้จะได้เป็นพระพุทธเจ้านามว่า โคตมะ ในอนาคตกาล จนล่วงเลยมาถึง ๔ อสงไร กำไรแสนมหากัปจึงได้มาตรัสรู้เป็นศาสดาแห่งเราทั้งหลายในปัจจุบัน

พระประธาน buddha image in the temple hall jingkhang

เตรียมลาดผ้าขาวพื้นโบสถ์เพื่อทำพิธีบวชพระ ส่วนพระประธานนั้น สร้างและนำมาถวายโดยคณะศิษยานุศิษย์พระอาจารย์พระครูประกาศพุทธพากย์ มีหลวงพ่อฤาษีเป็นผู้ประสานงาน เป็นพระประธานปางนาคปรก ทำด้เวยหินแกะสลักสวยงามฝีมือช่างไทย มูลค่า สองแสนเก้าหมื่นบาท buddha image brought from thailand to china with the value of 290,000 thb.made by the followers of ven.prakruprakasbuddhapak made of the valued stone.

เดินทางผ่านขุนเขาและยอดดอย

พาหนะที่นำพาคณะพระอาจารย์พระครูประกาศพุทธพากย์เดินทางจากเมืองเชียงรุ่ง ผ่านเมืองต่างๆ เช่นเมิงโลง(เมืองลอง) ข้ามยอดดอยต่างๆมุ่งสู่เมืองเชียงขางตามลำดับ เส้นทางส่วนใหญ่จะไต่ไปตามใหล่เขาสูง นี่คือการเดินทางนำพาคณะศิษย์ไปแสวงบุญยังสาธารณรัฐประชาชนจีน สู่ดินแดนที่เรียกว่าเผ่าไทในบรรพกาล ซึ่งมีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่ที่นี่มาแต่อดีตกาลไม่ได้ย้ายไปไหน ถูกครอบครองโดยจักรพรรดิจีนแต่โบราณ ภาษาและประเพนีจึงคงเหลือไว้ให้เราได้ศึกษา

การแต่งตัวเตรียมบวชเป็นภิกษุของพระ(สามเณร)


พระ(สามเณ) ที่จะบวชเป็นตุ๊ มี ๓ รูป และแต่งตัวพิเศษ อย่างที่เห็น เป็นประเพนีเก่าแก่ของชนชาวจีนเสื้อสายไท มาแต่โบราณ สมัยราชอาณาจักรน่านเจ้า สิบสองจุไท สิบสองปันนา อันมีต้นกำเนิดจากอาณาจักรของแสแห่งท่านขุนบรมราชาธิราช พวกไทดำดำเรียกท่านว่าขุนบูรม 

บวชตุ๊


คลองจีวรให้พระที่เตรียมตัวเข้่าบวชเป็นตุ๊ (เขาเรียกสามเณรเป็นพระ และ เรียกพระว่า ตุ๊ ส่วนพระเถระ เขาเรียกว่าครูบา ) ในพิธีบวชพระ ณ อุโบสถวัดเชียงขาง มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน

เมืองเชียงขาง สาธารณรัฐประชาชนจีน

ภาพเมืองเชียงขาง มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน ถ่ายจากบรนิเวณวัดเชียงขาง มีถนนและอาคารบ้านเรือนที่เป็นตลาด ร้านค้า ร้านอาหารเรียงรายไปตามลำดับ

พระพุทธศาสนากับประชนจีน

ประชาชนชาวจีน ต่างก็มีใจเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา พากันมาร่วมอนุโมทนาในการอุปสมบทพระที่วัดเชียงขาง มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน ที่พระอาจารย์พระครูประกาศพุทธพากย์ พระธรรมทูตสายต่างประเทศ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมกุฏกษัตริยาราม กทม ได้ให้ความอุปถัมภ์มาเป็นเวลาหลายปีแล้ว พรน้อมให้การสนับสนุนจตุปัจจัยสร้างพระอุโบสถหลังใหม่แทนหลังเก่าที่คร่ำคร่าไปตามฤดูกาล และได้อัญเชิญพระบรมธาตุไปประดิษฐานไว้ ณ ที่แห่งนี้ 

พิธีอุปสมบทในประเทศจีน

พิธีอุปสมบทพระที่โบสถ์เมืองเชียงขาง มีพระภิกษุจากประเทศไทยร่วมเป็นสักขีพยานคือ พระอาจารยืพระครูประกาศพุทธพากย์ และ พระอาจารย์พระครูสิริธรรมวิเทศ พร้อมคณะสงฆ์ บวชพระจำนวน ๓ รูป ณ วัดเชียงขาง สาธารณรัฐประชาชนจีน