วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2554

อานาปานสติ Mindfulness of Breathing

วิสุทธิมรรค แปล ภาค 2 ตอน 1 หน้า 84 (Page 259) เริ่มเขียน 29-1-53
อานาปานสติ : Mindfulness of Breathing
เรียบเรียงเป็น ไทย-อังกฤษ โดย สมลักษณ์ วันโย

อานาปานสติกรรมฐานนั้นใด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรรเสริญไว้อย่างนี้ว่า
Now comes the description of the deveopment of mindfulness of breathing as a meditation subject.It has been recommentded by the Blessed One thus:


“ดูก่อนภิกษทั้งหลาย แม้อานาปานสติสมาธินี่แล บุคคลทำให้มี ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นธรรมละเมียดแท้ด้วย ประณีแท้ด้วย เป็นธรรมเครื่องพักอยู่อันละมุนละไมและเป็นสุขด้วย ยังธรรมอันเป็นบาปอกุศลทั้งหลาย ที่เกิดๆ ขึ้นให้หายลัลรำงับไปโดยพลันด้วย ดังนี้
‘And, buikkhus, this concentration through mindfulness of breathing, when developed and practised much, is both peaceful and sublime, it is an unadulterated blissful abiding, and it banishes at once and stills evil unprofitable thoughts as soon as they arise’

บาลีอุทเทศ : Text

แล้วตรัสจำแนกให้เป็นกรรมฐานมีวัตถุ(ลูกข้อ) 16 อย่างนี้ว่า
It has been described by the Blessed One as having sixteen bases thus:


“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติสมาธิ บุคคลทำให้มีอย่างไร ทำให้มากอย่างไร จึงเป็นธรรมละเมียดแท้ด้วย ประณีตแท้ด้วย เป็นเครื่องพักอันละมุนละไม และเป็นสุขด้วย ยังธรรมอันเป็นบาปอกุศลทั้งหลายที่เกิดๆ ขึ้นให้หายลับรำงับไปโดยพลันด้วย?
‘And how developed, bhikkhus, how practised much, is concentration through mindfulness of breathing both peaceful and sublime, and unadulterated blissful abiding, banishing at once and stilling evil unprofitable thoughts as soon as they arise?


“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่า หรือโคนไม้ หรือเรือนว่างก็ตาม นั่งคู้บรรลังก์ ตั้งกายให้ตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอคงมีสติหายใจออก คงมีสติหายใจเข้า (มีวัตถุ16 ข้อคือ)
‘Here, bhikkhus, a bhikkhu, gone to the forest or to the root of a tree or to an empty plac, sits down; having folded his legs crosswise, set his body erect, established mindfulness in front of him, ever mindful he breathes in, mindful he breathes out.

จตุกกะที่ 1 the first of four items

1 เธอหายใจออกยาวอยู่ ก็รู้ว่าเราหายใจออกยาว หรือ หายใจเข้ายาวอยู่ ก็รู้ว่าเราหายใจเข้ายาว
I Breathing in long, he knows: “ I breath in long; or breathing our long, he knows: “ I breathe out long”


2. เธอหายใจออกสั้นอยู่ ก็รู้ว่าเราหายใจออกสั้น หรือหายใจเข้าสั้นอยู่ ก็รู้ว่าเราหายใจเข้าสั้น
II Breathing in short, he knows: “ I breathe in short; or breathing out short, he knows: “ I breathe our short”.


3 เธอสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้ตลอดกายทั้งหมดหายใจออก สำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้ตลอดกายทั้งหมดหายใจเข้า
III He trains thus: “ I shall breathe in experiencing the whole body” he trains thus: “ I shall breathe out experiencing the whole body”.


4 สำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจออก สำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจเข้า
IV He trains thus: “ I shall breathe in tranquillizing the bodily formation”; he trans thus:” I shall breathe out tranquillizing the bodily formation”.

จตุกกะที่ 2 the second four items

5 สำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้ชัดซึ่งปีตีหายใจออก สำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้ชัดซึ่งปีตีหายใจเข้า
V He trains thus: “ I shall breathe in experiencing happiness”; he trains thus: “ I shall breathe out experiencing happiness”.


6 สำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้ชัดซึ่งสุขหายใจออก สำเหนียกว่า เราจักเป็นผุ้รู้ชัดซึ่งสุขหายใจเข้า
VI He trains thus:” I shall breathe in experiencing bliss”; he trains thus: I shall breathe out experiencing bliss”.


7 สำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้ชัดซึ่งจิตตสังขารหายใจออก สำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้ชัดซึ่งจิตตสังขารหายใจเข้า
VII He trains thus:” I shall breathe in experiencing the mental formation”; he trains thus: “ I shall breathe out experiencing the mental formation”.


8 สำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ระงับจิตตสังขารหายใจออก สำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ระงับจิตตสังขารหายใจเข้า
VIII He trains thus:” I shall breathe in tranquillizing the mental formation”: he trains thus:” I shall breathe our tranquillizing the mental formation”.

จตุกกะที่ 3 the third of four items.

9 สำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตหายใจออก สำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตหายใจเข้า
IX He trains thus:” I shall breathe in experiencing the [manner of] consciousness”; he trains thus:” I shall breathe our experiencing the [manner of ] consciousness”;


10 สำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ยังจิตให้บันเทิงหายใจออก สำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ยังจิตให้บันเทิงหายใจเข้า
X He trains thus:” I shall breathe in gladdening the [manner of] consciousness”: he trains thus: “ I shall breathe out gladdening the [manner of] consciousness”.


11 สำเหนียกว่า เราจักตั้งจิตมั่นหายใจออก สำเหนียกว่า เราจักตั้งจิตมั่นหายใจเข้า
XI He trains thus:” I shall breathe in concentrating the [manner of] consciousness”; he trains thus:” I shall breathe out concentrating the [manner of] consciousness”.


12 สำเหนียกว่า เราจักเปลื้องจิตหายใจออก สำเหนียกว่า เราจักเปลื้องจิตหายใจเข้า
XII He trains thus:” I shall breathe in liberating the [manner of] consciousness”; he trains thus:” I shall breathe out liberating the [manner of ] consciousness”.

จตุกกะที่ 4 the fourth of four items.

13 สำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงหายใจออก สำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงหายใจเข้า
XIII He trains thus: “ I shall breathe in contemplating impermanence”; he trains thus: I shall breathe out contemplating impermanence”.


14 สำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นความคลายไปหายใจออก สำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นความคลายไปหายใจเข้า
XIV He trains thus:” I shall breathe in contemplating fading away”; he trains thus: “ I shall breathe out contemplating fading away”.


15 สำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นความดับไปหายใจออก สำเหนียกว่า เราจักเป็นผุ้พิจารณาเห็นความดับไปหายใจเข้า
XV He trains thus: “ I shall breathe in contemplating cessation”; he trains thus: “ I shall breathe out contemplating cessation”.


16 สำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละทิ้งหายใจออก สำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละทิ้งหายใจเข้า ดังนี้
XVI He trains thus: “ I shall breathe in contemplating relinquishment”: he trains thus: “ I shall breathe out contemplating relinquishment”’


บัดนี้ มิเทศแห่งการเจริญอานาปานสติกรรมฐานนั้น มาถึงแล้วโดยลำดับ แต่เพราะนิเทศนั้น เมื่อกล่าวไปตามแนวคำบาลีนั่นแล จึงจะบริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง เพราะเหตุนั้น นิเทศในอานาปานสติกรรมฐานนั้น (ต่อไป) นี้ จึงเป็นนิเทศยึดคำบาลีเป็นเบื้องหน้า
The description [of development] is complete in all respects, however, only if it is given in due course after a commentary on the text. So, it is given here introduced by a commentary on the ]first part of the]text.





ไม่มีความคิดเห็น: