วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

มหาสติปัฏฐานสูตร มรรค


มรรค
กะตะมัญจะ ภิกขะเว                                        ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  อริยสัจ คือ
ทุกขะนิโรธะคามินีปะฏิปทา                            ทุกขะนิโรธคามินีปฏิปทา
อะริยะสัจจัง                                                     (ข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมเป็นที่ดับทุกข์) เป็นอย่างไร
อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค                  ทางอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์ ทางเดียวนี้แล
เสยยะถีทัง                                                       ทางนี้เป็นอย่างไร
สัมมาทิฏฐิน                                                    คือความเห็นชอบ
สัมมาสังกัปโป                                                 ความดำริชอบ
สัมาวาจา                                                         วิรัติเป็นเครื่องเจรจาชอบ
สัมมากัมมันโต                                                 วิรัติธรรมเป็นเครื่องกระทำชอบ
สัมมาอาชีโว                                                     วิรัติธรรมเป็นที่เลี้ยงชีพชอบ
สัมมาวายาโม                                                   ความพยายามชอบ
สัมมาสะติ                                                        ความระลึกชอบ
สัมมาสะมาธิ                                                    ความตั้งจิตมั่นชอบ
กะตะมา จะ ภิกขะเว สัมมาทิฏฐิ                      ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฏฐิ
(ความเห็นชอบ)เป็นอย่างไร?
ยัง โข ภิกขะเว ทุกเข ญาณัง                             ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความรู้ในทุกข์
ทุกขะสะมุทะโย ญาณัง ทุกขะนิโรโธ               ความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์
ญาณัง ทุกขะนิโรธะคามินิยา                           ความรู้ในข้อปฏิบัติให้ถึงธรรม
ปะฏิปะทาย ญาณัง                                          เป็นที่ดับทุกข์อันใดแล
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาทิฏฐิ                    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้ที่กล่าวว่าสัมมาทิฏฐิ
(ความเห็นชอบ)
กะตะโม จะ ภิกขะเว                                         ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
สัมมาสังกัปโป                                                 สัมมาสังกัปปะ( ความดำริชอบ)เป็นอย่างไร?
เนกขัมมะสังกัปโป                                           ความดำริในการออกบวช(คือออกจากกามารมณ์)
อัพพะยาสังกัปโป                                            ความดำริในความไม่พยาบาท
อะวิหิงสาสังกัปโป                                           ความดำริในความไม่เบียดเบียน
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว                                      ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้ที่กล่าวว่าสัมมาสังกัปปะ
สัมมาสังกัปโป                                                 (ความดำริชอบ)
กะตะมา จะ ภิกขะเว                                        ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาวาจา(วิรัติเป็นเครื่องเจรจาชอบ)
สัมาวาจา                                                         เป็นอย่างไร?
มุสาวาจา เวระมะณี                                         เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากกล่าวเท็จ
ผะรุสายะ วาจายะ เวระมะณี                            เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากวาจาหยาบคาย
สัมผัปปะลาปา เวระมะณี                                 เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากเขรจาสำราก เพ้อเจ้อ
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาวาจา                    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้ที่กล่าวว่าสัมมาวาจา
(วิรัติเป็นเครื่องเจรจาชอบ)
กะตะโม จะ ภิกขะเว                                         ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมากัมมันตะ
สัมมากัมมันโต                                                (วิรัติธรรมเป็นเครื่องกระทำชอบ) เป็นอย่างไร?
ปาณาติปาตา เวระมะณี                                   เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการฆ่าสัตว์
อะทินนาทานา เวระมะณี                                 เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการถือเอาสิ่งของ
ที่เจ้าของไม่ได้ให้
กาเมสุ มิจฉาจารา เวระมะณี                            เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากความประพฤติผิดในกาม
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว                                      ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้ที่กล่าวว่าสัมมากัมมันตะ
สัมมากัมมันโต                                                 (วิรัติธรรมเป็นเครื่องกระทำชอบ)
กะตะโม จะ ภิกขะเว                                         ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาอาชีวะ(วิรัติธรรมเป็นที่เลี้ยง
สัมมาอาชีโว                                                     ชีพชอบ) เป็นอย่างไร?
อิธะ ภิกขะเว อะริยะสาวะโก                            ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระอริยสาวกในธรรมวินัยนี้
มิจฉาอาชีวัง ปะหายะ                                      ละความเลี้ยงชีพผิดแล้ว
สัมมาอาชีเวนะ ชีวิกัง กัปเปติ                          ย่อมสำเร็จความเป็นอยู่ด้วยการเลี้ยงชีพชอบ
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาอาชีโว                 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้ที่กล่าวว่า สัมมาอาชีวะ
(วิรัติธรรมเป็นเครื่องเลี้ยงชีพชอบ)
กะตะโม จะ ภิกขะเว                                         ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาวายามะ(ความพยายามชอบ)
สัมมาวายาโม                                                   เป็นอย่างไร?
อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ                                            ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1อะนุปปันนานัง ปาปกานัง                             เพื่อจะยังอกุศลธรรมอันเป็นบาป
อะกุสะลานัง  ธัมมานัง อะนุปปาทายะ             ที่ยังไม่เกิดขึ้น ไม่ไห้เกิดขึ้น
ฉันทัง ชะเนติ วายะมะติ                                  ย่อมยังความพอใจให้บังเกิด ย่อมพยายาม
วิริยัง อาระภะติ                                                ย่อมปรารภความเพียร
จิตตัง ปัคคัณหาติ ปะทะหะติ                          ย่อมประคองจิตไว้
2 อุปปันนานัง ปาปะกานัง                              เพื่อจะละอกุศลธรรมอันเป็นบาป
อะกุสะลานัง  ธัมมานัง ปะหานายะ                  ที่เกิดขึ้นแล้ว
ฉันทัง ชะเนติ วายะมะติ                                  ย่อมยังความพอใจให้บังเกิด ย่อมพยายาม
วิริยัง อาระภะติ                                                ย่อมปรารภความเพียร
จิตตัง ปัคคัณหาติ ปะทะหะติ                          ย่อมประคองจิตไว้
3อะนุปปันนานัง กุสะลานัง ธัมมานัง              เพื่อจะยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น
อุปาทายะ                                                         ไห้เกิดขึ้น
ฉันทัง ชะเนติ วายะมะติ                                  ย่อมยังความพอใจให้บังเกิด ย่อมพยายาม
วิริยัง อาระภะติ                                                ย่อมปรารภความเพียร
จิตตัง ปัคคัณหาติ ปะทะหะติ                          ย่อมประคองจิตไว้
4 อุปปันนานัง กุสลานัง  ธัมมานัง                   เพื่อความตั้งอยู่ ไม่ให้สาบศูนย์
ฐิติยา อะสัมโมสายะ ภิยโยภาวายะ                   เจริญยิ่ง ไพบูลย์มีขึ้นเต็มเปี่ยม
เวปุลลายะ ภาวะนายะ ปาริปูริยา                     แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
ฉันทัง ชะเนติ วายะมะติ                                  ย่อมยังความพอใจให้บังเกิด ย่อมพยายาม
วิริยัง อาระภะติ                                                ย่อมปรารภความเพียร
จิตตัง ปัคคัณหาติ ปะทะหะติ                          ย่อมประคองจิตไว้
 อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว                                     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้ที่กล่าวว่า สัมมาวายามะ
สัมมาวายาโม                                                   (ความพยายามชอบ)
กะตะมา จะ ภิกขะเว สัมมาสะติ                       ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาสติ
(ความระลึกชอบ)เป็นอย่างไร?
อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ                                            ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ                             ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนือง  อยู่
อาตาปี  สัมปะชาโน สะติมา                             มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อน มีสัมปชัญญะ มีสติ
วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง                  พึงนำอภิชฌาและโทมนัส(ความยินดีและความยินร้าย)
ในโลกเสียให้พินาศ
2 เวทะนาสุ  เวทะนานุปัสสี วิหะระติ               ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนือง  อยู่
อาตาปี  สัมปะชาโน สะติมา                             มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อน มีสัมปชัญญะ มีสติ
วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง                  พึงนำอภิชฌาและโทมนัส(ความยินดีและความยินร้าย)
ในโลกเสียให้พินาศ
3จิตเต จิตตานุปัสสี วิหะระติ                           ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตเนือง  อยู่
อาตาปี  สัมปะชาโน สะติมา                             มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อน มีสัมปชัญญะ มีสติ
วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง                  พึงนำอภิชฌาและโทมนัส(ความยินดีและความยินร้าย)
ในโลกเสียให้พินาศ
4ธัมเมสุ  ธัมมานุปัสสี วิหะระติ                       ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรมมเนือง  อยู่
อาตาปี  สัมปะชาโน สะติมา                             มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อน มีสัมปชัญญะ มีสติ
วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง                  พึงนำอภิชฌาและโทมนัส(ความยินดีและความยินร้าย)
ในโลกเสียให้พินาศ
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาสติ                       ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้ที่กล่าวว่าสัมมาสติ
(ความระลึกชอบ)
กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมาสมาธิ                     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาสมาธิ
(ความตั้งจิตมั่นชอบ) เป็นอย่างไร?
อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ                                            ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
วิวิจเจวะ กาเมหิ วิวิจจะ อะกุสะเลหิ ธัมเมหิ     สงัดแล้วจากกามารมณ์ สงัดแล้วจากธรรมที่เป็นอกุศล
สะวิตักกัง สะวิจารัง                                         เข้าถึงปฐมฌาน ( ความเพ่งที่ )
วิเวกะชัมปีติสุขัง ปะฐะมัง นัง                         ประกอบด้วยวิตกและวิจาร มีปีติและสุข
อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ                                    อันเกิดจากวิเวก
วิตักกะวิจารานัง วูปะสะมา                             เพราะความที่วิตกและวิจาร(ทั้ง ) ระงับลง
อัชฌัตตัง สัมปะสาทะนัง เจตะโส                    เข้าถึงทุติยะฌาน ( ความเพ่งที่ )
เอโกทิภาวัง อะวิตักกัง อะวิจารัง                      เป็นเครื่องผ่องใสใจ ภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอก
สะมิชัมปีติ สุขัง ทุติยัง  ฌานัง                         ผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร
อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ                                    มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ
ปีติยา จะ วิราคา                                              อนึ่ง เพราะความที่ปีติวิราศ( ปราศ) ไป
อุเปกขะโก จะ วิหะระติ สะโต จะ                     ย่อมเป็นผู้เพิกเฉยอยู่ และมีสติสัมปชัญญะ
สัมปะชาโนสุขัญจะ กาเยนะ ปะฏิสังเวเทติ      และเสวยสุขด้วยกาย
ยันตัง อะริยา อาจิกขันติ                                  อาศัยคุณคืออุเบกขา สติ สัมปะชัญญะ และเสวยสุข
อุเปกขะโก สะติมา สุขะวิหารีติ                        อันใดเล่าเป็นเหตุ พระอริยเจ้าทั้งหลายย่อม
กล่าวสรรเสริญผู้นั้น ว่าเป็นผู้อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข
ตติยัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ               เข้าถึงตติยฌาน (ความเพ่งที่ ๓)
สุขัสสะ จะ ปะหานา                                        เพราะละสุขเสียได้
ทุกขัสสะ จะ ปะหานา                                      เพราะละทุกข์เสียได้
ปุพเพวะ โสมะนัสสะโทมะนัสสานัง                เพราะความที่โสมนัสและโทมนัส(ทั้ง๒)
อัตถังคะมา                                                      ในกาลก่อนอัสดงค์ดับไป
อะทุกขะมะสุขัง อุเปกขาสะติปาริสุธิง             เข้าถึงจตุตถฌาน (ความเพ่งที่ ) ไม่มีทุกข์
ไม่มีสุข มีแต่
จะตุตถัง  ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ         มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิเพราะอุเบกขา
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาสมาธิ                   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้ที่กล่าวว่า สัมมาสมาธิ
( เพราะตั้งจิตมั่นชอบ)
อิทัง วุจจะติ ภิกขะเว                                       ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้ที่กล่าวว่า
อริยสัจคือทุกขนิโรธคามินี
ทุกขะนิโรธะคามินีปะฏิปะทา อะริยสัจจัง       ปฏิปทา ( ข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมเป็นที่ดับทุกข์)
อิติ  อัชฌัตตัง วา  ธัมเมสุ                                 ดังนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม
ธัมมานุปัสสี วิหะระติ                                      เป็นภายในบ้าง
พะหิทธา วา ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ      ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมเป็นภายนอกบ้าง
อัชฌัตตะพะหิทธา วา ธัมเมสั                          ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายใน
ธัมมานุปัสสี วิหะระติ                                      ทั้งภายนอกบ้าง
สะมุทะยะธัมมานุปัสสี วา  ธัมเมสุ วิหะระติ    ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง
วะยะธัมมานุปัสสี วา ธัมเมสุ วิหะระติ             ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือความเสื่อมไปในธรรมบ้าง
สะมุทะยะวะยะธัมมานุปัสสี วา                       ย่อมพิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้น
ธัมเมสุ วิหะระติ                                               ทั้งความเสื่อมไปในธรรมบ้าง
อัตถิ ธัมมาติ วา ปะนัสสะ สะติ                        ก็หรือสติว่าธรรมมีอยู่ เข้าไป
ปัจจุปัฏฐิตา โหติ                                             ตั้งอยู่เฉพาะหน้าแก่เธอนั้น
ยาวะเทวะ ญาณะมัตตายะ                               แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้
ปะติสสะติมัตตายะ                                          แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก
อะนิสสิโต จะ วิหะระติ                                    เธอย่อมไม่ติดอยู่ด้วย
นะ จะ กิญจิ โลเก  อุปาทิยติ                             ย่อมไม่ยึดถืออะไรๆ ในโลกด้วย
เอวัมปิ โข ภิกขะเว ภิกขุ ธัมเมสุ                       ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรม
ธัมมานุปัสสี วิหะระติ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ      ในธรรมคืออริยสัจ อย่างนี้แล
สัจจะปัพพัง                                                    จบข้อกำหนดด้วยสัจจะ
ธัมมานุปัสสนาสะติปัฏฐานัง                           จบธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

ไม่มีความคิดเห็น: