วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การอุปสมบท เป็นพระภิกษุ


การอุปสมบท เป็นพระภิกษุ
            ผู้ที่จะบวชเป็นพระภิกษุได้นั้น  เบื้องต้นต้องบวชเป็นสามเณรก่อนจึงจะเข้าสู่การอุปสมบทเป็นพระอีกต่อหนี่ง พระนั้นถือศีลทั้งหมด ๒๒๗ ข้อ ปรับโทษหนักเบาตามสิกขาบทที่ล่วงละเมิด มี ข้อที่มีโทษหนักที่สุด เรียกว่าอาบัติปาราชิก พระรูปใดทำผิดต้องขาดจากความเป็นภิกษุโดยอัตโนมัติ แม้จะกลับมาบวชอีกก็ไม่ได้ คือ
ห้ามเสพเมถุน (ร่วมประเวณีกับบุคคลอี่น)
ฆ่าคนตาย ( โดยเจตนา)
ลักขโมยเอาทรัพย์ของผู้อื่น มีราคาตั้งแต่ บาทขึ้นไป
       พุดอวดคุณวิเศษที่ตนไม่มี เพื่อหลอกลวงคนอื่นหากิน
ข้อนี้ ภิกษุต้องระวังให้มาก เพราะวาจะรู้หรือไม่รู้ ผิดเข้าต้องขาดจากความเป็นพระเหมือนกัน

สิ่งที่ต้องจัดเตรียมในการอุปสมบท
       ไตรครอง ชุด (สบง จีวร สังฆาฏิ ประคตเอว)
     บาตร(พร้อมฝาและเชิง) ถลกบาตร สายโยก และ ถุงตะเครียว
      มีดโกน พร้อมหินลับมีด
      เข็มเย็บผ้า พร้อมกล่อง และด้าย
      เครื่องกรองน้ำ (ธมกรก)
หมายเหตุ ข้อ ๑-๕ นี้ ขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ได้ เพราะจัดเป็นอัฏฐบริขาร บริขาร ๘ ของที่จำเป็นที่พระต้องมี
       จีวร สบง อังสะ ผ้าอาบน้ำ ไว้ใช้สำรองอย่างละผืน
      เสื่อ หมอน มุ้ง ผ้าห่ม
      ผ้าเช็ดหน้า ตาลปัตร ร่ม รองเท้า ย่าม
       ช้อมส้อม จาน ผ้าเช็ดมือ กระติกน้ำ กาต้มน้ำ แก้วน้ำ
๑๐  กระโถน
๑๑  ขันอาบน้ำ สบู่ ยาสีฟัน แปรงสีฟัน ผ้าเช็ดตัว
๑๒อาสนะ (ผ้าปูนั่ง)
การเตรียม
        ผ้าไตรให้วางบนพานแว่นฟ้า มีดโกน หินลับมีด กล่องเข็ม ธมกรกให้ใส่ในบาตร นำบาตรสวมในถุงตะเครียว นอกจากนี้
เตรียมอุปสมบท
กุลบุตรผู้มีศรัทธามุ่งอุปสมบท พึงรับผ้าไตร อุ้มประณมมือเข้าไปหาสังฆสันนิบาต  วางผ้าไตรไว้ข้างตัวด้านซ้าย รับเครื่องสักการะถวายพระอุปัชฌาย์ แล้วกราบลงด้วยเบญจางคประดิษฐ์  ครั้ง แล้วนั่งคุกเข่า อุ้มผ้าไตรประณมมือเปล่งวาจา ถึงสรณะและขอบรรพชาด้วยคำ ดังต่อไปนี้

เอสาหัง ภันเต, สุริระปะรินิพพุตัมปิ, ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง  คัจฉามิ, ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ, ละเภยยาหัง ภันเต, ตัสสะ ภะคะวะโต, ธัมมะวินะเย ปัพพัชชัง, ละเภยยัง อุปะสัมปะทังฯ
ทุติยัมปาหัง ภันเต, สุริระปะรินิพพุตัมปิ, ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง  คัจฉามิ, ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ, ละเภยยาหัง ภันเต,ตัสสะ ภะคะวะโต, ธัมมะวินะเย ปัพพัชชัง, ละเภยยัง อุปะสัมปะทังฯ
ตะติยัมปาหัง ภันเต, สุริระปะรินิพพุตัมปิ, ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง  คัจฉามิ, ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ, ละเภยยาหัง ภันเต,ตัสสะ ภะคะวะโต, ธัมมะวินะเย ปัพพัชชัง, ละเภยยัง อุปะสัมปะทังฯ

(ถ้าบวชเป็นสามเณร  ยกเว้นคำว่า ละเภยยัง อุปะสัมปะทัง  ออกเสีย)

            อะหัง ภันเต, ปัพพัชชัง ยาจามิ, อิมานิ กาสายานิ วัตถานิ คะเหตฺวา, ปัพพาเชถะ มัง ภันเต, อนุกัมปัง อุปาทายะฯ
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต, ปัพพัชชัง ยาจามิ, อิมานิ กาสายานิ วัตถานิ คะเหตฺวา, ปัพพาเชถะ มัง ภันเต, อนุกัมปัง อุปาทายะฯ
ตะติยัมปิ  อะหัง ภันเต, ปัพพัชชัง ยาจามิ, อิมานิ กาสายานิ วัตถานิ คะเหตฺวา, ปัพพาเชถะ มัง ภันเต, อนุกัมปัง อุปาทายะฯ
            ลำดับนั้น  พระอุปัชฌาย์รับเอาผ้าไตรจากผู้มุ่งบรรพชาวางไว้ตรงหน้าตัก แล้วกล่าวสอนถึงพระรัตนตรัยเป็นต้น และ บอก ตะจะปัญจะกะกัมมัฏฐาน ให้ว่าตามไปทีละบท โดยอนุโลมและปฏิโลม ดังนี้
            เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ    (อนุโลม)
            ตะโจ ทันตา นะขา โลมา เกสา   (ปฏิโลม)
            ครั้นสอนแล้ว พระอุปัชฌาย์ชักอังสะออกจากไตร สวมให้แล้ว สั่งให้ออกไปครองไตรจีวรตรมระเบียบ ครั้นเสร็จแล้วเข้าไปหาพระอาจารย์ รับเครื่องสักการะถวายท่านแล้ว  กราบ หน นั่งคุกเข่า ประณมมือ เปล่งวาจาขอสรณะและศีลดังนี้
            อะหัง ภันเต, สะระณะสีลัง ยาจามิ
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต, สะระณะสีลัง ยาจามิ
ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต, สะระณะสีลัง ยาจามิ
            ลำดับนั้น  พระอาจารย์กล่าวคำนมัสการนำให้ผู้มุ่งบรรพชา ว่าตามไปดังนี้
            นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ       ( หน)
            ต่อแต่นั้น ท่านจะสั่งด้วยคำว่า
            เอวัง วะเทหิ   หรือ ยะมะหัง วะทามิ, ตัง วะเทหิ
            พึงรับว่า
            อามะ ภันเต
            ครั้นแล้ว ท่านนำให้เปล่งวาจาว่าสรณคมน์ตามไปทีละพากย์ดังนี้
            พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง  สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
            เมื่อจบแล้วท่านจะบอกว่า
            ติสะระณะคะมะณัง นิฏฐิตัง
            พึงรับว่า
            อามะ ภันเต
            ลำดับนั้นพระอาจารย์จะบอกให้รู้ว่า การบรรพชาเป็นสามเณรสำเร็จด้วยไตรสรณะคมน์เพียงเท่านี้  ต่อจากนี้จึงสมาทานสิกขาบททั้ง ๑๐ ข้อ ดังต่อไปนี้
            ปาณาติปาตา เวระมะณี
            อทินนาทานา เวระมะณี
              อะพฺรัหฺมะจะริยา เวระมะณี
            มุสาวาทา เวระมะณี
            สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี
            วิกาละโภชะนา เวระมะณี
            นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกทัสสะนา เวระมะณี
            มาลาคันธะวิเลปะนาระณะมัณฑะนะวิภูสะนัฏฐานา เวระมะณี
            อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวระมะณี
            ๑๐  ชาตะรูปะคะชะตะปะฏิคคะหะณา เวระมะณี
            ลำดับนั้นท่านจะว่า
            อิมานิ ทะสะ สิกชาปะทานิ สะมาทิยามิ     (ให้ว่าตาม หน)
            ลำดับนั้น สามเณรพึงรับบาตร อุ้มเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์ในสังฆสันนิบาต วางไว้ข้างตัวด้านซ้าย รับเครื่องสักการะถวายท่าน แล้วกราบ หน นั่งคุกเข่า ประณมมือ กล่าวคำขอนิสัย ว่าดังนี้
            อะหัง ภันเต, นิสสะยัง  ยาจามิ
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต, นิสสะยัง  ยาจามิ
ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต, นิสสะยัง  ยาจามิ
จากนั้นให้ว่า
อุปัชฌาโย เม ภันเต โหหิ      ( ว่า หน)
พระอุปัชฌาย์กล่าวว่า  โอปายิกัง
สามเณรรับว่า              สาธุ ภันเต
พระอุปัชฌาย์กล่าวว่า ปฏิรูปัง
สามเณรรับว่า             สาธุ ภันเต
พระอุปัชฌาย์กล่าวว่า              ปาสาทิเกนะ สัมปาเทหิ
สามเณรรับว่า                          สาธุ ภันเต
แต่นั้นสามเณรพึงกล่าวรับเป็นภาระธุระต่อท่านดังนี้
อัชชะตัคเคทานิ เถโร, มัยหัง ภาโร, อะหัมปิ เถรัสสะ ภาโร   (ว่า หน)
กราบลง ครั้ง ลำดับนั้น พระอุปัชฌาย์แนะนำสามเณรไปตามระเบียบแล้ว พระกรรมวาจาจารย์ เอาสายบาตรคล้องตัวสามเณร  พร้อมบอกบาตร และ จีวร สามเณรรับว่า อามะ ภันเต ดังนี้
คำบอกบาตรจีวร                                                                 คำรับ
อะยันเต ปัตโต                                                                      อามะ ภันเม
อะยัง สังฆาฏิ                                                                      อามะ ภันเต
อะยัง อุตตะราสังโค                                                             อามะ ภันเต
อะยัง อันตะระวาสะโก                                                         อามะ ภันเต
ต่อจากนั้น พระอาจารย์จะบอกให้ออกไปยืนข้างนอกว่า
คัจฉะ อะมุมหิ โอกาเส ติฏฐาหิ
            พึงถอยลุกขึ้นเดินไปยืนอยู่ในที่ที่กำหนดไว้ พระอาจารย์ท่านจะสวดสมมติตนเป็นผู้สอนซ้อม แล้วออกไปสวดถามอันตรายิกธรรม พังรับว่า  นัตถิ ภันเต  หน อามะ ภันเต หน ดังนี้
            ถาม                                                                                         ตอบ
กุฏฐัง            โรคเรื้อน                                                          นัตถิ ภันเต    ไม่ใช่ครับ
คัณโฑ         ฝี                                                                      นัตถิ ภันเต    ไม่ใช่ครับ
กิลาโส          ขี้กลาก                                                                        นัตถิ ภันเต    ไม่ใช่ครับ
โสโส            โรคมองคร่อ(มีเสมหะแห้งอยู่ในลำหลอดปอด)นัตถิ ภันเต   ไม่ใช่ครับ
อะปะมาโร   โรคลมบ้าหมู                                                   นัตถิ ภันเต     ไม่ใช่ครับ
มะนุสโสสิ     เป็นมนุษย์                                                        อามะ ภันเต     ใช่ครับ
ปุริโสสิ         เป็นบุรุษคือเพศชาย(ไม่ใช่หญิงหรือกะเทย)    อามะ ภันเต      ใช่ครับ
ภุชิสโสสิ      เป็นไท ไม่ใช่ทาส                                            อามะ ภันเต      ใช่ครับ
  อะนะโนสิ๊    ไม่มีหนี่สิน                                                      อามะ ภันเต      ใช่ครับ
๑๐ นะสิ๊ ราชะภะโต      ไม่ติดราชการ                                      อามะ ภันเต      ใช่ครับ
๑๑  อะนุญญาโตสิ๊ มาตาปิตูหิ มารดาบิดาอนุญาตแล้ว           อามะ ภันเต      ใช่ครับ
๑๒ ปะริปุณณะวีสะติ วัสโสสิ๊ อายุครบ 20 แล้ว                      อามะ ภันเต      ใช่ครับ
๑๓ ปะริปุณณันเต ปัตตะจีวะรัง  มีบาตร จีวร ครบแล้ว          อามะ ภันเต      ใช่ครับ
๑๔ กินนาโมสิ๊  ชื่ออะไร(ฉายาอะไร?)                                      อะหัง ภันเต ..... นามะ  ผมชื่อ..........
๑๕ โก นามะ เต อุปัชฌาโย      พระอุปัชญาย์ชื่ออะไร?            อุปัชฌาโย เม ภันเต อายัสฺมา.... นามะ
                                                                                    พระอุปัชญย์ของผมชื่อ..................
ช่องที่เว้นว่างไว้ เพื่อไว้ใส่ฉายาผู้ที่จะอุปสมบท และฉายาของพระอุปัชฌาย์  ครั้นสวดซ้อมแล้ว ท่านกลับเข้ามาสวดขอเรียกอุปสัมปทาเปกขะเข้ามา  ให้เข้านั่งในสังฆสันนิบาต  กราบตรงหน้าพระอุปัชฌาย์ ครั้ง แล้วนั่งคุกเข่า ประณมมือ เปล่งวาจาขออุปสมบท ดังนี้
สังฆัมภันเต, อุปะสัมปะทัง ยาจามิ, อุลลุมปะตุ มัง ภันเต, สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะฯ
ทุติยัมปิ ภันเต, สังฆัง  อุปะสัมปะทัง ยาจามิ, อุลลุมปะตุ มัง ภันเต, สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะฯ
ตะติยัมปิ ภันเต, สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจามิ, อุลลุมปะตุ มัง ภันเต, สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะฯ
ถ้าบวชพร้อมกันหลายองค์ ให้เปลี่ยน ยาจามิ เป็น ยาจามะ เปลียน มัง เป็น โน จากนั้น พระอุปัชฌาย์กล่าวเผดียงสงฆ์ (กล่าวเชื้อเชิญ) และพระอาจารย์สวดสมมติตนถามอันตรายิกธรรม อุปสัมปทาเปกขะ พึงรับว่า นัตภิ ภันเต หน
 อามะ ภันเต หน ตอบชื่อตน และชื่อพระอุปัชฌาย์ เหมือนกับคราวแรก 
            แต่นั้น พึงนั่งฟังสวดกรรมวาจาอุปสมบทไปจนจบ  ครั้งจบแล้ว  ท่านเอาบาตรออกจากตัว แล้วกราบ หน นั้งพับเพียบประณมมือ  ฟังพระอุปัชฌาย์บอกอนุศาสน์ไปจนจบแล้วรับว่า
            อามะ ภันเต
            แล้วกราบ หน ถวายเครื่องไทยธรรม รับพร กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลที่เกิดจากการบวช จบวีธีอุปสมบทแต่เพียงเท่านี้

ไม่มีความคิดเห็น: