ฟังเสียงสวดแบบอินเดีย
กรณียเมตตสูตร
กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ กิจนั้นใด อันพระอริยเจ้า บรรลุบทอันระงับกระทำแล้ว
ยันตัง สันตัง ปะทัง อภิสะเมจจะ กิจนั้นอันกุลบุตรผู้ฉลาดในประโยขน์พึงกระทำ
สักโก อชู สุหุชู จะ กุลบุตรนั้นพึงเป็นผู้อาจหาญและซื่อตรงดี
สุวะโจ จุสสะ มุทุ อะนะติมานี เป็นผู้ว่าง่าย อ่อนโยน ไม่มีอติมานะ
สันตุสสะโก จะ สุภะโร จะ เป็นผู้สันโดษเลี้ยงง่าย
อัปปะกิจโจ จะ สัลละหุกะวุตติ เป็นผู้มีกิจธุระน้อยประพฤติเบากายเบาจิต
สันตินทริโย จะ นิปะโก จะ มีอินทรีย์อันระงับแล้วมีปัญญา
อัปปะคัพโภ กุเลสุ อะนะนุคิทโธ เป็นผู้ไม่คะนอง ไม่พัวพันในสกุลทั้งหลาย
นะ จะ ขุททัง สะมาจะเร กิญจิ วิญญูชนติเตียนชนทั้งหลายได้ด้วยกรรมอันใด
เยนะ วิญญู ปะเร อุปะวะเทยยุง ไม่พึงประพฤติกรรมอันนั้นเลย(พึงแผ่ไมตรีจิต
สุขิโน วา เขมิโน โหนตุ ไปในหมู่สัตว์ว่า)ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้มีสุข
สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา มีความเกษม มีตนถึงความสุขเถิด
เย เกจิ ปาณะ ภูตัตถิ สัตว์มีชีวิตทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่
ตะสา วา ถาวะรา วา อะนะวะเสสา ยังเป็นผู้สะดุ้ง(คือมีตัณหา)หรือเป็นผู้มั่นคง
(ไม่มีตัณหา)ทั้งหมดไม่เหลือ
ทีฆา วา เย มะหันตา วา เหล่าใดยาว ใหญ่
มัชฌิมา รัสสะกา อณุกะถูลา ปานกลาง สั้น หรือผอมพี
ทิฏฐา วา เย จะ อะทิฏฐา เหล่าใดทีเราเห็นแล้วหรือมิได้เห็นเหล่าใด
เย จะ ทุเร วะสันติ อะวิทูเร อยู่ในที่ไกลหรือไม่ไกล
ภูตา วา สัมภะเวสี วา ที่เกิดแล้วหรือกำลังแสวงหาภพก็ดี
สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา ขอสัตว์ทั้งปวงเหล่านั้น จงเป็นผู้มีตนถึงความสุขเภิด
นะ ปะโร ปะรัง นิกุพเพถะ สัตว์อื่นไม่พึงข่มเหงสัตว์อื่น
นาติมัญเญถะ กัตถะจิ นัง กิญจิ อย่าพึงดูหมื่นอะไรๆ เขาในที่ไรๆ เลย
พะยาโรสะนา ปฏิฆะ สัญญา ใม่ควรปรารถนาทุกข์แก่กันละกันเพราะความ
นาญญะมัญญัสสะ ทุกขะมิจเฉยยะ กริ้วโกรธและความคุ้มแค้น
มาตา ยะถา นิยัง ปุตตัง มารดาถนอมลุกคนเดียวผู้เกิดในตน
อายุสา เอกะปุตตะมนุรักเข ย่อมพร่าชีวิตได้ ฉันใด
เอวัมปิ สัพพะภูเตสุ พึงเจริญเมตตามีในใจ
มานะ สัมภาวะเย อะปะริมานัง ไม่มีประมาณในสัตว์ทั้งปวง แม้ฉันนั้น
เมตตัญจะ สัพพะโลกัสมิง บุคคลพึงเจริญเมตตามีในใจ
มานะสัมภาวะเย อะปะริมานัง ไม่มีประมาณไปในโลกทั้งสิ้น
อุทธัง อะโธ จะ ติริยัญจะ ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องเฉียง
อะสัมพาธัง อะเวรัง อะสะปัตตัง เป็นธรรมอันไม่คับแคบ ไม่มีเวร ไม่มีศัตรู
ติฏฐัญจะรัง นิสินโน วา ผู้เจริญเมตตาจิตนั้น ยืนอยู่ก็ดี เดินไปก็ดี นั้งแล้วก็ดี
สะยาโน วา ยาวะตัสสะ วิคะตะมิทโธ นอนแล้วก็ดี เป็นผู้ปร่าศจากความง่วงนอน
เอตัง สะติง อะธิฏเฐยยะ เพียงใด ก็ตั้งสติอันนันได้เพียงนั้น
พฺรหมะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุ บัณฑิตทั้งหลายกล่าวกกิริยาอันนี้ว่า
เป็นพรหมวิหารในพระศาสนานี้
ทิฏฐิญจะ อะนะปะคัมมะ บุคคลทีมีเมตตาไม่เข้าถึงทิฏฐิ เป็นผู้มีศีล
ทัสสะเนนะ สัมปันโน ถึงพร้อมด้วยทัสนะ(คือพระโสดาปัตติมรรค)
กาเมสุ วิเนยยะ เคธัง นำความหมกมุ่นในกามทั้งหลายออก
นะ หิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรติตี ย่อมไม่เข้าถึงความนอน(เกิด)ในครรภ์อีกโดยแท้ทีเดียวแล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น