วันอังคารที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2556

สนใจแต่ในคำบริกรรมของตน

สนใจแต่ในคำบริกรรมของตน

คำบริกรรมสำคัญมาก เพราะถ้าหลงลืมคำบริกรรมแล้ว การภาวนาก็จะไม่มีผลทันที ดังที่ท่านกล่าวไว้ใน”ปฏิปทาพระธุดงค์กัมมัฏฐาน” ว่า
“ ขณะนึกคำบริกรรมภาวนาที่เป็นความถูกต้อง ท่านนักภาวนาควรสนใจกับคำบริกรรมของตน โดยเฉพาะในขณะนั่งบริกรรมภาวนาไม่ควรเป็นกังวลกับท่านั่งที่กำหนดไว้ถูกต้องแต่ต้นแล้ว  คือขณะที่กำลังภาวนาที่กำลังทำความกำหนดจดจ่ออยู่กับงานที่ทำนั้น  กายอาจจะเอียงหน้าเอียงหลังเอียงซ้ายเอียงขวาไปบ้าง เพราะขาความสนใจกับกาย  เวลานั้นมีความสนใจกับการภาวนาโดยเฉพาะ ดังนั้น แม้กายจะเอียงไปบ้างก็ตาม  แต่จิตขออย่าให้เอียงไปจากอารมณ์ภาวนาเป็นการดี  เพราะจุดสำคัญที่ต้องการจริงๆ อยู่กับภาวนา ถ้าจิตมากังวลอยู่กับกายเรื่อยๆ กลัวจะเอนหน้าเอียงหลัง ทำให้จิตเผลอตัวจากการภาวนา ไม่อาจเข้าสู่ความละเอียดเท่าที่ควรได้ตามกำลังของตน

เพื่อให้จิตได้ทำหน้าที่เต็มความสามารถของตนในเวลานั้นจึงไม่ควรกังวลกับกายภายนอก แต่ควรทำความจดจ่อต่อคำภาวนาอย่างเดียว  จนจิตสงบและรู้เหตุผู้ผลของตนได้ตามความมุ่งหมาย  แม้ขณะจิตสงบรวมลงสู่ภวังค์คือที่พักผ่อน ตัวหมดความรู้สึกกับสิ่งภายนอกมีกายเป็นต้นก็ตาม เวลาจิตถอนขึ้นมาแล้วเห็นกายเอียงไปในลักษณะต่างๆ  ก็ไม่ควรสงสัยข้องใจว่ากายนั้นไม่เที่ยงตรงตามที่กำหนดไว้ การกังวลทางกายและกังวลทางใจ  นอกจากก่อความวุ่นวายให้แก่จิตที่ไม่รู้หน้าที่ของตนแล้ว ผลที่จะพึงได้รับในเวลานั้นจึงไม่มีอะไรปรากฏยิ่งไปกว่า กายกับจิตที่ยุ่งกันในเวลาภาวนาโดยไม่รู้สึกตัว จึงควรทำความเข้าใจไว้แต่ขณะเริมลงมือภาวนา”

ไม่มีความคิดเห็น: