วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

หลักการภาวนาเบื้องต้น๓


วิธีการกำหนดรู้ลม      
ปล่อยลมตามสบาย ทำใจให้นิ่ง ๆ ไว้ที่ลมหายใจ        เข้าออกที่มีในช่องจมูก เมื่อลมออก อย่าส่งจิตออกตามลม  เมื่อลมเข้า อย่าส่งจิตเข้าตามลมทำความรู้สึกอย่างกว้างขวางเบิกบาน แต่อย่าสะกดจิตให้มากเกินไป ให้ทำใจสบายๆ เหมือนเราหายใจออกไปในอากาศโปร่งฉะนั้นทำจิตให้นิ่งอยู่เหมือนเสาที่ปักไว้ริมฝั่งทะเลน้ำทะเลขึ้น เสาก็ไม่ขึ้นตาม น้ำทะเลลง เสาก็ไม่ลงตาม                     
หยุดคำบริกรรมภาวนา
เมื่อทำจิตนิ่งสงบได้ในขั้นนี้แล้วให้หยุดคำภาวนา พุทโธ นั้นเสีย กำหนดความรู้สึกไว้เฉพาะลมหายใจแล้วค่อยขยับจิตเลื่อนเข้าไปตามกองลม คือ กองลมสำคัญๆ อันจะทำให้เกิดความรู้สึกต่างๆเช่น ทิพพจักขุ ตาทิพย์,ทิพพโสต หูทิพย์ฐ, เจโตปริยญาณ รู้ใจคนอื่น, ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติได้,    จุตูปปาตญาณ รู้จักความเกิดตายแห่งสัตว์ต่างๆ ,นานาธาตุวิชชา วิชาความรู้ในเรืองของธาตุต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องถึงอัตภาพร่างกาย อันจะเป็นประโยชน์แก่ร่างกาย                                                     
ประสานกองลม
ธาตุเหล่านี้ย่อมเกิดขึ้นจากฐานของลมหายใจ            
ฐานที่ ๑
ให้ตั้งจิตไว้ที่จมูก แล้วค่อยเลื่อนไปกลางหน้าผากอันเป็นฐานที่ ๒                           
ฐานที่ ๒
ทำความรู้สึกอย่างกว้างขวาง ทำจิตให้นิ่งไว้ที่หน้าผากแล้วกลับมาที่จมูก ให้เพ่งขึ้นลงในระหว่างจมูกกับหน้าผาก รายกับคนขึ้นภูเขาฉะนั้น ทำให้ได้สัก ๗ เที่ยวแล้วก็นิ่งไว้ที่หน้าผาก อย่าให้จิตลงมาที่จมูกอีก ต่อนั้นให้ตามเข้าไปในฐานที่ ๓    
ฐานที่ ๓
ฐานที่ ๓ คือกลางกระหม่อมข้างนอก แล้วหยุดอยู่กลางกระหม่อม ทำความรู้สึกอย่างกว้างขวาง สูดลมในอากาศเข้าไปในศีรษะ กระจายลมครู่หนึ่ง จึงกลับลงมาที่หน้าผาก กลับไป กลับมา ในระหว่างหน้าผากกับกลางกระหม่อมอยู่เช่นนี้ สัก ๑๐ เที่ยว แล้วก็นิ่งอยู่กลางกระหม่อม      
ฐานที่ ๔
ตามเข้าไปในฐานที่ ๔ อีกคือ ลงไปในสมองกลางกะโหลกศีรษะ ให้นิ่งอยู่สักครู่หนึ่ง จึงเลื่อนจิตให้ออกไปที่กลางกระหม่อมข้างนอก กลับไป กลับมาติดต่อกันระหว่างกลางกระสมองกับกลางกระหม่อมข้างนอก แล้วก็นิ่งอยู่ที่สมอง ทำความรู้สึกให้กว้างขวาง กระจายลมอันละเอียดจากสมองให้ลงไปเบื้องต่ำ
เมื่อทำจิตมาถึงตอนนี้แล้ว บางทีก็จะเกิดนิมิตขึ้นเป็นต้นว่า รู้สึกขึ้นในศีรษะ แลเห็นหรือรู้สึกเสียวๆ ให้เย็นๆ ร้อนๆ ให้เป็นไอเป็นหมอกสลัวๆ ขึ้น บางทีก็มองเห็นกะโหลกศีรษะของตัวเอง ถึงอย่างนั้นก็อย่าได้มีความหวั่นไหวไปตามนิมิตที่ปรากฏ ถ้าเราไม่ปรารถนาทีจะให้เป็นเช่นนั้น ก็จะสูดลมเข้าไปยาวๆ ถึงหัวอก นิมิตเหล่านั้นก็จะหายไปทันที เมื่อเห็นนิมิตอันใดอันหนึ่งเกิดขึ้นแล้วให้ตั้งสติรู้อยู่ทีนิมิต แต่ให้เอานิมิตเดียว สุดแท้แต่นิมิตอันใดเป็นทีสบาย เมื่อจับนิมิตได้แล้วให้ขยายนิมิตนั้นออกไปให้โตเท่าศีรษะ นิมิตที่ขาวสว่างนั้นมีประโยชน์แก่กาย แก่ใจ คือ เป็นลมบริสุทธิ์สะอาด ลมบริสุทธิ์สะอาดนี้ย่อมเป็นเครื่องฟอกโลหิตในร่างกายท่านได้อย่างดี สามารถจะบรรเทาหรือกำจัดทุกขเวทนาในร่างกายได้ เมื่อทำได้เท่าศีรษะของตนแล้ว ให้เลื่อนลงไปตั้งไว้ในฐานที่ ๕
ฐานที่ ๕                                      
เมื่อวางไว้ในฐานที่ ๕ คือทรวงอกแล้ว ให้นึกเอานิมิตแห่งลมไปตั้งไว้ ขยายออกให้เต็มทรวงอกทำลมอันนั้นให้ขาวสว่าง กระจายลม กระจายแสงสว่างไปทั่วทุกขุมขน จนกว่าจะมองเห็นส่วนต่างๆ ของร่างกายปรากฏเป็นภาพขึ้นมาเองถ้าไม่ต้องการภาพอันนั้น ก็ให้สุดลมหายใจยาวๆ เสีย ๒-๓ ครั้ง ภาพนั้นก็จะหายไปทันทีแล้วทำให้จิตนิ่งอยู่โดยกว้างขวาง แม้จะมีนิมิตอะไรผ่านมาในรัศมีแห่งลม อย่าเพิ่งไปจับเอาอย่าทำจิตให้หวั่นไหวไปตามนิมิต ประคองจิต            ไว้ให้ดี ทำจิตให้เป็นหนึ่ง พยายามตั้งจิตไว้ในอารมณ์อันเดียว คือ ลมหายใจอันละเอียดและขยายลมอันละเอียดนั้นให้กว้างขวางออกไปทั่วสรรพางค์กาย
เมื่อทำจิตถึงตอนนี้ จะค่อยเกิดวิชาความรู้ขึ้นตามลำดับ กายของเราก็จะเบาเหมือนปุยนุ่น    ใจก็จะเอิบอิ่ม นิ่มนวล วิเวกสงัด ได้รับความสุขกายสบายจิตเป็นอย่างยิ่ง เมื่อต้องการวิชาความรู้ต่าง ๆ ก็ทำจิตให้นิ่ง วางอารมณ์ทั้งหมดให้เหลืออยู่แต่ความสว่างความว่าง อย่างเดียว                                     
เมื่อประสงค์สิ่งใดในส่วนวิชาความรู้หรือนิมิตเป็นภาพปรากฏขึ้นทันที เรียกว่า        มโนภาพ ถ้าจะให้ดีและชำนาญในสิ่งเหล่านี้ให้ศึกษากับท่านผู้เคยปฏิบัติในทางนี้จะดีมากเพราะวิชาตอนนี้ เป็นวิชาที่เกิดขึ้นจากสมาธิอย่างเดียวเท่านั้น                
วิชาในเรื่องสมาธินั้นมีอยู่ ๒ แผนก เป็นไปด้วยกับโลกีย์อย่างหนึ่ง เป็นไปกับด้วยโลกุตรอย่างหนึ่ง วิชาโลกีย์ คือ ติดความรู้ความเห็นของตนเองนี้หนึ่ง ติดสิ่งทั้งหลายที่มาปรากฏให้เรารู้เราเห็นนี้อย่างหนึ่ง วิชาก็ดี       สิ่งที่ให้เรารู้เราเห็นด้วยอำนาจแห่งวิชาก็ดีเป็นของจริงและของไม่จริงเจืออยู่ด้วยกันทั้งสิ้นแต่ของจริงในที่นี้เป็นส่วนสังขารธรรมทั้งสิ้นขึ้นชื่อว่าสังขารแล้ว ย่อมไม่เที่ยง ไม่มั่นคงถาวร         
ฉะนั้น เมื่อต้องการโลกุตรต่อไป ให้รวมสิ่งที่เรารู้       เราเห็นทั้งหมดเข้ามาเป็นจุดอันเดียวคือ เอกัคคตารมณ์ ให้เห็นเป็นสภาพอันเดียวกันทั้งหมด  เอาวิชาความรู้ทั้งหลายเหล่านั้นให้มารวมอยู่ในจุด อันนั้นจนรู้แจ้งเห็นจริงว่า สิ่งทั้งหลายเหล่านี้เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไปเป็นธรรมดา แล้วอย่ายึดถือในสิ่งที่รู้    ที่เห็นมาเป็นของๆ ตน อย่ายึดความรู้ความเห็นที่เกิดจากตนมาเป็นของๆ ตน ให้ปล่อยวางเสียตามสภาพถ้าไปยึดถืออารมณ์ ก็เท่ากับยึดทุกข์ ยึดความรู้ของตนจะเกิดเป็นเหตุแห่งทุกข์คือ สมุทัย
ฉะนั้น จิตที่นิ่งสงบเป็นสมาธิแล้วเกิดวิชชา ๆ นั้นเป็นมรรค สิ่งทีเรารู้ต่างๆ ที่ผ่านมาเป็นทุกข์ จิตเราอย่าเข้าไปยึดเอาวิชชา อย่าเข้าไปยึดเอาอารมณ์ที่มาแสดงให้เรารู้ ล่อยวางไปตามสภาพ ทำจิตให้สบายๆ ไม่ยึดจิต ไม่สมมุติจิตของตนว่า เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ถ้ายังสมมุติตนเองอยู่ตราบใด ก็เป็นอวิชชาอยู่ตราบนั้นเมื่อรู้ได้โดยอาการอย่างนี้ ก็จะกลายเป็นโลกุตรขึ้นในตนจะเป็นบุญกุศลอย่างประเสริฐสูงสุดในฐานะที่เป็นมนุษย์พุทธบริษัทของพระพุทธเจ้า                                       
ถ้าจะสรุปให้สั้นเข้า หลักในการปฏิบัติก็มีดังนี้ คือ    
1                กำจัดอารมณ์ที่ชั่วออกจากจิตให้หมด            
2                ทำจิตให้อยู่ในอารมณ์ที่ดี                                
3                อารมณ์ที่ดีต่างๆ ให้ต้อนเข้าไปรวมอยู่ในจุดอันเดียวที่เรียกว่า เอกัคคตารมณ์                       
4                พิจารณาอารมณ์หนึ่งนั้นให้เป็น อนิจจัง ไม่เที่ยง ทุกขัง เป็นทุกข์ อนัตตา ไม่ใช่                   
ตัวตน สัตว์บุคคลว่างเปล่า                            
5                วางอารมณ์ทีดีและอารมณ์ที่ชั่วไปตามสภาพของอารมณ์เพราะดีและชั่วย่อมอยู่ด้วยกัน มีสภาพเสมอกัน วางจิตไว้ตามสภาพของจิต รู้ไว้ตามสภาพแห่งรู้ รู้นั้นไม่รู้จักเกิด ไม่รู้จักดับ นั้นแลคือ สันติธรรมดีก็รู้ ดีไม่ใช่รู้ รู้ไม่ใช่ดี ชั่วก็รู้ รู้ไม่ใช่ชั่ว ชั่วไม่ใช่รู้คือรู้ไม่ติดความรู้ รู้ไม่ติดสิ่งที่รู้ นั้นแหละคือ ธรรมชาติธาตุแท้อันบริสุทธิ์ผุดผ่อง เหมือนน้ำ ที่อยู่ในใบบัวฉะนั้นจึงเรียกว่า อสังขตะธาตุ เป็นธาตุแท้                 
เมื่อใครทำได้เช่นนี้ก็จะเห็นของดีวิเศษเกิดขึ้นในใจแห่งตนจะเป็นกุศลวาสนาบารมีของท่านผู้ปฏิบัติในทางสมถกัมมัฏฐานวิปัสสนากัมมัฏฐาน จะได้ผล ๒ ประการกล่าวคือ โลกียผลที่จะให้สำเร็จประโยชน์อนามัยของร่างกายแห่งท่าน และคนอื่นๆ ทั่วไปในสากลโลกนี้ ประการหนึ่ง ประการที่ ๒ จะได้โลกุตรผลอันเป็นประโยชน์อนามัยในด้านจิตใจของท่าน มีความสุข ความเยือกเย็น และความราบรื่นชื่นบาน ก็จะถึงพระนิพพาน เป็นเบื้องหน้า ไม่ต้องเกิด แก่ เจ็บ ตาย ได้อรรถาธิบายมาโดยย่อ พอเป็นหัวข้อปฏิบัติของท่านพุทธบริษัทผู้นับถือพระพุทธศาสนา หากท่านมีความสงสัยขัดข้องจากการปฏิบัติตามแนวคิดดังกล่าวไว้ในตำราเล่มนี้โดยประการใดๆ ต้องการจะศึกษาจากผู้ให้แนวความคิดที่กล่าวมานี้ ยินดีทีจะส่งเสริมชี้แจงข้อสงสัยของท่าน ตามกำลังความสามารถของผู้เขียนเพื่อให้สำเร็จสันติสุขในทางพระศาสนาโดยทั่วหน้ากัน......จบ 

ไม่มีความคิดเห็น: