ตัง กิสสะ เหตุ ข้อนั้นเป็นเหตุแห่งอะไร
ตะถาคะโต หิ ภิกขะเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุว่าพระตถาคต
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
วีตะราโค วีตะโทโส วีตะโมโห มีราคะสิ้นไปแล้ว มีโทสะสิ้นไปแล้ว มีโมหะสิ้นไปแล้ว
อะภิรุ อัจฉัมภี เป็นผู้ไม่กลัว เป็นผู้ไม่ประมาท
อะนุตตราสี อะปะลายีติ เป็นผู้ไม่สะดุ้ง เป็นผู้ไม่หนี ดังนี้แล
อิทะมะโวจะ ภะคะวา พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้
อิทัง วัตวานะ สุคะโต พระองค์ผู้เป็นพระสุคต ครั้นตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว
อะถาปะรัง เอตะทะโวจะ สัตถา ลำดับนั้น พระองค์ผู้เป็นพระศาสดา
จึงตรัสพระพุทธพจน์อีกว่า
อะรัญเญ รุกขะมูเล วา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อท่านทั้งหลายอยู่ในป่าหรือรุกขมูล
สุญญาคาเรวะ ภิกขะโว หรือในเรือนเปล่า
อะนุสสะเรถะ สัมพุทธัง พึงระลึกถึงพระสัมพุทธเจ้า
ภะยัง ตุมหากัง โน สิยา ภัยจะไม่พึงมี แก่ท่านทั้งหลาย
โน เจ พุทธัง สะเรยยาถะ ถ้าท่านทั้งหลายไม่ระลึกถึงพระพุทธเจ้า
โลกะเชฏฐัง นะราสะภัง ซึ่งเป็นใหญ่กว่าโลก ประเสริฐกว่านรชน
อะถะ ธัมมัง สเรยยาถะ ทีนั้นพึงระลึกถึงพระธรรม
นิยยานิกัง สุเทสิตัง อันเป็นเครื่องนำออก ที่เราแสดงไว้ดีแล้ว
โน เจ ธัมมัง สะเรยยาถะ ถ้าท่านทั้งหลาย ไม่ระลึกถึงพระธรรม
นิยยานิกัง สุเทสิตัง อันเป็นเครื่องนำออก ที่เราแสดงไว้ดีแล้ว
อะถะ สังฆัง สะเรยยาถะ ทีนั้นพึงระลึกถึงพระสงฆ์
ปุญญักเขตตัง อะนุตตะรัง ซึ่งเป็นนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า
เอวัมพุทธัง สะรันตานัง ดูก่อนภิกษุทั้งหลายน เมื่อท่านทั้งหลายมาระลึกถึง
ธัมมัง สังฆัญจะ ภิกขะโว พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์อยู่อย่างนี้
ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี
โลมะหังโส นะ เหสสะตีติ ขนพองสยองเกล้าก็ดี จักไม่มีแล
(ฉบับภาษาอังกฤษ สวดย่อดังนี้)
1 อิติปิ แม้เพราะเหตุนั้นๆ
โส ภะคะวา พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น
อะระหัง เป็นผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ควรไหว้ควรบูชา
สัมมาสัมพุทโธ เป็นผู้รู้ชอบเอง
วิชชาจะระณะสัมปันโน เป็นผู้บริบูรณ์แล้วด้วยวิชชาและจรณะ
สุคะโต เป็นพระสุคตผู้เสด็จไปดีแล้ว
โลกะวิทู เป็นผู้ทรงรู้โลก
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ เป็นผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยื่งกว่า
สัตถา เทวะมะนุสสานัง เป็นศาสดาผู้สอนของเทพดาและมนุษย์ทั้งหลาย
พุทโธ เป็นผู้เบิกบานแล้ว
ภะคะวาติ เป็นผู้จำแนกธรรมดังนี้
2 สฺวากฺขาโต ภะคะวะตา ธัมโม พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว
สันทิฏฐิโก เป็นของอันบุคคลพึงเห็นเอง
อะกาลิโก เป็นของไม่มีกาลเวลา
เอหิปัสสิโก เป็นของร้องเรียกผู้อื่นให้มาดูได้
โอปะนะยิโก เป็นของอันบุคคลพึงน้อมเข้ามาใส่ใจ
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ เป็นของอันวิญญูชนทั้งหลาย พึงรู้เฉพาะตัว ดังนี้
3 สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
สาวะกะสังโฆ เป็นผู้ปฏิบัติถูกแล้ว
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
สาวะกะสังโฆ เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
สาวะกะสังโฆ เป็นผู้ปฏิบัติถูกแล้ว
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
สาวะกะสังโฆ เป็นผู้ปฏิบัติชอบแล้ว
ยะทิทัง คือ
จิตตาริ ปุริสะยุคานิ คู่แห่งบุรุษทั้งหลาย ๔
อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา บุรุษบุคคลทั้งหลาย ๘
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ นี่พระสงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาคเจ้า
อาหุเนยโย ท่านเป็นผู้ควรสักการะที่เขานำมาบูชา
ปานุเนยโย ท่านเป็นผู้ควรของต้อนรับ
ทักขิเณยโย ท่านเป็นผู้ควรทักษิณาทาน
อัญชะลิกะระณีโย ท่านเป็นผู้ควรอัญชลีกรรม
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ ท่านเป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้
23-3-56
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น