วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2554

อานาปานสติสมาธิ breathing-mindfulness concentration

ขยายความบาลีคำถาม : Word comentary

บัณฑิตพึงทราบนิเทศ(ขยายความ) แห่งบาลีคำถาม “กถํ ภาวิโต จ ภิกฺขเว อานาปานสฺสติสมาธิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติ บุคคลทำให้มีอย่างไร “ เป็นต้น คำว่า “กถํ” เป็นพระปุจฉาด้วยความเป็นผู้ทรงใคร่จะตรัสการเจริญอานาปานสติสมาธิให้พิศดารโดยประการต่างๆ
And how develop, bhikkhus, how practised much, is concentration through mindfulness of breathing: here in the first place how is a question showing desire to explain in detail the development of concentration through mindfulness of breathing in its various forms.


คำต่อไปว่า “ ภาวิโต จ ภิกฺขเว อานาปานสฺสติสมาธิ” เป็นคำทรงชี้ธรรมที่ได้ตรัสถามว่า ด้วยความเป็นผู้ทรงใคร่จะตรัสให้พิสดารโดยประการต่างๆ
Developed, bhikkhus,….. is concentration through mindfulness of breathing: This shows the things that is being asked about our of desire to explain it in its various forms.


แม้ในคำว่า “กถํ พหุลีกโตฯเปฯ วุปสเมติ “ นั้นก็นัยนี้เหมือนกัน
How practised much…. As soon as they arise? : here too the same explanation applies.


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภาวิโต- ทำให้มี นั้นคือ ทำให้เกิดขึ้น หรือเจริญขึ้น บทว่า อานาปานสติสมาธิ แปลว่า สมาธิที่สัมปยุตกับสติ อันกำหนดเอาลมหายใจออกและลมหายใจเข้า ( เป็นอารมณ์) นัยหนึ่ง สมาธิในอานาปานสติ ชื่อว่า อานาปานสติสมาธิ
Herein, developed means aroused or increased, concentration through mindfulness of breath in (lit. ‘breathing-mindfulness concentration’) is either concentration associated with mindfulness that discerns breathing, or it is concentration on mindfulness of breathing.


บทว่า พหุลีกโต –ทำให้มาก คือทำบ่อยๆ
Practised much: practised again and again.

แก้ สนฺโต ปณีโต

สองบทว่า สนฺโต เจว ปณีโต จ นั้นพึงประกอบว่า สนฺโต เจว ปณีโต เจว – ละเมียดแท้ด้วย ประณีตแท้ด้วย พึงทราบวส่า การจำกัดความด้วยเอวศัพท์ ย่อมมีทั้ง 2 บท
Both peaceful and sublime ( santo c’ eva paṇīta ca): it is peaceful in both ways and sublime in both ways; the two words should each be understood as governed by the word ’both’ (eva).

ถามว่า พระพุทธาธิบายมีอยู่อย่างไร?
What is meant?

เฉลยว่า พระพุทธาธิบายมีอยู่ว่า “ อันอานาปานสติสมาธินี้ จะได้เป็นธรรมไม่ละเมียดหรือไม่ประณีตโดยปริยายไรๆ เหมือนอย่างอสุภกรรมฐาน ซึ่งละเมียดและประณีตโดยปฏิเวธอย่างเดียว แต่ไม่ละเมียดไม่ประณีตทางอารมณ์เลย เพราะมีอารมณ์หยาบ และมีสิ่งปฏิกูลเป็นอารมณ์(เช่นนั้น) หามิได้ ที่แท้เป็นธรรมชื่อว่าละเมียด คือเรียบราบดับเย็น เพราะทั้งละเมียดโดยอารมณ์ เพราะทั้งละเมียดโดยองค์ที่นับว่าปฏิเวธ ชื่อว่าประณีต คือ ไม่ทำให้เบื่อ เพราะทั้งประณีตโดยอารมณ์ เพราะทั้งประณีตโดยองค์ “ ดังนี้
Unlike foulness, which as a meditation subject is peaceful and sublime only by penetration, but is neither (n’eva) peaceful nor sublime in its object since its object [in the learning stage] is gross, and [after that] its object is repulsiveness—unlike that, this is not unpeaceful or unsublime in any way, but on the contrary it is peaceful, stilled and quiet both on account of the peacefulness of this object and on account of the peacefulness of that one of its factors called penetration. And it is sublime, something one cannot have enough of, both on account of the sublimeness of its object and on account of the sublimeness of the aforesaid factor.


เพราะเหตุนั้นจึงตรัสว่า “ (อานาปานสติสมาธิ) เป็นธรรมละเมียดแท้ด้วย ประณีตแท้ด้วย”
Hence it is called ‘both peaceful and sublime’.


แก้ อเสจนโก

ส่วนในคำว่า “ อเสจนโก จ สุโข จ วิหาโร เป็นธรรมเครื่องพักอยู่อันละมุนละไมและเป็นสุขด้วย” นั้นมีอรรถาธิบายว่า เสจนะ(ความเปียก) ไม่มีแต่อานาปานสติสมาธินั้น เหตุนั้น อานาปานสติสมาธินั้นจึงชื่อว่า อเสจนโก – ละมุนละไม ( เหมือนข้าวสวย) คือ ไม่เปรอะ ไม่ปน แยกเป็นหนึ่งได้จำเพาะตัว หมายความว่า ความละเมียดในอานาปานสติสมาธินี้ หามีโดยบริกรรมหรือโอยอุปจารก็ตามไม่ อานาปานสติสมาธินี้ เป็นธรรมละเมียดด้วย ประณีตด้วย โดยสภาวะของตนแท้ จำเดิมแต่อาทิสมันนาหาร ( การเริมต้นประมวลจิตเข้าทำกรรมฐาน) ไป
It is an unadulterated blissful abiding: it has no adulteration, thus it is unadulterated; it is unalloyed, unmixed, particular, special. Here it is not a question of peacefulness to be reached through preliminary work [as with the kasinas] or through access [ as with foulness, for instance].It is peaceful and sublime in this own individual essence too starting with the very first attention given to it.


ส่วนอาจารย์ลางเหล่ากล่าวว่า บทว่า “อเสนจนโก” ความว่า ไม่ต้องเติมอะไร เป็น(ดุจ) สิ่งมีรสดีอร่อยโดยภสภาพเอง
But some say that it is ‘unadulterated’ because it is unalloyed, possessed of nutritive value and sweet in its individual essence too.


บัณฑิตพึงทราบว่า อานาปานสติสมาธินี้ เป็นอเสจนกะอย่างนี้แหละ จึงเป็นสุขวิหารด้วย เพราะเป็นไปเพื่อได้กายิกสุขและเจตสิกสุข ทุกขณะที่ถึงอัปปนา
So it should be understood to be’ unadulterated’ and a ‘blissful abiding’ since it leads to the obtaining of bodily and mental bliss with every moment of absorption.


คำที่เกิดขึ้นๆ หมายความว่าที่ยังมิได้ข่มๆ ลง
As soon as they arise: whenever they are not suppressed.

คำว่า บาป คือ ชั่ว
Evil: bad.

คำว่า ธรรมอันเป็นอกุศล คือ ธรรมอันเกิดแต่ความไม่ฉลาด
Unprofitable (akusala) thoughts: thoughts produced by unskilfulness ( akosalla).


คำว่า ให้หายไปโดยพลัน หมายความว่าให้ลับไป คือ ข่มลงได้โดยทันทีทีเดียว
It banishes at once: it banishes, suppresses, at that very moment.


คำว่า ให้รำงับไป คือให้สงบไปอย่างดี นัยหนึ่ง เธอถึงความเจริญแห่งอริยมรรคโดยลำดับ ย่อมตัดขาดได้ อธิบายว่า ให้สงบราบคาบไปได้ เพราะอานาปานสติสมาธิเป็นนิพเพธภาคิยธรรม
Stills ( vūpasameti): it throughly calms (suṭṭhu upasameti); or else, when eventually brought to fulfilment by the noble path, it cuts off, because of partaking of penetration; it tranquillizes, is what is meant.


ก็ในพระบาลีคำถามนี้ มีความสังเขป (ดังต่อไป)นี้ว่า ดุกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิ บุคคลทำให้มีด้วยประการไร ด้วยอาการไร ด้วยวิธีไร ทำให้มากด้วยประการไร.... จึงเป็นธรรมละเมียดแท้ด้วย ฯลฯ ให้รำงับไปโดยพลันด้วย
In brief, however, the meaning here is this: ‘Bhikkhus, in what way, in what manner, by what system, . is concentration through mindfulness of breathing developed, in what way is ti practised much, that it is both peaceful…. As soon as they aris?’.

ขยายความแห่งบาลีคำเฉลย : The explanation of the answer text.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงยังความข้อนั้นให้พิสดาร จึงตรัสคำว่า อิธ ภิกฺขเว เป็นต้น
He now said, ‘ Here, bhikkhus’, a bhikkhu eans: bhikkhus, in this dispensation a bhikkhu.

แก้ อิธ ศัพท์ : the word here

ในคำเหล่านั้น คำว่า อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ แปลว่า “ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้ “ เพราะอิธศัพท์ในพระบาลีนี้เป็นศัพท์แสดงถึงศาสนา อันเป็นที่ก่อเกิดแห่งบุคคลผู้ทำอานาปานสติสมาธิทุกประการให้เกิดขึ้น และปฏิเสธความเป็นอย่างนั้นแห่งศาสนาอื่น
For this word here signifies the [Buddha’s] dispensation as the prerequisite for a person to produce concentration through mindfulness of breathing in all its modes, and it denies that such a state exists in any other dispensation.


สมกับพระพุทธพจน์นี้ว่า “ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะมีอยู่ในศาสนานี้เท่านั้นฯลฯ วาทะ(ลัทธิ) อื่นๆ ว่างเปล่าจากสมณะทุกจำพวก”
For tis is said: ‘ Bhikkhus, only here is there an ascetic, here a second ascetic, here a third ascetic, here a fourth ascetic; other dispensations are devoid of ascetics’.


เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงแก้ (อิธ ภิกฺขุ) ว่า อิมสฺมึ สาสเน ภิกฺขุ – ภิกษุในศาสนานี้
That is why it was said above ‘ in this dispensation a bhikkhu’.


เหตุที่ตรัส อรญฺจคโต ฯลฯ นัยที่ 1

คำว่า “ ไปสู่ป่าหรือโคนไม้หรือเรือนว่างกฅ็ตาม” นี่เป็นคำแสดงถึงการกำหนดถือเอาสานาสนะ อันเหมาะแก่การบำเพ็ญอานาปานสติสมาธิแห่งโยคาวจรภิกษุนั้น
Gone to the forest…. Or to an empty place: this signifies that he has found an abode favourable to the development of concentration through mindfulness of breathing.


เพราะจิตของภิกษุนี้(เคย) เพ่นพ่านไปตามอารมณ์ต่างๆ มีรูปารมณ์เป็นต้นมาเสียนาน ไม่ใคร่จะขึ้นสู่อารมณ์แห่งอานาปานสติสมาธิได้ คอยแต่จะแล่นไปนอกทาง เหมอนรถทีเทียมด้วยโคโกง แล่นออกนอกทางไปฉะนั้น
Fro this bhikkhus’s mind has long been dissipated among visible data, etc., as its object, and it does not want to mount the object of concentration-through-mindfulness-of –breathing; it runs off the track like a chariot harnessed to a wild ox.


เพราะฉะนั้น นายโคบาลใคร่จะฝึกลูกโคโกงซึ่งดื่มกินน้ำนมแม่โคโกง (หมด) จนเติบใหญ่แล้วพึงพราก(มัน) ไปเสียจากแม่ ฝังหลักใหญ่เข้าข้างหนึ่ง ผูก(มัน) ด้วยเชือกไว้ที่หลักนั้น ทีนี้เจ้าลูกโคของเขาตัวนั้นจะดิ้นไปดิ้นมา (แต่) ไม่อาจหนีไปได้ (เหนื่อยเข้าหมดพยศ) ก็จะพึงหมอบอิง หรือนอนอิงหลักนั้นอยู่นั่นเอง ฉันใดก็ดี
Now suppose a cowherd wanted to tame a wild calf that had been reared on a wild cow’s mil, he would take it away from the cow and tie it up apart with a rope to a stout post dug into the ground; then the calf might dash to and fro, but being unable to get away, it would eventually sit down or lie down by the post.


แม้ภิกษุนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ใคร่จะทรมานจิตร้าย อันเติบขึ้นด้วยการดิ่มรสอารมณ์มีรูปารมณ์เป็นต้นมาเสียนาน ก็พึงพราก( มัน) เสียจากอารมณ์มีรูปเป็นอาทิ เข้าไปสู่ป่า หรือโคนไม้ หรือเรือนว่างก็ตาม แล้วผูก(มัน) ไว้ทีหลักคือลมหายใจออกและลมหายใจเข้าด้วยเชือกคือสติ
So too, when a bhikkhu wants to tame his own mind which has long been spoilt by being reared on visible data, etc., as object for its food and drink, he should take it away from visible data, etc., as object and bring it into the forest or to the root of a tree or to an empty place and tie it up there to the post of in-breaths and out-breaths with the ripe of mindfulness.


เมื่อถูกผูกไว้อย่างนั้น จิตของเธอนั้นแม้จะดิ้นรนไปมา ก็ไม่ได้อารมณ์ทีเคยชินมา (แต่) ไม่อาจจะตัดเชือกคือสติหนีไปได้ ก็ย่อมจะหมอบและนอนอิงอารมณ์(กรรมฐาน) นั้นเอง โดย ( ถึงความเป็น ) อุปจารและอัปปนา
And so his mind may then dash to and fro when it no longer gets the objects it was formerly used to, but being unable to break the rope of mindfulness and get away, it sits down, lies down, by that object under the influence of access and absorption.


เพราะเหตุนั้น พระโบราณาจารย์ทั้งหลาย จึงกล่าวไว้ว่า
Hence the Ancient sad:


คนจะฝึกลูกโค พึงผูก(มัน) ไว้ที่หลักฉันใด พระโยคาวจรในศาสนานี้ ก็พึงผูกจิตของตน
ไว้ที่อารมณ์(กรรมฐาน) ให้มั่นด้วยสติ ฉันนั้นเถิด
‘Just as a man who tames a calf Would tie it to a post, so here Should his own mind by mindfulness
Be firmly to the object tied’.


เสนาสนะ (ที่กล่าวมา) นั่น เป็นทีเหมาะแก่การภาวนาแห่งพระโยคาวจรนั้นด้วยประการฉะนี้
This is how and abode is favourable to his development.


เหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวไว้ว่า คำนี้เป็นคำแสดงถึงการกำหนดถือเอาเสนาสนะ อันเหมาะแก่การบำเพ็ญอานาปานสติสมาธิแห่งพระโยคาวจรภิกษุนั้น ดังนี้
Hence it was said above:” This signifies that he has found an abode favourable to the development of concentration through mindfulness of breathing’.


30-1-53

ไม่มีความคิดเห็น: