วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

jing khang temple hall โบสถ์วัดเชียงขาง

พุทธศาสนิกชนมาร่วมงานอุปสมบทพระภิกษุจำนวน ๓ รูป ณ โบสถ์ที่บูรณะซ่อมแซมขึ้นมาใหม่ สวยงาม แต่พื้นสนามยังเป็นแบบเดิมยังไม่ได้ปรับปรุงแก้ไข เมื่อคราวก่อนที่ผมได้ติดตามพระอาจารย์อัญเชิญพระบรมธาตุมาประดิษฐานไว้ ณ ที่นี่ และได้ออกเงินสมทบทุนสร้างจำนวนหนึ่ง เหตุการณ์ที่ไม่เหมอนเมืองไทยก็คือ ที่หน้าประตูโบสถ์ จะมีคนมานอนเหยียดยาวหน้าประตูเพื่อให้พระเหยียบลงบนร่างของเขา ทำให้หวนระลึกถึงเรื่องท่านพระสุเมธดาบานอนลงบนพำื้นดินอาราธาพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าาทีปังกรพร้อมภิกษุสงฆ์ให้เหยียบลงบนร่างของท่าน พระพุทะองค ์ทรงพยากรณ์วา่า ดาบสตนนี้จะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่าโคตมะในอนาคตกาล พระองค์พยากรณ์ไว้่เมื่อ ๔ อสงไขย กำไรแสนมหากัปที่ผ่านมา และเรื่องนั้นก็นเป็นจริงทุกประการ  the temple hall for the purpose of making ordiation to the novice of lay people who want to become a monk in Budhism.

หลวงตาตุ๊เจ้าคำลือ

หลวงตาตุ๊เจ้าคำลือแห่งวัดเชียงขาง ที่พระอาจารย์พาคณะศิษยานุศิษย์ไปพักที่กุฏิของท่าน แต่กุฏิของท่านบอกว่า เวลาฝนตกมันกั้นฝนไม่ใด้ เปียกหมด แม้แต่ฝนังกุฏิก็เป็นซ่องหากลมมาก็ทำให้น้ำฝนเข้ามาได้ พระอาจารดำริว่าจะหาทุนช่วยซ่อมแซมกุฏิให้ท่าน ปกติท่านมักจะเดินทางเข้าออกระหว่าง จีน พม่า ไทย เสมอ หากพวกเรามีจิตศรัทธาร่วมกับพระอาจารยพระครูประกาศพุทธพากย์ก็อาจจะรวบรวมจตุปัจจัยถวายท่านไปซ่อมกุฏิให้ัทันฤดูฝนนี้ก็ได้นะครับ ท่านมีอายุ ๗๙ ปี เป็นเชื้อสายญาติๆกับราชวงศ์ราชอาณาจักรหอคำเชียงรุ่งโบราณ อพยพมาอยู่เมืองเชียงขาง

วัดครูบาปา เจ้าคณะภาคเมืองวะ เชียงขาง

ถ่ายภาพจากยอดดอยวัดครูบาป่า เจ้าคณะภาคเมืองวะ เชียงขาง มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน มองไปไกลๆเห็นเทิือกเขาสูงสลับซับซ้อน เลยจากทิวเขาเหล่านี้ไปก็จะไปถึงเมืองพม่า ตรงกลางว่างๆคือแม้น้ำหลวยซึ่งไหลลลงสู่แม่น้ำของ ผ่านพม่า ไทย เมขร เวียตนาม

สองครูบาพาดั้นด้นดอยสูง

พระอาจารย์พระครูสิริธรรมวิเทศ จูงมือพระอาจารย์วิชัยขึ้นดอยไป ทั้งที่อีกฝ่ายหนึ่งบอกว่าเหนือยมากใจจะขาดแล้่ว อีกฝ่ายหนึ่งก็รีบเร่งฉุดดึงไปข้างหน้าไม่ยอมหยุด ท่านผู้เจริญทั้งหลายมองดูเอาก็แล้วกันว่าบรรยากาศเป็นเช่นไร อันนี้คือชีวิตจริงไม่ใช่แสดงละคร มันเหนื่อยแทบขาดใจจริงๆ

บุกป่าฝาดงขึ้ยดอย

ทางขึ้นดอยที่พระอาจารย์พระครูประกาศพุทธพากย์พาคณะศิษยาสนุศิษย์ขึ้นไป  บางแห่งก็สูงชัน คดเคี้ยว เป็นหลุมเป็นบ่อ มองไปไกลๆ ยอดดอยเหล่านั้นแหละคือปลายทางที่จะปีนขึ้นไป ทางลำบากทุรกันดารมาก เพราะเหตุนี้เอง หลังจากกลับมาถึงเชียงรุ่งแล้ว ผมได้ปรารภกับพระอาจารย์ตุ๊เจ้าขงเจ้าอาวาสวัดเชียงป่้อมว่า ท่านอาจารย์ครับ การเดินทางลำบากมาก ท่านก็ตอบว่า ลำบากยังไม่เท่าไร ปลอดภัยกลับมาก็ดีแล้ว แสดงว่า ท่านอยู่ที่เชียงรุ่งก็๋เป็นห่วงเรื่องความปลอดภัยของเราอยู่เช่นกัน เพราะต้องบุกป่าฝ่าดงขึ้นดอยขึ้นเขาไป จะเรียกว่าเสี่ยงตายก็คงจะไม่เกินไปนักสำหรับการเดินทาง

วัดเมืองลอง

ถนนในเมิงโลง ที่เห็นหลังคาแหลมด้านบนคือวัดประจำเมิงโลง (เมิง - เมือง โลง - ลอง ) เมิงโลง (เมืองลอง) วัดตั้งอยู่บนเขา พระที่นี่ต้องทำงานทุกอย่างเอง เช่นขับรถบรรทุกน้ำเอง ทุกอย่างพระต้องทำเองหมด เพราะระบอบคอมมิวนิสต์ไม่สนัยสนันให้ผู้คนนับถือพระพุทธศาสนา เว้นแต่คนเฒ่่าคนแก่อยู่มาก่อนเกิดลัทธคอมมิวนิสต์ก็ยังคงเหมือนเดิม แต่คนหนุ่มสาวจะเปลี่ยนไปตามกาล 

หม้อต้มเหล้า

หม้อกลั่นเหล้าแห่งเมืองเชียงรุ่ง มีกะทะอยู่ด้านล่าง ด้านบนหล่อน้ำเย็นไว้ มีอ่างรองรับไอน้ำที่กลั่นเป็นหยดลงแล้วไหลออกทางท่อมีภาชนะรองรับอยู่ด้านนอก สาเหตุที่พระอาจารย์ไปดูก็เพื่อจะนำแนวคิดนี้มาต้มยา

ลวดลายไทที่เมิงโล(เมืองลอง)

ได้มีการปรับพื้นที่ที่เมิงโลง (เมืองลอง) เพื่อสร้างโรงแรม แต่ยังไงก็ยังไม่ทิ้งลายไทอยู่ดีอย่างที่เห็น หลังคาที่มีช่อฟ้า ไบระกา รู้สึกว่าจะเป็นสัญลักษณ์ของไทในบรรพกาลจวบจนถึงปัจจุบันไม่มีเปลี่ยนแปลงเลย เมืองลองตั้งอยู่ระหว่างรอยต่อที่จะเข้าไปใกล้ชายแดนจีน พม่า จากเมืองลองแห่งนี้ รถที่จะไปยังเมืองเชียงขางจะต้องขอใบอนุญาสตผ่านแดน ทุกคันไป หากไม่มีใบอนุญาตก็จะไม่ยอมให้ผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองออกไปยังชายแดนพม่าได้ แม้แต่ผู้คนที่ผ่านด่านนี้ก็ต้องมีใบอนุญาต ในกรณีที่ไม่มีรเอกสารหลักฐานอะไรเลย แต่าถ้าเป็นคตนไทลื้อ ซึ่งในเขตชายแดนมักจะไม่มีบัตรประชาชน จึงต้องให้เดินทางแบบหลบหนีรเข้าเมือง โดยเดินอ้อมไปทางหลังตึกสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ในป่าทมี่มีเหวลึก
ลงไปในเหวนั้นแล้วค่อยเดินขึ้นมาทางตรงข้าม ส่วนมากก็ทำกันแบบนั้น

จักรยานหาบของ

ชิวิตที่ต้องหาบต้องหาม ทำมาหากินด้วยความอดทนขยันหมั่นเพียร  เคยเห็นแต่คนหาบของ แต่ที่เมืองเชียงรุ่ง สิบสองปันนา  ยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน จักรยานก็หาบของได้อย่างที่เห็น นับว่าเป็นแนวคิดที่ดี แต่การปั่นจักรยานหาบของไปตามถนนใหญ่ จะทำได้อย่างไร ยังไม่เคยเห็น ที่เห็นอยู่ในภาพเป็นถนนหน้าตลาดสดเมืองเชียงรุ่ง 

บ้านไทลื้อ

ไต้ถุนบ้านไทลื้อ จะมีไต้ถุนสูงแบบนี้เป็นหลัก  และใช้ได้แบบเอนกประสงค์ นับว่าเป็นวัฒนธรรมไทโบราณ แต่ปัจจุบันการสร้างบ้านใหม่นักจะเป็นแบบไม่มีไต้ถุนสูงแบบนี้เสียเป็นส่วนมาก ไม่นานวัฒนธรรมเก่าแก่คงจะค่อยๆสูญหายไปจากโลกอย่างแน่นอน ถ่ายที่เมืองเชียงรุ่ง สิบสองปันนา สาธารณรัฐประชาชนจีน

ไปดูถิ่นต้มเหล้าในจีน

พระอาจารย์พระครูประกาศพุทธพากย์ที่ข้างวิหารวัดเชียงป้อม ต.กาดทราย อ.เชียงรุ่ง จ.สิบสองปันนา มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน หลังจากกลับมาจากการไปดูโรงต้มเหล้า ที่เจ้าของสาธิตวิธีการต้มเหล้าให้ดู ซึ่งอยู่ด้านล่างต่ำลงไปถัดจากวิหารแห่งนี้ลงไป การต้มเหล้าที่นี่คงจะไม่ผิดกฏหมาย เพราะเห็นมีไหเหล้าใหญ่เล็กตั้งไว้ตามร้านต่างๆอย่างเปิดเผยทีเดียว จึงไม่น่าสงสัยเลยว่าผู้คนทัี้งหลายในถิ่นนี้ล้วนดื่มเหล้าเป็นประจำ

กลองยาวเมืองเชียงรุ่ง long tail drum at jinghong

กลอง เป็นดนตรีชนิดหนึ่งที่ใช้ในหลายรูปแบบ ทั้งในด้านบรรเทิง แม้ในยามศึกสงครามในสมัยบรรพกาลก็ได้ใช้กลองนี้ตีเพื่อระดมพล  ถ่ายที่กุฏิเจ้าอาวาสวัดเชียงป้อม ต.กาดทราย อ.เชียงรุ่ง จ.สิบสองปันนา มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน
long tail drum at jingpom temple,jinghong,xishuangbanna,yunnan,china

ต้นไม้ใหญ่เชียงรุ่ง big tree in jinghong

ต้นไม้ใหญ่ ข้างถนนจากวัดเชียงป้อมไปยังตลาดสด สูงท่วมหัว คงจะมีอายุมากกว่าร้อยปีขึ้นไป เขาได้เอาผ้าพลาสติกมาห่มเอาไว้กันน้ำฝนและแสงแดดแผดเผาทำให้ผุกร่อน  เมื่อน้อมเอาต้นไม้นี้มาพิจารณาก็จะได้ความว่า ต้นไม้ตายนั้นยังทรงคุณค่า มีราคา เป็นเงินเป็นทอง ขณะที่ กายของคนเราที่ตายแล้วหาค่าอะะไรก็ไม่ได้ เน่า เหม็นทันทีที่วิญญาณไปปราศแล้ว เป็นทีี่น่ารังเกียจขยะแขยงแก่ผู้พบเห็นต้องรีบนำไปเผาให้สิ้นซาก ข้อนี้ ฉันใด กายใจของผู้ัได้ฝึกฝนดีแล้วด้วยธรรมและวินัย พ้นวิสัยแห่งปุถุชน พ้นบ่วงมาร ย่อมประเสริฐ ครุวนาดุจรัตนทั้งหลายที่ผู้ัคนหลงไหลปรารถนาได้มาครอบครอง ฉันนั้น
the big tree laid down on the side way of the road leading from jingpom temple to the local market of jinghong.xishuangbanna,yunnan,china

บันใดไทลื้อ

บันใดบ้านไทลื้อ หากจะนับพื้นบนและล่างเข้าด้วยกันก็เป็น ๑๒ อันเป็นปริศนาธรรมคือ ปัจจาการ ๑๒ ที่เป็นเหตุึแห่งสัตว์ทั้งหลายต้องเวียนว่าย ตาย เกิด เวียนวนไปมาหาเบื้องต้นและที่สุดมิได้ คนพาลสันดานหยาบมองการเวียนว่าย ตาย เกิด เป็นเรื่องพึงปรารถนาเป็นอย่างยิ่ง แต่นักปราชญ์ผู้มีปัญญา มองว่าเป็นทางแห่งทุกข์ที่จะต้องรีบแก้ไขดำเนินไปสู่ความสิ้นสุดแห่งมทุกข์นั้นโดยเร็ว

อาทิตญ์อัศดง

อาทิตย์อัศดงค์ ณ เรือนอาบน้ำร้อน เมืองเชียงขาง มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน ตะวันที่ลับยอดเขาไปแล้ว แต่ก้ยังทอแสงทองเรืองรองให้เราได้เห็น ราวกับว่านิกรชนผู้มีศีลธรรมอินทรีย์อแก่กล้า แม้ขันธ์ ๕ จะร่วงโรยดับลง แต่ก็เหลือแสงสว่างแห่งดวงปัญญาไว้ให้เราทั้งหลายพากันดำเนินตาม โลกียทรัพย์เป็นดุจดังหลุมถ่านเพลิงที่เร่าร้อน เผารนเหล่านิกรชนผู้มืดบอดให้เทุถกข์ทรมาณแสนสาหัส ขณะที่อริยทรัพย์ม่แต่ความร่มเย็นชั่วนิจนิรันดร