วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

คำนำเรื่องหนังสือ โอวาทสี่พรรษา

คำนำ

โอวาท ๔ พรรษา เป็นการบันทึกพระธรรมเทศนาของท่านพ่อลี ธมฺมธโร ด้วยการจดบันทึก
ของแม่ชี อรุณ อภิวัณณา แห่งวัดอโศการาม ได้เริมบันทึกไว้ตั้งแต่เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๐๐
โดยมีคำชี้แจงของท่านเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ดังต่อไปนี้


คำชี้แจง
หนังสือเล่มนี้ คือ โอวาทของ พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร รวม ๔ พรรษา ซึ่งได้มีผู้จำคำของท่านมาเรียบเรียงไว้ เป็นหนังสือ ๕ เล่ม คือ
๑ อนุสรณ์ท้ายพรรษา
๒ อานาปานุสรณ์ตอนต้น
๓ พระธรรมเทศนาบนหอเขียว
๔ อานาปาน์พรรษาที่ ๔
๕ สมถภาวนา-อานาปานนวิธี
ในการรวมหนังสือเล่มเล็กๆ ๕ เล่ม ให้เป็นเล่มเดียวกันนี้ ก็เพื่อประสงค์จะรักษาคำสั่งสอนของท่านไว้มิให้กระจัดกระจาย อันจะหาอ่านได้ยากในเวลาต่อไปข้างหน้า


มธุรปาณิกา
อภิวณฺณาศรม วัดอโศการาม
๒๐ กันยายน ๒๕๐๐

คำบูชาพระและขอขมาพระรัตนตรัย

คำบูชาพระและขอขมาพระรัตนตรัย


ก่อนจะเริ่มนั่งสมาธิ ท่านอาจารย์ได้นำให้พวกเราเหล่าพุทธบริษัททั้งหลาย ถวายประทีป
ธูปเทียน ดอกไม้ เครื่องสักการบูชาแด่พระรัตนตรัย ว่าดังนี้

อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ ภควา, พุทฺธํ ภควนฺตํ อภิวาเทมิ. ( กราบ)
สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม,ธมฺมํ นมสฺสามิ ( กราบ)
สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ,สงฺฆํ นมามิ ( กราบ)

พุทฺธปูชา มหาเตชวนฺโต ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอถวายบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มี
เดชานุภาพอันยิ่งใหญ่ล่วงเสียซึ่งอำนาจของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ข้าพเจ้าขอถวาย
บูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น เพราะฉะนั้น การบูชาจึงเป็นเหตุนำมาซึ่งเดชานุภาพ
อันยิ่งใหญ่.
ธมฺมปูชา มหปฺปญฺโญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอถวายบูชาพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันเป็นบ่อเกิดแห่งสติปัญญาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ข้าพเจ้าขอถวายบูชาพระธรรมเหล่านั้น เพราะฉะนั้น การบูชาจึงเป็นเหตุนำมาซึ่งสติปัญญาอันยิ่งใหญ่.
สงฺฆปูชา มหาโภควโห ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอถวายบูชาพระสงฆ์สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ปฏิบัติชอบแล้วด้วย กาย วาจา ใจ และเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งโภคทรัพย์ทั้งหลายมีอริยทรัพย์เป็นต้น ข้าพเจ้าขอถวายบูชาพระสงฆ์หมู่นั้น เพราะฉะนั้น การบูชาจึงเป็นเหตุนำมาซึ่งโภคทรัพย์สมบัติอันยิ่งใหญ่.

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. ( ๓ หน)

รตนตฺตเย ปมาเทน ทฺวารตเยน กตํ สพฺพํ อปราธํ ขมตุ โน ภนฺเตฯ

ปริสุทฺโธ อหํ ภนฺเต. ปริสุทฺโธติ มํ พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ ธาเรตุ.(ให้ชำระศีลของตนให้บริสุทธิ์)

พุทฺธํ ธมฺมํ สงฺฆํ ชีวิตํ ยาว นิพฺพานํ สรณํ คจฺฉามิฯ ( กราบลง ๓ หน แล้ให้นั่งสมาธิเจริญภาวนาด้วยคำ “ พุทโธ” เป็นอารมณ์)

อนุสรณ์ท้ายพรรษา

อนุสรณ์ท้ายพรรษา

คำปรารภ

“ อนุสรณ์ท้ายพรรษา” นี้เป็นคติเตือนใจต่างๆ ที่ข้าพเจ้าได้บันทึกไว้เป็นหัวข้อย่อๆ
เพียงบางเรื่องบางตอนเท่าที่จะจดจำได้จากโอวาทของท่านอาจารย์ ซึ่งท่านได้เมตตา
แสดงให้พวกเราทั้งหลายฟัง ขณะมารับการอบรมวิปัสสนากัมมัฏฐาน ณ ศาลาอุรุพงศ์
วัดบรมนิวาส ในพรรษานี้โอวาทเหล่านี้ข้าพเจ้าเพิ่งจะเริ่มจดบันทึกเม่อวันที่ ๖ กันยายน และก็ต้องยุติลงเมื่อ วันที่ ๑๙ กันยายนนี้เอง เพราะจะต้องรวบรวมไปพิมพ์ให้ทันเวลาออกพรรษา
อย่างไรก็ดี ถึงแม้จะเป็นระยะเวลาเพียงเล็กน้อย แต่ก็รู้สึกว่า ข้อความที่ท่านอาจารย์
ได้แสดงแก่พวกเราทั้งหลายนั้น ล้วนมีคติอันน่าจับใจมากมายเกินกว่าสติปัญญาที่จะจดจำไว้
ได้ โอวาทที่ท่านได้แสดงมาแล้วนี้ ข้าพเจ้าเชื่อว่าทุกๆ ท่านผู้สนใจในการฟังและการปฏิบัติ
ก็คงจะซาบซึ้งกันได้ดี แต่ก็คงมีบางท่านที่ไม่อาจจะจำได้ทั้งหมด รวมทั้งตัวข้าพเจ้าด้วย
และนานๆ ก็อาจจะลืมเสียบ้าง

ฉะนั้นก็น่าเสียดายที่ไม่ควรจะปล่อยให้ของดีๆ เหล่านี้ผ่านพ้นหรือกลับคืนหายไปสู่
อากาศธาตุเสียหมดโดยเปล่าประโยชน์.ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงรวบรวมบันทึกไว้ เท่าที่จะจำได้
พอเป็นเครื่องเตือนใจของตนและผู้ที่ต้องการ.

ด้วยกุศลเจตนาอันบริสุทธิ์นี้ ข้าพเจ้าขอนอบน้อมอุทิศอานิสงสผลถวายแด่พระเดชพระคุณ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ( ติสสเถระ) ผู้ซึ่งเปี่ยมด้วยมุทิตาจิต ได้อาราธนาพระอาจารย์ลี ธมฺมธโร มาอบรมพุทธบริษัททั้งหลายในการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน ณ วัดบรมนิวาส เป็นปีที่ ๓ ในพรรษานี้ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้สนใจในการปฏิบัติธรรม และเพื่อความเจริญในพระพุทธศาสนาอันเป็นส่วนสำคัญยิ่งนี้ด้วย

อภิวณฺณา (แม่ชีอรุณ อภิวณฺณา)
เนกขัมมาภิรมยสถาน วัดบรมนิวาส
๒๐ ก.ย. ๙๘

คำอนุโมทนาของคุณท้าวสัตยานุรักษ์

อานาปานสติภาวนามัย breath meditation method

อานาปานสติภาวนามัย
โดย พระสุทธิกรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ วัดอโศการาม สมุทรปราการ

วิธีทำสมาธิเบื้องต้น

ต่อไปนี้จะได้อรรถาธิบายข้อปฏิบัติในทางสมาธิภาวนาว่าจะต้องทำกันอย่างไร ก่อนทีจะทำ กิจเบื้องต้นนั้นให้นั่งคุกเข่าประณมมือด้วยความตั้งใจ นอบน้อมถึงพระรัตนครัย แล้วเปล่งวาจา ดังต่อไปนี้

กล่าวนอบน้อมพระรัตนตรัย

อรหัง สัมมาสัมพุทโธ ภควา, พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบลงหนหนึ่ง นี่ไหว้พระพุทธ)


สาวกขาโต ภควตา ธัมโม,ธัมมัง นมัสสามิ (กราบลงหนหนึ่ง นี้ไหว้พระธรรม)


สุปฏิปันโน ภควโต สาวกสังโฆ,สังฆังนะมามิ (กราบลงหนหนึ่ง นี้ไหว้พระสงฆ์)





กล่าวนอบน้อมพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ลำดับนี้ ตั้งใจปฏิบัติบูชาด้วย กาย วาจา ใจกล่าวคำนอบน้อมพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า


นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (ว่า ๓ หน)

ปฏิญาณตนถือเอาพระรัตตรัยเป็นที่พึ่ง

ปฏิญาณตน ถือเอาพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง ที่ระลึก ของตนที่เรียกว่า พระไตรสรณคมน์ ว่าตามบาลี ดังนี้


พุทธัง สรณัง คัจฉามิ, ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ, สังหัง สรณัง คัจฉามิ


ทุติยัมปิ พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ,ทุติยัมปิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ,ทุติยัมปิ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ


ตติยัมปิ พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ,ตติยัมปิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ, ตติยัมปิ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ

อธิษฐานใจถึงพระไตรสรณคมน์

ต่อจากนั้น ให้อธิษฐานใจถึงพระไตรสรณคมน์ ให้มั่นก่อนว่า


“ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า องค์อรหันต์ผู้ละกิเลสขาดจากสันดาน กับพระธรรมเจ้า กล่าวคือคำสอนของพระองค์ที่เป็นปริยัติธรรม ปฏิบัติธรรม ปฏิเวธธรรม กับพระสังฆเจ้า กล่าวคือ พระโสดา พระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ ว่าเป็นสรณะที่พึ่งที่ระลึกนับถือของข้าพเจ้าตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไป ตราบเท่าชีวิตของข้าพเจ้านี้แล”


พุทธัง ชีวิตัง ยาวนิพพานัง สรณัง คัจฉามิ


ธัมมัง ชีวิตัง ยาวนิพพานัง สรณัง คัจฉามิ


สังฆัง ชีวิตัง ยาวนิพพานัง สรณัง คัจฉามิ
ตั้งเจตนาวิรัติละเว้นในองค์ศีล


ต่อจากนั้น ให้เจตนาวิรัติละเว้นในส่วนแห่งองค์ศีล๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ หรือ ศีล ๒๒๗ ตามภูมิของตนที่จะสามารถรักษาได้ แล้วว่าคำสมาทานรวมลงในที่แห่งเดียวกันอีกว่า


๑ อิมานิ ปัญจสิกขา ปทานิ สมาทิยามิ ให้ว่า ๓ หน นี้สำหรับศีล ๕ แปลว่าข้าพเจ้าสมาทานเอาซึ่งสิกขาบททั้งหลาย ๕ คือ


๑ ปาณาฯ ไม่ฆ่าสัตว์ ๒ อทินนาฯ ไม่ลักทรัพย์ ๓ กาเมฯ ไม่ประพฤติผิดในกาม ๔ มุสาฯ ไม่กล่าวคำเท็จ


๕ สุราฯ ไม่ดื่มสุราเมรัย ( เป็น ๕ ข้อ)


๒ อิมานิ อัฏฐสิกขา ปทานิ สมาทิยามิให้ว่า ๓ หน สำหรับศีล ๘ แปลว่า ข้าพเจ้าสมาทานเอาซึ่งสิกขาบททั้งหลาย ๘ คือ


๑ ปาณาฯ ไม่ฆ่าสัตว์ ๒ อทินนาฯ ไม่ลักทรัพย์ ๓ อพรหฺมจริยาฯ ไม่ประพฤติร่วมสังวาสกับหญิงชายทั้งปวง ๔ มุสาฯ ไม่กล่าวคำเท็จ ๕ สุราฯ ไม่ดื่มสุราเมรัย ๖ วิกาลโภฯ ไม่กินอาหารในเวลาตะวันบ่ายไปแล้ว ๗ นัจจคีมาลาฯ ไม่ดูการละเล่นและตกแต่งประดับประดาอัตตภาพร่างกาย เพื่อความสวยงามต่างๆ ๘ อุจจาฯ ไม่นั่งนอนบนเตียงตั่ง ที่สูงเกินประมาณ และฟูกเบาะทียัดด้วยนุ่นและสำลี (เป็น ๘ ข้อ)


๓ อิมานิ ทสสิกขา ปทานิ สมาทิยามิให้ว่า ๓ หน นี้สำหรับศีล ๑๐ แปลว่า ข้าพเจ้าสมาทานเอาซึ่งสิกขาบททั้งหลาย ๑๐ คือ ปาณาฯอทินนาฯ มุสาฯสุราฯวิกาลโภฯนัจจคีฯมาลาฯอุจจาฯชาตรูฯ ไม่ให้รับเงินทองใช้สอยด้วยตนเอง (เป็น ๑๐ ข้อ)


๔ ศีล ๒๒๗ ให้ว่าดังนี้

ปาริสุทโธ อหัง ภันเต ปาริสุทโธ ติมัง พุทโธ ธาเรตุ


ปาริสุทโธ อหัง ภันเต ปาริสุทโธ ติมัง ธัมโม ธาเรตุ


ปาริสุทโธ อหัง ภันเต ปาริสุทโธ ติมัง สังโฆ ธาเรตุ


เมื่อทำความบริสุทธิ์ของตนด้วยกาย วาจา ใจ ต่อคุณพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสังฆเจ้า แล้วกราบลง ๓ หน แล้วจึงค่อยนั่งราบลง ประณมมือไหว้ทำใจให้เที่ยง

เจริญพรหมวิหาร ๔

จากนั้นเจริญพรหมวิหาร ๔ ถ้าแผ่ไปไม่เจาะจงเรียกว่าอัปปมัญญาพรหมวิหาร ว่าดดยคำบาลีย่อๆ ให้สะดวกแก่ผู้จำยากก่อน ดังนี้เมตตา คือ จิตคิดเมตตารักใคร่ปรารถนาให้ตนและสัตว์ทั้งหลายเป็นสุขทั่วหน้ากัน


กรุณา คือ จิตคิดกรุณา เอ็นดูสงสารตนและคนอื่น


มุทิตา คือ จิตอ่อนน้อมพลายยินดีในกุศลของตนและคนอื่น


อุเปกขา คือ จิตคิดวางเฉยในสิ่งที่ควรปล่อยวางเฉย
นั่งขัดสมาธิ

ต่อนี้ให้นั่งขัดสมาธิ เอาขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย ตั้งกายให้ตรง ดำรงสติให้มั่น อย่าให้ฟั่นเฟือนประนมมือไหว้แล้วระลึกถึงพระพุทธ พระธรรมพระสงฆ์ แต่ในใจว่า


พุทโธ เม นาโถ พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งของข้าพเจ้า


ธัมโม เม นาโถ พระธรรมเป็นที่พึ่งของข้าพเจ้า


สังโฆ เม นาโถ พระสงฆ์เป็นที่พึ่งของข้าพเจ้า


แล้วกล่าวซ้ำอีกว่า


พุทโธ ๆ ธัมโม ๆ สังโฆ ๆ


แล้วปล่อยมือลงข้างหน้าบริกรรมภาวนาแต่คำเดียวว่า


พุทโธ ( ๓ หน)


ต่อจากนั้นให้นึกถึงลมหายใจเข้าออก คือให้นับลมเป็นคู่ๆดังนี้


พุท ลมเข้า โธ ลมออก


อย่างนี้ต่อไปจนถึง ๑๐ ครั้งแล้วให้ให้ตั้งต้นใหม่อีกดังนี้คือ


๑ ลมเข้า พุทโธ หนหนึ่ง


๒ ลมออก พุทโธ หนหนี่ง


ภาวนาอย่างนี้ต่อไปจนถึง ๗ หน แล้วให้ตั้งต้นใหม่อีกดังนี้คือ


ลมเข้า ลมออก ให้ภาวนา พุทโธ หนหนึ่ง


ทำอย่างนี้ไปจนถึง ๕ หน แล้วตั้งต้นใหม่อีกดังนี้คือ


ลมเข้า ลมออก ให้ภาวนา พุทโธ ๓ คำ


ทำอย่างนี้ต่อไปจนครบ ๓ วาระของลมเข้าลมออก ต่อนั้นให้บริกรรมแต่ พุทโธ อย่างเดียวไม่ต้องนับลมอีกต่อไป


วิธีการกำหนดรู้ลม

ปล่อยลมตามสบาย ทำใจให้นิ่ง ๆ ไว้ที่ลมหายใจ เข้าออกที่มีในช่องจมูก เมื่อลมออก อย่าส่งจิตออกตามลม เมื่อลมเข้า อย่าส่งจิตเข้าตามลมทำความรู้สึกอย่างกว้างขวางเบิกบาน แต่อย่าสะกดจิตให้มากเกินไป ให้ทำใจสบายๆ เหมือนเราหายใจออกไปในอากาศโปร่งฉะนั้นทำจิตให้นิ่งอยู่เหมือนเสาที่ปักไว้ริมฝั่งทะเลน้ำทะเลขึ้น เสาก็ไม่ขึ้นตาม น้ำทะเลลง เสาก็ไม่ลงตาม

หยุดคำบริกรรมภาวนา

เมื่อทำจิตนิ่งสงบได้ในขั้นนี้แล้วให้หยุดคำภาวนา พุทโธ นั้นเสีย กำหนดความรู้สึกไว้เฉพาะลมหายใจแล้วค่อยขยับจิตเลื่อนเข้าไปตามกองลม คือ กองลมสำคัญๆ อันจะทำให้เกิดความรู้สึกต่างๆเช่น ทิพพจักขุ ตาทิพย์,ทิพพโสต หูทิพย์ฐ, เจโตปริยญาณ รู้ใจคนอื่น, ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติได้, จุตูปปาตญาณ รู้จักความเกิดตายแห่งสัตว์ต่างๆ ,นานาธาตุวิชชา วิชาความรู้ในเรืองของธาตุต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องถึงอัตภาพร่างกาย อันจะเป็นประโยชน์แก่ร่างกาย


ประสานกองลม

ธาตุเหล่านี้ย่อมเกิดขึ้นจากฐานของลมหายใจ


ฐานที่ ๑ให้ตั้งจิตไว้ที่จมูก แล้วค่อยเลื่อนไปกลางหน้าผากอันเป็นฐานที่ ๒


ฐานที่ ๒ ทำความรู้สึกอย่างกว้างขวาง ทำจิตให้นิ่งไว้ที่หน้าผากแล้วกลับมาที่จมูก ให้เพ่งขึ้นลงในระหว่างจมูกกับหน้าผาก รายกับคนขึ้นภูเขาฉะนั้น ทำให้ได้สัก ๗ เที่ยวแล้วก็นิ่งไว้ที่หน้าผาก อย่าให้จิตลงมาที่จมูกอีก ต่อนั้นให้ตามเข้าไปในฐานที่ ๓


ฐานที่ ๓ ฐานที่ ๓ คือกลางกระหม่อมข้างนอก แล้วหยุดอยู่กลางกระหม่อม ทำความรู้สึกอย่างกว้างขวาง สูดลมในอากาศเข้าไปในศีรษะ กระจายลมครู่หนึ่ง จึงกลับลงมาที่หน้าผาก กลับไป กลับมา ในระหว่างหน้าผากกับกลางกระหม่อมอยู่เช่นนี้ สัก ๑๐ เที่ยว แล้วก็นิ่งอยู่กลางกระหม่อม


ฐานที่ ๔ ตามเข้าไปในฐานที่ ๔ อีกคือ ลงไปในสมองกลางกะโหลกศีรษะ ให้นิ่งอยู่สักครู่หนึ่ง จึงเลื่อนจิตให้ออกไปที่กลางกระหม่อมข้างนอก กลับไป กลับมาติดต่อกันระหว่างกลางกระสมองกับกลางกระหม่อมข้างนอก แล้วก็นิ่งอยู่ที่สมอง ทำความรู้สึกให้กว้างขวาง กระจายลมอันละเอียดจากสมองให้ลงไปเบื้องต่ำ


เมื่อทำจิตมาถึงตอนนี้แล้ว บางทีก็จะเกิดนิมิตขึ้นเป็นต้นว่า รู้สึกขึ้นในศีรษะ แลเห็นหรือรู้สึกเสียวๆ ให้เย็นๆ ร้อนๆ ให้เป็นไอเป็นหมอกสลัวๆ ขึ้น บางทีก็มองเห็นกะโหลกศีรษะของตัวเอง ถึงอย่างนั้นก็อย่าได้มีความหวั่นไหวไปตามนิมิตที่ปรากฏ ถ้าเราไม่ปรารถนาทีจะให้เป็นเช่นนั้น ก็จะสูดลมเข้าไปยาวๆ ถึงหัวอก นิมิตเหล่านั้นก็จะหายไปทันที เมื่อเห็นนิมิตอันใดอันหนึ่งเกิดขึ้นแล้วให้ตั้งสติรู้อยู่ทีนิมิต แต่ให้เอานิมิตเดียว สุดแท้แต่นิมิตอันใดเป็นทีสบาย เมื่อจับนิมิตได้แล้วให้ขยายนิมิตนั้นออกไปให้โตเท่าศีรษะ นิมิตที่ขาวสว่างนั้นมีประโยชน์แก่กาย แก่ใจ คือ เป็นลมบริสุทธิ์สะอาด ลมบริสุทธิ์สะอาดนี้ย่อมเป็นเครื่องฟอกโลหิตในร่างกายท่านได้อย่างดี สามารถจะบรรเทาหรือกำจัดทุกขเวทนาในร่างกายได้ เมื่อทำได้เท่าศีรษะของตนแล้ว ให้เลื่อนลงไปตั้งไว้ในฐานที่ ๕


ฐานที่ ๕ เมื่อวางไว้ในฐานที่ ๕ คือทรวงอกแล้ว ให้นึกเอานิมิตแห่งลมไปตั้งไว้ ขยายออกให้เต็มทรวงอกทำลมอันนั้นให้ขาวสว่าง กระจายลม กระจายแสงสว่างไปทั่วทุกขุมขน จนกว่าจะมองเห็นส่วนต่างๆ ของร่างกายปรากฏเป็นภาพขึ้นมาเองถ้าไม่ต้องการภาพอันนั้น ก็ให้สุดลมหายใจยาวๆ เสีย ๒-๓ ครั้ง ภาพนั้นก็จะหายไปทันทีแล้วทำให้จิตนิ่งอยู่โดยกว้างขวาง แม้จะมีนิมิตอะไรผ่านมาในรัศมีแห่งลม อย่าเพิ่งไปจับเอาอย่าทำจิตให้หวั่นไหวไปตามนิมิต ประคองจิต ไว้ให้ดี ทำจิตให้เป็นหนึ่ง พยายามตั้งจิตไว้ในอารมณ์อันเดียว คือ ลมหายใจอันละเอียดและขยายลมอันละเอียดนั้นให้กว้างขวางออกไปทั่วสรรพางค์กาย


เมื่อทำจิตถึงตอนนี้ จะค่อยเกิดวิชาความรู้ขึ้นตามลำดับ กายของเราก็จะเบาเหมือนปุยนุ่น ใจก็จะเอิบอิ่ม นิ่มนวล วิเวกสงัด ได้รับความสุขกายสบายจิตเป็นอย่างยิ่ง เมื่อต้องการวิชาความรู้ต่าง ๆ ก็ทำจิตให้นิ่ง วางอารมณ์ทั้งหมดให้เหลืออยู่แต่ความสว่างความว่าง อย่างเดียว


เมื่อประสงค์สิ่งใดในส่วนวิชาความรู้หรือนิมิตเป็นภาพปรากฏขึ้นทันที เรียกว่า มโนภาพ ถ้าจะให้ดีและชำนาญในสิ่งเหล่านี้ให้ศึกษากับท่านผู้เคยปฏิบัติในทางนี้จะดีมากเพราะวิชาตอนนี้ เป็นวิชาที่เกิดขึ้นจากสมาธิอย่างเดียวเท่านั้น


วิชาในเรื่องสมาธินั้นมีอยู่ ๒ แผนก เป็นไปด้วยกับโลกีย์อย่างหนึ่ง เป็นไปกับด้วยโลกุตรอย่างหนึ่ง วิชาโลกีย์ คือ ติดความรู้ความเห็นของตนเองนี้หนึ่ง ติดสิ่งทั้งหลายที่มาปรากฏให้เรารู้เราเห็นนี้อย่างหนึ่ง วิชาก็ดี สิ่งที่ให้เรารู้เราเห็นด้วยอำนาจแห่งวิชาก็ดีเป็นของจริงและของไม่จริงเจืออยู่ด้วยกันทั้งสิ้นแต่ของจริงในที่นี้เป็นส่วนสังขารธรรมทั้งสิ้นขึ้นชื่อว่าสังขารแล้ว ย่อมไม่เที่ยง ไม่มั่นคงถาวร


ฉะนั้น เมื่อต้องการโลกุตรต่อไป ให้รวมสิ่งที่เรารู้ เราเห็นทั้งหมดเข้ามาเป็นจุดอันเดียวคือ เอกัคคตารมณ์ ให้เห็นเป็นสภาพอันเดียวกันทั้งหมด เอาวิชาความรู้ทั้งหลายเหล่านั้นให้มารวมอยู่ในจุด อันนั้นจนรู้แจ้งเห็นจริงว่า สิ่งทั้งหลายเหล่านี้เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไปเป็นธรรมดา แล้วอย่ายึดถือในสิ่งที่รู้ ที่เห็นมาเป็นของๆ ตน อย่ายึดความรู้ความเห็นที่เกิดจากตนมาเป็นของๆ ตน ให้ปล่อยวางเสียตามสภาพถ้าไปยึดถืออารมณ์ ก็เท่ากับยึดทุกข์ ยึดความรู้ของตนจะเกิดเป็นเหตุแห่งทุกข์คือ สมุทัย


ฉะนั้น จิตที่นิ่งสงบเป็นสมาธิแล้วเกิดวิชชา ๆ นั้นเป็นมรรค สิ่งทีเรารู้ต่างๆ ที่ผ่านมาเป็นทุกข์ จิตเราอย่าเข้าไปยึดเอาวิชชา อย่าเข้าไปยึดเอาอารมณ์ที่มาแสดงให้เรารู้ ล่อยวางไปตามสภาพ ทำจิตให้สบายๆ ไม่ยึดจิต ไม่สมมุติจิตของตนว่า เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ถ้ายังสมมุติตนเองอยู่ตราบใด ก็เป็นอวิชชาอยู่ตราบนั้นเมื่อรู้ได้โดยอาการอย่างนี้ ก็จะกลายเป็นโลกุตรขึ้นในตนจะเป็นบุญกุศลอย่างประเสริฐสูงสุดในฐานะที่เป็นมนุษย์พุทธบริษัทของพระพุทธเจ้า

ถ้าจะสรุปให้สั้นเข้า หลักในการปฏิบัติก็มีดังนี้ คือ

1 กำจัดอารมณ์ที่ชั่วออกจากจิตให้หมด
2 ทำจิตให้อยู่ในอารมณ์ที่ดี
3 อารมณ์ที่ดีต่างๆ ให้ต้อนเข้าไปรวมอยู่ในจุด อันเดียวที่เรียกว่า เอกัคคตารมณ์
4 พิจารณาอารมณ์หนึ่งนั้นให้เป็น อนิจจัง ไม่เที่ยง ทุกขัง เป็นทุกข์ อนัตตา ไม่ใช่ ตัวตน สัตว์บุคคลว่างเปล่า
5 วางอารมณ์ทีดีและอารมณ์ที่ชั่วไปตามสภาพของอารมณ์เพราะดีและชั่วย่อมอยู่ด้วยกัน มีสภาพเสมอกัน วางจิตไว้ตามสภาพของจิต รู้ไว้ตามสภาพแห่งรู้ รู้นั้นไม่รู้จักเกิด ไม่รู้จักดับ นั้นแลคือ สันติธรรมดีก็รู้ ดีไม่ใช่รู้ รู้ไม่ใช่ดี ชั่วก็รู้ รู้ไม่ใช่ชั่ว ชั่วไม่ใช่รู้คือรู้ไม่ติดความรู้ รู้ไม่ติดสิ่งที่รู้ นั้นแหละคือ ธรรมชาติธาตุแท้อันบริสุทธิ์ผุดผ่อง เหมือนน้ำ ที่อยู่ในใบบัวฉะนั้นจึงเรียกว่า อสังขตะธาตุ เป็นธาตุแท้


เมื่อใครทำได้เช่นนี้ก็จะเห็นของดีวิเศษเกิดขึ้นในใจแห่งตนจะเป็นกุศลวาสนาบารมีของท่านผู้ปฏิบัติในทางสมถกัมมัฏฐานวิปัสสนากัมมัฏฐาน จะได้ผล ๒ ประการกล่าวคือ โลกียผลที่จะให้สำเร็จประโยชน์อนามัยของร่างกายแห่งท่าน และคนอื่นๆ ทั่วไปในสากลโลกนี้ ประการหนึ่ง ประการที่ ๒ จะได้โลกุตรผลอันเป็นประโยชน์อนามัยในด้านจิตใจของท่าน มีความสุข ความเยือกเย็น และความราบรื่นชื่นบาน ก็จะถึงพระนิพพาน เป็นเบื้องหน้า ไม่ต้องเกิด แก่ เจ็บ ตาย ได้อรรถาธิบายมาโดยย่อ พอเป็นหัวข้อปฏิบัติของท่านพุทธบริษัทผู้นับถือพระพุทธศาสนา หากท่านมีความสงสัยขัดข้องจากการปฏิบัติตามแนวคิดดังกล่าวไว้ในตำราเล่มนี้โดยประการใดๆ ต้องการจะศึกษาจากผู้ให้แนวความคิดที่กล่าวมานี้ ยินดีทีจะส่งเสริมชี้แจงข้อสงสัยของท่าน ตามกำลังความสามารถของผู้เขียนเพื่อให้สำเร็จสันติสุขในทางพระศาสนาโดยทั่วหน้ากัน
จบ

เห็นผิดจากสัจธรรม wrong view

เห็นผิดจากสัจธรรม
โดย สมลักษณ์ วันโย

บึงสังข์แหล่งน้ำขนาดใหญ่ทีมีมาแต่โบราณกาลไม่เคยมีการเหือดแห้งเลยชั่วนาตาปี อุดมไปด้วยพืชพันธ์ธัญญาหาร มีต้นยางใหญ่อยู่ด้านทิศตะวันออกของบึง เหล่าสกุณาน้อยใหญ่ก็พากันมาอาศัยนับไม่ถ้วน ที่เห็นมากกว่าเหล่าอื่นเห็นจะได้แก่ “ อีแร้ง” ฝูงใหญ่ที่มาเกาะอาศัยอยู่ยอดยางใหญ่ มีอยู่หลายๆ ต้น สูงเสียดฟ้า


เวลาอีแร้งออกหากินหรือแม้แต่ยามกลับสู่รังบนต้นยางใหญ่ ปีกอันกว้างใหญ่ที่กระทบเสียดสีกับอาอากาศดังประดุจเครื่องบินเจ็ทขนาดใหญ่ทีเดียว เวลาใดที่มีหมาตาย หรือควายตายก็ตาม ผู้คนสมัยนั้นก็มักจะเอาไปทิ้งไว้ตามท้องทุ่ง เหล่าเทศบาลใหญ่ก็ถลาลงจากฟ้า เป็นฝูงๆ มีประเภทคอเทา คอแดง คอเหลืองบ้างก็มี พากันมาจัดการชำระซากสัตว์เหล่านั้นจนหมดสิ้นภายในเวลาอันไม่นานเลย


แต่น่าเสียดาย ในสมัยปัจจุบัน ผู้คนก็กินวัวควายจนหมดไม่เหลือไว้ให้พวกอี้แร้งเหล่านี้เลย เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ ก็พากันบินจากแดนไทย มุ่งตะวันตก สู่กรุงพาราณสีแดนภารตะกันไกลโพ้น เพื่อแสวงหาอาหารที่ยังอุดมสมบูรณ์อยู่ ณ ริมฝั่งแม่น้ำคงคา


ทุกๆ วันจะมีผู้คนนำเอาศพคนตาย มัดใส่บันใดไม้ไผ่ผ้าคลุมแล้วก็หามไปยังฝั่งแม่นำคงคา ขณะทีหามไปก็สวดไปด้วยว่า


“ ราม ราม สัตตะแฮะ” ว่าไปเรื่อยๆ ไม่มีหยุดจนกว่าจะถึงสถานที่เผาศพริมฝั่งคงคา


การเผาก็ไม่ได้เผาให้ไหม้ เพียงแต่ยกขึ้นสู่ไฟ พอทำเป็นพิธีว่าไฟได้ไหม้แล้วก็โยนลงสู่แม่น้ำคงคาไหลสู่คุ้งตรงข้าม มีเหล่าอีแร้งเป็นล้านๆ ตัวรอคอยอยู่ด้วยความยินดี เพราะเหตุที่น้ำคงคาหน้าเมืองพาราณสีเป็นคุ้ง น้ำจึงไหลเวียนวน


แม้ว่าแม่น้ำคงจะจะเต็มไปด้วยซากศพที่ถูกทิ้งลงไปทุกๆ วันมิได้ขาด แต่ความที่คงคงไหลมาจากสวรรค์แดนหิมพานต์อันไกลโพ้น หิมะที่ละลายลงสู่สระอโนดาต แล้วล้นไหลลงสู่ดินแดนมนุษย์มิขาดสายนอกจากจะหล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนและสัตว์ให้ดำรงอยู่ได้แล้ว ก็ยังชำระบาปกรรม อันมนุษย์ที่เน่าเหม็นให้สะอาดได้ เพราะเหตุที่คงคงไม่เคยหยุดไหลนี่เอง จึงมีประเพนีการอาบน้ำในแม้น้ำคงคงมีอยู่ไม่เว้นวายเลยทีเดียว


เพราะมนุษย์เป็นผู้ไม่สะอาดนี่เอง ในคัมภีร์พราหมณ์จึงบัญญัติให้ต้องอาบน้ำ เพื่อชำระบาป บาปก็คือความสกปรกโสมมที่หมักหมมอยู่ในกายนั้นเอง เพราะเหตุนี้เอง ในทางพระพุทธศาสนาจึงสอนให้พิจารณากายให้เห็นเป็นของไม่สะอาดมีประการต่างๆ คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยือในกระดูก ม้าม ตับ หัวใจ ปอด อาหารเก่า (ขี้) อาหารใหม่ น้ำดี น้ำเสลด น้ำเลือด น้ำเหลือง เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูตร เป็นต้น


แม้กายนี้จะเต็มไปด้วยของไม่สะอาดแท้จริงเพียงใดก็ตาม แต่มนุษย์เราส่วนมากก็ยังหลงติดยึดว่า กายนี้สวยงาม มีประการต่างๆ เช่น ผมงาม ขนงาม เล็บงาม ฟันงาม หนังงาม เป็นต้น ก็หลงกันว่า หนังสาวคนนี้งาม ไปประกวดแข่งหนังกันว่าหนังใครจะงามกว่ากันเป็นต้น แต่เวลาหนังที่มีเหงื่อออกมา หากไม่ได้อาบน้ำชำระก็มีกลิ่นเน่าเหม็นตึตัง ไม่อยากเข้าใกล้เลย ตนเองก็เหม็นตนเอง คนอื่นก็เหม็นอยากจะหลีหนีให้ห่างไกล แม้จะเป็นถึงเพียงนี้ ผู้คนก็ยังแก่งแย่งหนังที่เหม็นๆ นี่ ต้องเข่นฆ่าทำลายล้างแย่งกันเป็นเจ้าของหนังที่เหม็นเน่าอันนี้มีข่าวให้รู้ได้เห็นอยู่ไม่เว้นแต่ละวันเลยทีเดียว


การทีเราทั้งหลายเห็นว่าหนังเป็นของสวยงาม แต่พระพุทธองค์ตรัสว่าเป็นวิปลาส คือ คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ของจริงมันไม่สวยและเหม็น แต่เราเห็นว่ามันสวย และไม่เหม็น ถึงเหม็นก็ของมาแก้เอา เช่นน้ำหอมเป็นต้น แล้วก็ว่านี่เห็นไหมไม่เหม็นแล้ว เป็นต้น แต่ความจริงแล้วมันเหม็นอยู่นั่นเอง นี่คือความวิปลาสของพวกเราทั้งหลาย ที่เห็นผิดจากสัจจธรรม
จบ

อำนาจกรรม kamma power

อำนาจกรรม “ ที่ทำด้วยความประมาท และความโลภ”

ในกาลครั้งหนึ่ง เมื่อไม่นานมานี้ มีเจ้าคณะจังหวัดรูปหนึ่ง ในจังหวัดภาคเหนือ เป็นที่เคารพของพุทธศาสนิกชนเป็นอันมาก มีอำนาจเหนือหมู่สงฆ์ในภาคนั้น


อยู่มาวันหนึ่ง เจดีย์ประจำจังหวัดบรรจุพระบรมธาตุมาแต่โบราณชำรุดมาก จึงได้ให้ช่างรื้อยอดพระเจดีย์ ปรากฏว่ายอดนั้นหุ้มด้วยทองคำแผ่น เป็นทองดีมาก เมื่อนำลงมาแล้ว ได้ตกลงกับช่างจะนำขึ้นไปบุทองเช่นเดิม เมื่อซ่อมปูนเสร็จแล้ว


ภายหลังเกิดความโลภในทองขึ้นมา เมื่อซ่อมปูนเสร็จแล้ว จึงใช้ทองแปลวขึ้นไปปิดที่ยอดแทนทองคำเดิม ดูประหนึ่งว่านำไปปิดเช่นเดิม นำทองแท้ไปจำหน่ายได้เงินมาเป็นของตน แบ่งให้ช่างไปบ้าง ปกปิดความาไว้แต่ผู้เดียว


เมื่อมีเงินมาก ด้วยความโลภจึงลาสิกขา แล้วนำเงินที่ได้มาจากการลอกทองจากยอดพระเจดีย์คู่บ้านคู่เมือง ไปประกอบอาชีพ


ด้วยความมั่งมีเงิน จึงได้ขอแต่งงานกับหญิงคนหนึ่งในหมู่บ้านนั้น เธอก็ยินยอมพร้อมใจทั้งมารดา บิดา อยู่ไม่นาน เธอก็ได้กำเนิดบุตรคนหนึ่ง


เป็นทีน่าอัศจรรย์ บุตรของเธอ เมื่อคลอดออกมาแล้ว ไม่มีหนังหุ้มตัวเลย กลายเป็นชิ้นเนื้อแดง เต็มไปด้วยเลือดสดๆ ไหลทั่วตัว ในที่สุดเด็กก็ตาย เป็นที่โจทย์ขานกันในหมู่บ้าน ว่าทำไมเป็นเหตุวิปริตเช่นนั้น ต่างวิภพากวิจารณ์กันไปทั่ว


ส่วนบิดาของเด็กนั้น ในขณะนอนหลับ ภรรยาตื่นมาเห็นประหนึ่งคนร่างใหญ่นอนขวางห้อง เหมือนเปรตวิกลจริตเช่นนั้น จนเป็นทีหวาดกลัว ในที่สุดก็อยู่ด้วยกันไม่ได้ ฟ้องหย่ากันกลายเป็นคนตกยาก ทรัพย์ที่ได้มาก็หมดไป ต้องเทียวขอเขากิน โรคภัยเข้ารุมเร้าจนเป็นคนพิการ สุดท้ายเขาเป็นโรคผิวหนังเป็นผื่นคัน เป็นขุยตามตัว จนดูน่าทุเรศ ไม่มีใครอยากเข้าใกล้ แขนขายึดงอไปทั้งตัว ตายอย่างน่าเวทนาที่สุด ชาวบ้านช่วยกันจัดการเผาศพให้ด้วยเห็นว่าเคนได้ทำดีไว้บ้าง


เรื่องนี้แสดงถึงอำนาจกรรม แสดงอำนาจให้ประจักษ์ในปัจจุบัน ก่อนถึงภพหน้า ชาติหน้า แม้มีอำนาจสูงศักดิ์ ดูจะไม่มีใครจะมาต่อสู้กับคนได้ก็จริง


แต่อำนาจภายใน คือความโลภนั้น ทำลายสภาพแห่งความเจริญงอกงามของจิต ให้ตกต่ำในเวลามีชีวิต ในตัวเองอย่างรุนแรงแล้ว แสดงผลเป็นความเสื่อมโทรมของร่างกายให้ปรากฏทุกขเวทนา เผ็ดร้อนสาหัส สมแก่กรรมที่ตนได้ทำไว้


ดังตัวอย่างอดีตเจ้าคณะจังหวัดท่านนี้ ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง แต่ได้สงวนนามท่านไว้ ท่านอยู่ในจังหวัดภาคนั้นทราบกันดี


พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสวา “ กรรมย่อมจำแนกสัตว์ ให้เลว ดี ต่างกัน กับคนชั่วยังเห็นเป็นดีอยู่ ตราบเท่าที่ความชั่วยังไม่ให้ผล เมื่อใดความชั่วให้ผล เมื่อนั้น คนชั่วย่อมเห็นความชั่ว คนดี ยังเห็นเป็นชั่วอยู่ ตราบเวลาที่ความดียังไม่ให้ผล เมื่อใดความดีให้ผล เมื่อนั้น คนดีย่อมเห็นความดี”


บุคคลไม่ได้เป็นด้วยคนดี เพราะชาติกำหนด หากเป็นเพราะการกระทำ( กรรม) บุคคลเป็นชาวนา เป็นนักศิลปะ เป็นพ่อค้า เป็นคนรับใช้ เป็นโจร เป็นตำรวจ เป็นทหาร เป็นพระภิกษุ เป็นพระมหากษัตริย์ ก็เพราะการกระทำ


โลกเป็นไปเพราะกรรม หมู่สัตว์ เป็นไปเพราะกรรม สัตว์ทั้งหลายผูกพันอยู่ที่กรรม ประดุจลิ่มสลัก เป็นเครื่องยึดที่แล่นไปอยู่ฉะนั้น


สรุปแล้วลงความได้ว่า มนุษย์ทั้งหลายที่เกิดมาในโลกนี้ เพราะกรรมเก่าปรุงแต่งให้เกิดมา ความเป็นไปในวิถีชีวิต



เรื่องที่ ๒ นายยกเหา birth and rebirth

เรื่องที่ ๒ นายยกเหา
เจ้าคุณรัตนธัชมุนี ( อิสสรญาโณ) วัดบวรนิเวศ กรุณาบันทึกส่งมาให้

ในบ้านสวนใหม่ ตำบลเกาะยอ จังหวัดสงขลา มีสุภาพบุรุษคนหนึ่ง ชื่อนายยกเหา เป็นคนสุภาพเรียบร้อย คนโดยมากนับถือ ได้ยินว่าแกปรารถนาพุทธภูมิด้วย เมื่อแกอายุกลางๆ คน ขนาด๔๐-๕๐ แกเจ็บตาย เมื่อใกล้ตาย คนไปเยี่ยมอยู่มาก ลูกเมียแกร้องให้ แกยังเทศน์สอนว่า อย่าร้องให้ ให้ถือเอาตัวแกเป็นตัวอย่าง คนเกิดมาแล้วไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา อย่างนี้แล้วแกก็ดับจิตไป


เมื่อแกตายแล้วประมาณ ๑๐ ปีเศษ มีหญิงคนหนึ่งอายุ ๑๓- ๑๘ ปี อยู่บ้านห่างกันมาก ชื่อคิ้น ปอกสัปปะรด มีดเถลิกไปบาดเอาที่เท้ากลายเป็นบาดพิษ นอนสลบไปหลายวัน ร้อนอยู่ที่หน้าอกแห่งเดียวเท่านั้น พอรู้สึกขึ้นมา เล่าเรื่องราวที่ไปเห็นคนที่ได้เสวยสุขและทุกข์อยู่ แม้แต่คนที่ตายไปก่อน หญิงคนนั้นเกิด และคนที่หญิงคนนั้นเกิดจำได้แล้ว ว่าคนนึ้นเสวยสุขอยู่อย่างนั้นๆ เพราะทำกรรมดี บางคนเสวยทุกข์อยู่ เพราะทำดีชั่วอย่างนั้นๆ น.ส.คิ้น บอกว่า ผู้เสวยทุกข์ เสวยสุขบอกนางเอง จำทั้งชื่อและรูปพรรณสัณฐานมาเล่าให้เขาฟังด้วย ผู้ใหญ่ที่ได้ยินเธอเล่า ก็รับรองว่าจริงอย่างที่พูด


เมื่อเที่ยวไปได้พบบุรุษคนหนึ่ง อายุกลางคน คือ นายยกเหา ที่ออกชื่อมาแล้วในเรื่องข้างต้นนั้นเอง ติดเครื่องพันธนาการ แก่สั่งว่าเมื่อกลับไปแล้วอย่าคบกับลูกสาวแก มันไม่มีเมตตากรุณาต่อสัตว์อื่น เมื่อแกตายเวลาจะสิ้นใจ สุนัขหอนขึ้น จิตไปประวัติในเสียงสุนัขเลยไปเกิดเป็นสุนัขแดงอยู่ ๓ ปี เมื่อยังเป็นลูกสุนัข ขึ้นไปนอนบนเรือนด้วยสำคัญว่าเรือนของตัว นึกว่าจะได้กิน แต่ลูกสาวทุบตีบ้าง ฉวยคอซัดลงมาบ้าง ไม่เคยได้กิน ลูกชายเคยห้ามพี่สาวว่าอย่าทำอย่างนั้น ควรจะเอ็นดูมันบ้าง ลูกสาวก็ไม่ฟัง ยังทำอย่างเดิม เกิดเป็นสนัขอยู่ ๓ ปี ได้กินอิ่มทีเดียว เมื่อคราวแต่งงานบ่าวสาว มีบุรุษคนหนึ่งชื่อนายซ้าย เอาอาหารไปให้กินอิ่ม เมื่อกินอิ่มแล้วไปนอนเอาหัวพาดบันใดบ้านนายเฉ้ยไล่ ตายแล้วมีคนเอาไปทิ้ง


เมื่อตายจากสุนัขมาเกิดติดพันธนาการอยู่นี่แหละ นางคิ้นถามว่า ที่ติดพันธนาการเพราะกรรมอะไร แกบอกว่าเพราะกินที่สวนเขา คือสวนนายซ้ายผู้ที่ให้อาหารกิน เมื่อเป็นสุนัขอยู่นั้นเอง นางคิ้นถามว่า เมื่อไรจะหลุด แกบอกว่า เจ้าของสวนเขายังไม่ตายยังไม่ได้ชำระกัน เมื่อชำระกันแล้วก็คงจะหลุดพ้นไปได้


นายเอียด ลูกชายของนายยกเหานั้น เป็นคนเฉลียวฉลาดมาก พอรู้ว่านางคิ้นเล่าให้คนฟังว่าบิดาเธอเกิดเป็นสุนัข และตายจากสุนัขไปติดพันธนาการอยู่ดังกล่าวมาแล้ว เธอจะเอากระดาษฟุลสแก็ปดินสอไปตามจดคำของนางคิ้นเอง นางคิ้นก็เล่าให้ฟังดังกล่าวมาแล้ว นายเอียดยังซักไซ้ว่าบิดาของเธอรูปพรรณสัณฐานอย่างไร นางคิ้นก็บอกว่าตัวขาว เป็นคนล่ำสัน อายุประมาณกลางคน เธอย้อนถามว่ามีตำหนิแผลอะไรที่ไหนบ้าง นางคิ้นตอบว่าเป็นแผลเป็นอยู่ที่ขมับเบื้องขวา นายเอียดบอกว่าเขาเองหรือ แม้แต่แม่ของเขาก็จำไม่ได้เสียแล้วว่าบิดามีแผลเป็นอยู่ทีขมับ เมื่อนางคิ้นบอกขึ้นก็นึกได้


เมื่อข้าพเจ้าออกไปสงขลา คนอื่นๆ เล่าให้ฟัง และนายเอียดลูนายยกเหา เมื่อกลับไปบ้านตรวจดูเขตแดนสวน ตามที่บิดาบอกว่ากินที่สวนเขาเข้าไป ก็จริงอย่างทีบิดาบอก ซึ่งก่อนนั้นเขาไม่ได้รู้เรื่องมาเลย คือ ต้นสวนอยู่ริมทะเล ปลายสวนขึ้นภูเขาไปกินที่เขาที่ปลายสวนบนภูเขานั้นเอง


นี่เป็นคนที่นายเอียดเล่าให้ฟังเอง และเขารับรองว่าที่นางคิ้นพูดนั้นเป็นจริงทั้งหมดไม่เคลื่อนคลาดเลย และเขาบอกว่าเมื่อบิดาตาย นางคิ้นจะเกิดแล้วหรือไม่เขาจำไม่ได้ แต่ไม่เคยไปบ้านเขาเลย


อัตถาธิยายพร้อมทั้งนิทานสาธก เรื่องกรรมจำแนกสัตว์ให้เป็นต่างๆ กันโดยย่อนี้ หวังว่าจะเป็นเครื่องเกื้อกูลแก่กุศลสัมมาปฏิบัติของผู้สนใจ และไม่ประมาทตามสมควร แม้ตั้งสัจอธิฏฐานว่าจะทำแต่กรรมดีตามสามารถจะไม่ทำกรรมชั่วอย่างเด็ดขาด ดังนี้ ผลดีและความสุขก็จะตามสนองตามสมควร ถ้าท่านคอยสังเกตจะเห็นได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องมีใครมาพยากรณ์ แต่คนอ่อนปัญญามักไม่เห็นผลดีที่ประณีต เช่นใจสูงสะอาด เมตตา กรุณา สามารถร่างกายสมบูรณ์ ทรัพย์ไม่วิบัติเหล่านี้ โดยมากมักเห็นผลดีหยาบๆ เช่น การได้ลาภ ได้ยศ สรรเสริญ ความสนุก เจือทุกข์แต่เข้าใจว่าสุข เพราะไม่รู้จักสุขจริงๆ แต่ผลดีหยาบๆ นั้นเป็นของก็มี เป็นของเทียมก็มี


เพราะเหตุนี้ ขอเชิญชวนทุกท่านที่ได้อ่าน ฟังแล้ว น้อมใจนึกถึงคุณ พระรัตนตรัย คือ พระพุทธรัตน พระธรรมรัตนะ พระสังฆรัตนะ มากๆ ให้เกิดปัญญาแก่กล้าสามารถเห็นทั้งผลดีและความสุขที่เป็นภายใน ตลอดถึงผลดีภายนอกแล้วทำให้ชีวิตให้เป็นสาระทั่วกันเทอญ.ฯ
จบ

กรรมมีอำนาจ the power of kamma

กรรมมีอำนาจ
จาก หนังสือ พระนิพนธ์, พระธรรมเทศนา คติธรรม สมเด็จพระสังฆราช,พระศาสนโศภณ อดีตเจ้าอาวาส
๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๖ ( วัดมกุฏกษัตริยาราม)

เรืองที่ ๑ นายทองสุก
พระครูสังฆรักษ์สมบุญบันทึกมาให้

นายทองสุก ปาละกุล ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลบางอ้อ อำเภอบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เป็นผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา มีการให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา รักษาอุโบสถ สร้างถนน กุฏิ ศาลา โบสถ์ตามวัดต่างๆ เช่น ซ่อมแซมพระอุโบสถวัดจันทนาราม บางพลัดใน วัดจันทร์ บางกรวย วัดตึก บางกรวย วัดแก้วฟ้า บางซื่อ วัดบางอ้อ และย้ายกุฏีหอสวดมนต์มาปลูกใหม่ นอกจากนี้ ยังสละทรัพย์ช่วยวัดต่างๆ อีกมาก เช่น วัดอาวุธฯ วัดบางพระครู วัดละมุด วัดบางโพธิ์ วัดสร้อยทอง วัดศาลา ด้วยอานิสงส์ดังกล่าวนี้ ได้เกิดวิมานไปคอยอยู่บนสวรรค์ คือ


อุบาสกคนหนึ่ง ชื่อ นายโต บ้านอยู่บางช้าง จังหวัดสมุทรสงคราม ได้เที่ยวสืบหานายทองสุก ปาละกุล บางอ้อ ด้วยปรารถนาจะทราบข้อเท็จจริง ในการที่ตนได้ไปเห็นวิมานของนายทองสุก เมื่อคราวตนป่วยไข้สลบไปนานนั้น เพราะเรื่องที่ตนเห็นนั้น เป็นเรื่องจับตาจับใจ จนก่อให้เกิดศรัทธาเลื่อมใสสในการทำบุญ การกุศลขึ้นเป็นอันมาก ที่สุด นายโต ก็ได้ไปถึงบ้านนายทองสุก ปาละกุล บางอ้อ นายทองสุก นึกสงสัยว่า นายคนนี้ท่าทางเป็นชายชนบทไม่เคยรู้จัก แกมาธุระจะขอยืนเงินหรืออะไรกัน แต่พอทักทายปราศรัยกัรนแล้ว นายโตก็เล่าเหตุการณ์ให้ฟังว่าตนได้ป่วยเป็นไข้ถึงกับสลบไป ในระหว่างที่สลบไปนั้น ได้เที่ยวไปเห็นสิ่งมหัศจรรย์มากมาย ล้วนเป็นสมบัติของผู้มีบุญต่างๆ ที่ได้กระทำไว้ แล้วไปเสวยสมบัตินั้นๆ ในคราวเดียวกันก็ได้ไปเห็นวิมานทองหลังหนึ่งสวยงามมาก จึงถามคนรักษา ได้ความว่า เป็นวิมานของนายทองสุก ปาละกุล ซึ่งยังมีชีวิตอยู่ในโลกมนุษย์ แต่ด้วยบุญกุศลที่นายทองสุกได้สร้างไว้มาก จึงบันดาลให้มีวิมานปรากฏคอยที่เห็นอยู่นี้


เมื่อได้ฟังดังนั้น นายโต ก็เกิดความปีติเลื่อมใสในบุญกิริยาของนางทองสุกยิ่งนัก และตั้งใจว่า เมื่อตนหายป้วยแล้ว จะต้องไปพบนายทองสุก เพื่อสมทบทุนสร้างพระอุโบสถบ้าง โดยขอบริจาคทรัพย์ ๘๐ บาท เพราะว่าขณะนั้น นายทองสุก กำลังซ่อมสร้างพระอุโบสถ วัดใหม่ตึก ตำบลบางกรวย นนทบุรีอยู่ นายทองสุกจึงรับทุนทรัพย์ของนายโตไว้ พร้อมกับการต้อนรับด้วยอาหารคาวหวานเป็นอย่างดี พอรุ่งเช้า ตายโตก็ลากลับสู่บ้านของตน นายทองสุกนั้นได้ถึงมรณะเมื่อยี่สิบปีกว่ามาแล้ว.
จบ