วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2555

นิธิกัณฑสูตร


นิธิกัณฑสูตร
นิธิง นิเธติ ปุริโส                                              บุรุษย่อมฝังขุมทรัพย์ไว้
คัมภีเร อุทะกันติเก                                           ในทีลึกมีน้ำเป็นที่สุด
อัตเถ กิจเจ สมุปปันเน                                     ด้วยคิดว่า เมื่อกิจที่จำเป็นเกิดขึ้น
อัตถายะ เม ภวิสสะติ                                       ทรัพย์นี้จักเป็นประโยชน์แก่เรา
ราชโต  วา ทุรุตตัสสะ                                      เพื่อเปลื้องตนรากราชภัยบ้าง
โจรโต ปีฬิตัสสะ วา                                         เพื่อช่วยตนให้พ้นจากโจรภัยบ้าง
อิณัสสะ วา ปะโมกขายะ                                  เพื่อเปลื้องหนี้บ้าง
ทุพภิกเข อาปะทาสุ วา                                                ในคราวทุพภิกขภัยบ้าง ในคราวคับขันบ้าง
เอตะทัตถาย โลกัสมิง                                       ขุมทรัพย์ที่ฝังไว้ในโลกก็เพื่อประโยชน์นี้แล
นิธิ นามะ นิธิยยะติ                                          ขุมทรัพย์ทีฝังไว้เป็นอย่างดี
ตาวัสสุนิหิโต สันโต                                         ในที่ลึกมีน้ำเป็น
คัมภีเร อุทะกันติเก                                           ที่สุดเพียงนั้น
นะ สัพโพ สัพพะทาเยวะ                                 ขุมทรัพย์นั้นทั้งหมด  ย่อมหาสำเร็จประโยชน์แก่เขา
ตัสสะ ตัง อุปะกัปปะติ                                     ในกาลทั้งปวงทีเดียวไม่
นิธี วา ฐานา จะวะติ                                         เพราะขุมทรัพย์เคลื่อนจากที่เสียบ้าง
สัญญา วาสสะ วิมุยหะติ                                  ความจำของเขาเคลื่อนคลาดเสียบ้าง
นาคา วา อะปะนาเมนติ                                   นาคทั้งหลายลักไปเสียบ้าง
ยักขา  วาปิ หะรันติ นัง                                    ยักษ์ทั้งหลายลักไปเสียบ้าง
อัปปิยา วาปิ ทายาทา                                       ผู้รับมรดกทีไม่ชอบกัน
อุทธะรันติ อะปัสสะโต                                     ขุดเอาไปเมื่อเขาไม่เห็นบ้าง
ยะทา ปุญญักขะโย โหติ                                   ในเวลาที่เขาสิ้นบุญ
สัพพเมตัง วินัสสะติ                                        ขุมทรัพย์ทั้งหมดนั้น ย่อมสูญไป
ยัสสะ ทาเนนะ สีเลนะ                                     ขุมทรัพย์คือบุญของผู้ใด
สัญญะเมนะ ทะเมนะ จะ                                  เป็นหญิงก็ตาม เป็นชายก็
นิธิ สุนิหิโต โหติ                                              ตาม ฝั่งไว้ดีแล้ว ด้วยทาน ศีล ความสำรวม และ
อิตถิยา ปุริสัสสะวา                                          ความฝึกตน
เจติยัมหิ จะ สังเฆ วา                                       ในเจดีย์ก็ดี ในสงฆ์ก็ดี
ปุคคะเล อติถีสุ วา                                           ในบุคคลก็ดี ในแขกก็ดี
มาตะริ ปิตะริ วาปิ                                           ในมารดาก็ดี ในบิดาก็ดี
อะโถ เชฏฐัมหิ ภาตะริ                                     ในพี่ชายก็ดี
เอโส นิธิ สุนิหิโต                                              ขุมทรัพย์นั้น ชื่อว่าฝังไว้ดีแล้ว
อเชยโย อนุคามิโย                                            ใครๆ ไม่อาจะผลาญได้ เป็นของติดตามตนได้
ปะหายะ คะมะนีเยสุ                                        บรรดาโภคะทั้งหลายจำต้องละไป
เอตัง อาทายะ คุจฉะติ                                      เขาจะพาขุมทรัพย์คือบุญนั้นไป
อะสาธารณะมัญเญสัง                                      ขุมทรัพย์คือบุญไม่สาธารณะแก่ชนเหล่าอื่น
อโจระหะระโณ นิธิ                                           โจรก็ลักไปไม่ได้
กะยิราถะ ธีโร ปุญญานิ                                    บุญนิธิอันใด ติดตามตนไปได้
โย นิธิ อะนุคามิโก                                            ปราชญ์พึงทำบุญนิธิอันนั้น
เอสะ เทวะมนุสสานัง                                       บุญนิธินั้น ให้สิ่งที่ต้องการทุกอย่าง
สัพพะกามะทะโท นิธิ                                      แก่เทพดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ยัง ยัง เทวาภิปัตเถนติ                                     เทพดาและมนุษย์ทั้งหลาย ปรารถนาผลใดๆ
สัพพเมเตนะ ลัพภะติ                                       ผลนั้นๆ ทั้งหมด อันตนย่อมได้ด้วยบุญนิธินั้น
สุวัณณะตา สุสะระตา                                      ความเป็นผู้มีผิวพรรณงาม ความเป็นผู้มีเสียไพเราะ
สุสัณฐานัง  สุรูปะตา                                        ความเป็นผู้มีทรวดทรงดี ความเป็นผู้มีรูปสวย
อาธิปัจจัง ปริวาโร                                           ความเป็นใหญ่ยิ่ง ความเป็นผู้มีบริวาร
สัพพะเมเตน ลัพภติ                                         อิฏฐผลทั้งปวงนั้น อันเทพดาและมนุษย์
ยอมได้ด้วยบุญนิธินั้น
ปะเทสะรัชชัง อิสสะริยัง                                  ความเป็นพระราชาเฉพาะประเทศ ความเป็นใหญ่
(คือความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ)
จักกะวัตถิ สุขัง ปิยัง                                        สุขของพระเจ่าจักรพรรดิอ้นเป็นที่พึงใจ
เทวะรัชชัมปิ ทิพเพสุ                                       ความเป็นพระราชาแห่งเทพดาในทิพนิกายทั้งหลาย
สัพพะเมเตนะ ลัพถติ                                       อิฏฐผลทั้งปวงนั้น อันเทพดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ย่อมได้ด้วยบุญนิธินั้น

ไม่มีความคิดเห็น: