วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2555

1 morning chanting ทำวัตรเช้า ๑


ทำวัตรเช้า
ปุพพภาคนมะการ
เมื่อเข้าประชุมพร้อมกันแล้ว เวลาผู้เป็นหัวหน้าทำสักการะ พึงนั่งคุกเข่าประณมมือ  ครั้นเสร็จแล้ว ผู้เป็นหัวหน้าพึงกล่าวคำอภิวาทนำดังต่อไปนี้
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา                    พระผู้มีพระภาคเป็นผู้ไกลจากกิเลสตรัสรู้เองชอบ
พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิฯ                      ข้าพเจ้าอภิวาทกราบไหว้พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
(กราบ ครั้ง)
สฺวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม                           พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว
ธัมมัง นะมัสสามิฯ                                           ข้าพเจ้านมัสการกราบไหว้พระธรรมนั้น
(กราบ ๑ ครั้ง)
สุปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ             พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าปฏิบัติดีแล้ว
สังฆัง นะมามิฯ                                               ข้าพเจ้านอบน้อมกราบไหว้พระสงฆ์นั้น
(กราบ ๑ ครั้ง)
หัวหน้าว่าคำบูชา
ยะมัมหะ โข มะยัง ภะคะวันตัง สะระณัง         เราเป็นผู้ถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดว่าเป็นสรณะ
คะตา(อุทิสสะ ปัพพะชิตา ) โย โน ภะคะวา     พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดเป็นศาสดาของเรา และ
สัตถา,ยัสสะ จะ มะยัง ภะคะวะโต ธัมมัง         เราชอบใจธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด   
โรเจมะ, อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ภะคะวันตัง          เราตั้งใจบูชาซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น พร้อมสะสัทธัมมัง สะสาวะกะสังฆัง อภิปูชะยามะฯ      ทั้งพระธรรม พร้อมทั้งพระสงฆ์ ด้วยเครื่องสักการะเหล่านี้
 (หัวหน้านำ)
หันทะทานิ มะยันตัง ภะคะวันตัง วาจายะ       เชิญเถิด บัดนี้เราจงทำการนอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า
อะภิตุง ปุพพะภาคะ นะมะการัง กะโรมะ เสฯ  นั้นอันเป็นส่วนเบื้องต้นเพื่อขับสรรเสริญด้วยวาจา
(รับพร้อมกัน)
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต                                   ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาค
อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ             อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น
( ๓ ครั้ง)
๑ พุทธาภิถุติ
(หัวหน้านำ)
หันทะ มะยัง พุทธาภิถุติง กะโรมะ เสฯ           เราทั้งหลายสรรเสริญคุณพระพุทธเจ้ากันเถิด
โย โส ตะถาคะโต                                             พระตถาคตเจ้านั้น พระองค์ใด
อะระหัง                                                           เป็นผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ควรไหว้ควรบูชา
สัมมาสัมพุทโธ                                                เป็นผู้รู้ชอบเอง
วิชชาจะระณะสัมปันโน                                   เป็นผู้บริบูรณ์แล้วด้วยวิชชาและจรณะ
สุคะโต                                                             เป็นผู้ไปดีแล้ว
โลกะวิทู                                                           เป็นผู้ทรงรู้โลก
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ                        เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า
สัตถา เทวะมะนุสสานัง                                   เป็นผู้สอนเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
พุทโธ                                                               เป็นผู้เบิกบานด้ว
ภะคะวา                                                           เป็นผู้จำแนกธรรม
โย                                                                    พระองค์ใด
อิมัง โลกัง สะเทวะกัง สะมาระกัง                     ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนโลกนี้
สะพฺหรห์มะกัง,                                               กับทั้งเทวดามารพรหม และหมู่สัตว์
สัสสะมะนะพฺราหฺมะนิง ปะชัง สะเทวะ           พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
มะนุสสังสะยัง อะภิญญา                                 และเทวดามนุษย์
 สัจฉิกัตฺวา ปะเวเทสิฯ                                     ให้รู้ตาม
โย                                                                    พระองค์ใด
ธัมมัง เทเสสิ                                                     ทรงแสดงแล้วซึ่งธรรม
อาทิกัลยาณัง                                                    ไพเราะในเบื้องต้น
มัชเฌกัลป์ยาณัง                                              ไพเราะในท่ามกลาง
ปะริโยสานะกัลยาณัง                                       ไพเราะในที่สุด
สาตถึง สะพฺยัญชะนัง เกวะละปะริปุณณัง       ทรงประกาศพรหมจรรย์  พร้อมทั้งอรรถพร้อมทั้ง
ปะริสุทธัง พฺรหมะจะริยัง ปะกาเสสิ                พยัญชนะอันประเสริฐบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สิ้นเชิง

ตะมะหัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ                 ข้าพเจ้าบูชาโดยยิ่ง ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
                                                                        ด้วยเศียรเกล้า.
(กราบ ระลึกถึงพระพุทธคุณ
ธัมมาภิถุติ
(ห้วหน้านำ)
หันทะ มะยัง ธัมมาภิถุติง กะโรมะ เสฯ            เราทั้งหลายสวดสรรเสริญพระธรรมคุณกันเถิด
(รับพร้อมกัน)
โย โส สฺวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม                 พระธรรมอันใด อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว
สันทิฏฐิโก                                                       เป็นของอันบุคคลพึงเห็นเอง
อะกาลิโก                                                          เป็นของไม่มีกาลเวลา
เอหิปัสสิโก                                                       เป็นของจะร้องเรียกคนอื่นให้มาดูได้
โอปะนะยิโก                                                     เป็นของอันบุคคลพึงน้อมเข้ามาใส่ใจ
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญหิ                            เป็นของอันวิญญูชนทั้งหลายพึงรู้ได้เฉพาะตัว
ตะมะหัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิ                           ข้าพเจ้าบูชาโดยยิ่ง ซึ่งพระธรรมอันนั้น
ตะมะหัง ธัมมัง สิระสา นะมามิฯ                     ข้าพเจ้านอบน้อมซึ่งพระธรรมอันนั้น ด้วยเศียรเกล้า
 (กราบระลึกถึงพระธรรมคุณ)
๓ สังฆาภิถุติ
(หัวหน้านำ)
หันทะ มะยัง สังฆา ภิถุติง กะโรมะ เสฯ           เราทั้งหลายสวดสรรเสริญพระสังฆคุณกันเถิด
(รับพร้อมกัน)
โย โส สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ  สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นหมู่ใด
เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,        พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเข้าหมู่ใด
ปฏิบัติตรงแล้ว
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,    พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด
ปฏิบัติธรรมถูกแล้ว
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,    สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใดปฏิบัติชอบแล้วยะทิทัง                                                        คือ
จัตตาริ ปุริสะยุคคานิ                                       คู่แห่งบุรุษทั้งหลาย  
อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา                                       บุรุษบุคคลทั้งหลาย ๘
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,                      นี่แหละพระ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
อาหุเนยโย,                                                       ท่านผู้ควรแก่การสักการะที่เขานำมาบูชา
ปาหุเนยโย,                                                      ท่านผู้ควรของต้อนรับ
ทักขิเณยโย,                                                     เป็นผู้ควรทักษิณาทาน
อัญชะลีกะระณีโย,                                            เป็นผู้ควรทำอัญชลีกรรม
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ                 ท่านเป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาอื่นยิ่งกว่า
ตะมะหัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ,                         ข้าพเจ้าบูชาโดยยิ่ง ซึ่งพระสงฆ์หมู่นั้น
ตะมะหัง สังฆัง สิระสา นะมามิ                        ข้าพเจ้านอบน้อมซึ่งพระสงฆ์หมู่นั้นด้วยเศียรเกล้าฯ
(กราบระลึกพระสังฆคุณ)
จบ
แก้ไข10-8-55

ไม่มีความคิดเห็น: