วันเสาร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2556

ธชัคคสูตร 24-3-56-2


ตัง โข ปะนะ ภิกขะเว                                       ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อนั้นแล
สักกัสสะ วา เทวานะมินทัสสะ                         คือการแลดูชายธงของสักกะเทวราช
ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง                                    ผู้เป็นเจ้าแห่งเทพดาก็ตาม
ปะชาปะติสสะ วา เทวะราชัสสะ                      การดูแลชายธงชองเทวราช ชื่อ
ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง                                    ปชาบดีก็ตาม
วะรุณัสสะ วา เทวะราชัสสะ                            การแลดูชายธงของเทวราชชื่อ
ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง                                    วรุณก็ตาม
อีสาณัสสะ วา เทวะราชัสสะ                            การแลดูชายธงของเทวราชชื่อ
ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง                                    อีสานก็ตาม
ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง                  ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี
วา โลมะหังโส วา                                             ขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใด จักมี
โส ปะหิยเวถาปิ โนปิ ปะหิยเยถะ                     อันนั้น พึงหายไปบ้าง ไม่หายบ้าง
ตัง กิสสะ เหตุ                                                  ข้อนั้นเป็นเหตุแห่งอะไร
สักโก หิ ภิกขเว เทวานะมินโท                         ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุว่าท้าวสักกเทวราชเจ้า
อะวีตะราโค อะวีตะโทโส อะวีตะโมโห             แห่งเทพดาเธอมีราคะยังไม่สิ้นไป มีโทสะยังไม่สิ้นไป
มีโมหะยังไม่สิ้นไป
ภิรุ ฉัมภี อุตตราสี ปะลายีติ                              เธอยังเป็นผู้กลัว ยังเป็นผู้หวาด ยังเป็นผู้สะดุ้ง
ยังเป็นผู้หนี ดังนี้
อะหัญจะ โข ภิกขะเว เอวัง วะทามิ                  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนเราแลกล่าวอย่างนี้ว่า
สะเจ ตุมหากัง ภิกขะเว อรัญญะคะตานัง         ถ้าว่าท่านทั้งหลาย ไปอยู่ในป่าก็ตาม
วา รุกขะมูละคะตานัง วา                                 ไปอยู่ที่โคนไม้ก็ตาม
สุญญาคาระคะตานัง วา                                   ไปอยู่ในเรือนเปล่าก็ตาม
อุปปัชเชยยะ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง                   ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี
วา โลมะหังโส วา                                             ขนพยองสยองเกล้าก็ดีพึงเกิดขึ้นในสมัยใด
มะเมวะ ตัสมิง สะมะเย                                    ในสมัยนั้น ท่านทั้งหลาย
อะนุสสะเรยยาถะ                                            พึงระลึกถึงเรานั้นเทียวว่า
อิติปิ                                                                 แม้เพราะเหตุนั้นๆ
โส ภะคะวา                                                      พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น
อะระหัง                                                           เป็นผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ควรไหว้ควรบูชา
สัมมาสัมพุทโธ                                                เป็นผู้รู้ชอบเอง
วิชชาจะระณะสัมปันโน                                   เป็นผู้บริบูรณ์แล้วด้วยวิชชาและจรณะ
สุคะโต                                                             เป็นพระสุคตผู้เสด็จไปดีแล้ว
โลกะวิทู                                                           เป็นผู้ทรงรู้โลก
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ                        เป็นผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยื่งกว่า
สัตถา เทวะมะนุสสานัง                                   เป็นศาสดาผู้สอนของเทพดาและมนุษย์ทั้งหลาย
พุทโธ                                                               เป็นผู้เบิกบานแล้ว
ภะคะวาติ                                                         เป็นผู้จำแนกธรรมดังนี้
มะมัง หิ  โว ภิกขะเว อะนุสสะระตัง                 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลาย
ตามระลึกถึงเราอยู่
ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง                  ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี
วา  โลมะหังโส วา                                            ขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใด จักมี
โส ปะหิยยิสสะติ                                              อันนั้นจักหายไป

ไม่มีความคิดเห็น: