วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เริ่มธชัคคสูตร 15-8-55-1


 ธชัคคสูตร
เริ่มธชัคคสูตร
ยัสสานุสสะระเณนาปิ                                      แม้ด้วยการระลึกถึงปริตรอันใด
อันตะลิกเขปิ ปาณิโน                                       สัตว์ทั้งหลายแม้ในท้องฟ้า
ปะติฏฐมธิคัจฉันติ                                           ย่อมได้ที่พึ่ง
ภูมิยัง วิยะ สัพพะทา                                       ดุจสัตว์ในแผ่นดินในกาลทุกเมื่อ
สัพพูปัททะวะชาลัมหา                                    ก็ความนับสัตว์ทั้งหลายผู้พ้นจากข่าย คืออุปัทวะ
ยักขะโจราทิสัมภะวา                                       ทั้งปวงอันเกิดแก่สัตว์มียักษ์และโจรเป็นต้น
คะณะนา นะ จะ มุตตานัง                                มิได้มี
ปริตรตันตัมภะณามะ เห                                  เราทั้งหลาย จงสวดปริตรอันนั้นเทอญ

ธชัคคสูตร
เอวัมเม สุตัง                                                     อันข้าพเจ้า(พระอานนทเถระ) ได้สดับมาแล้วอย่างนี้  
เอกัง สะมะยัง ภะคะวา                                    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า
สาวัตถิยัง วิหะระติ                                          เสด็จประทับอยู่ที่พระเชตวันวิหาร
เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเม           อารามของอนาถปิณฑิกเศรษฐี ไกล้เมืองสาวัตถี
ตัตฺระ โข ภะคะวา ภิกขู                                    ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า
อามันเตสิ  ภิกขะโวติ                                       ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภะทันเตติ เต ภิกขู                                           ดังนี้แล้วพระภิกษุเหล่านั้น
ภะคะวะโต ปัจจัสโสสุง                                    จึงทูลรับพระพุทธพจน์ว่า พระเจ้าข้า ดังนี้
ภะคะวะตา เอตะทะโวจะ                                 พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า
ภูตปุพพัง ภิกขะเว                                           ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องดึกดำบรรเคยมีมาแล้ว
เทวาสุระสังคาโม                                             สงครามแห่งเทพดากับอสูร
สมุปัพยุฬโห อะโหสิ                                       ได้เกิดประชิดกันแล้ว
อะถะโข ภิกขะเว สักโก                                    ครั้งนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกเทวราช
เทวานะมินโท เทเว                                          ผู้เป็นเจ้าแห่งพวกเทพดา เรียกหมู่เทพดาในชั้น
ตาวติงเส อามันเตสิ                                         ดาวดึงส์มาสั่งว่า
สะเจ มาริสา เทวานัง สังคามะคะตานัง            ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ ถ้าความกลัวก็ดี ความหวาด
อุปปัชเชยยะ ภะยัง วา                                     สะดุ้งก็ดีขนพองสยอมเกล้าก็ดี พึงบังเกิดขึ้นแก่หมู่
ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา                           เทพดา ผู้ไปสู่สงครามในสมัยใด
มะเมวะ ตัสมิง สะมะเย                                    ในสมัยนั้น ท่านทั้งหลายพึงแลดู
ธะชัคคัง อุลโบเกยยาถะ                                   ชายธงของเรานั่นเทียว
มะมัง หิโว ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง                   เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลายแลดูชายธงของเราอยู่
ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง                  ความกลัวก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี
วา  โลมะหังโส วา                                            อันใด จักมี
โส ปะหิยยิสสะติ                                              อันนั้นจักหายไป
โน เจ เม ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ                     ถ้าท่านทั้งหลายไม่แลดูชายธงของเรา
อะถะ ปะชาปติสสะ เทวราชัสสะ                     ทีนั้น ท่านทั้งหลายพึงแลดูชายธงของ
ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง                                    เทวราชชื่อปชาบดี
ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง                  เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลายแลดูชายธงของเทวราช
ชื่อปชาบดีอยู่
วา โลมะหังโส วา                                             ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี
โส ปะหิยยิสสะติ                                              ขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี อันนั้นจักหายไป
โน เจ ปะชาปะติสสะ เทวะราชสสะ                 ถ้าท่านทั้งหลายไม่แลดู
ธะชัคคัง ดุลโลเกยยาถะ                                   ชายธงของเทวราชชื่อปชาบดี
อะถะ วรุณัสสะ เทวะราชัสสะ                          ทีนั้น ท่านทั้งหลายพึงแลดู
ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ                                   ชายธงของเทวราชชื่อ วรุณ    
วะรุณัสสะ หิ โว เทวะราชัสสะ                         เพราะว่า เมื่อท่านทั้งหลายแลดูชายธงของเทวราช
ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง                                    ชื่อวรุณอยู่
ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง                  ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี
วา โลมะหังโส วา                                             ขนพองสยอมเกล้าก็ดี อันใด จักมี
โส ปะหิยยิสสะติ                                              อันนั้นจักหายไป

ไม่มีความคิดเห็น: