วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

อานาปานสติภาวนามัย โดย พระสุทธิกรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์

อานาปานสติภาวนามัย
โดย พระสุทธิกรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ วัดอโศการาม สมุทรปราการ
วิธีทำสมาธิเบื้องต้น
ต่อไปนี้จะได้อรรถาธิบายข้อปฏิบัติในทางสมาธิภาวนาว่าจะต้องทำกันอย่างไร ก่อนทีจะทำ กิจเบื้องต้นนั้นให้นั่งคุกเข่าประณมมือด้วยความตั้งใจ นอบน้อมถึงพระรัตนครัย แล้วเปล่งวาจา ดังต่อไปนี้   
กล่าวนอบน้อมพระรัตนตรัย                                      
อรหัง สัมมาสัมพุทโธ ภควา,   พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ            (กราบลงหนหนึ่ง นี่ไหว้พระพุทธ)
สาวกขาโต ภควตา ธัมโม,ธัมมัง นมัสสามิ                             (กราบลงหนหนึ่ง นี้ไหว้พระธรรม)    
สุปฏิปันโน ภควโต สาวกสังโฆ,สังฆังนะมามิ                                   (กราบลงหนหนึ่ง นี้ไหว้พระสงฆ์)
กล่าวนอบน้อมพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 
ลำดับนี้ ตั้งใจปฏิบัติบูชาด้วย กาย วาจา ใจกล่าวคำนอบน้อมพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า                     
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ                                         (ว่า ๓ หน)     
ปฏิญาณตนถือเอาพระรัตตรัยเป็นที่พึ่ง                                  
ปฏิญาณตน ถือเอาพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง ที่ระลึก       ของตนที่เรียกว่า พระไตรสรณคมน์ ว่าตามบาลี ดังนี้
พุทธัง สรณัง คัจฉามิ, ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ, สังหัง สรณัง คัจฉามิ                                        
ทุติยัมปิ พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ,ทุติยัมปิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ,ทุติยัมปิ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ
ตติยัมปิ พุทธัง สรณัง คัจฉามิ  ,ตติยัมปิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ, ตติยัมปิ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ            
อธิษฐานใจถึงพระไตรสรณคมน์                                
ต่อจากนั้น ให้อธิษฐานใจถึงพระไตรสรณคมน์ ให้มั่นก่อนว่า                                                             
“ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า องค์อรหันต์ผู้ละกิเลสขาดจากสันดาน กับพระธรรมเจ้า กล่าวคือคำสอนของพระองค์ที่เป็นปริยัติธรรม ปฏิบัติธรรม ปฏิเวธธรรม กับพระสังฆเจ้า กล่าวคือ พระโสดา พระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ ว่าเป็นสรณะที่พึ่งที่ระลึกนับถือของข้าพเจ้าตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไป ตราบเท่าชีวิตของข้าพเจ้านี้แล”                  
พุทธัง ชีวิตัง ยาวนิพพานัง สรณัง คัจฉามิ                  
ธัมมัง  ชีวิตัง ยาวนิพพานัง สรณัง คัจฉามิ                   
สังฆัง ชีวิตัง ยาวนิพพานัง สรณัง คัจฉามิ                    
ตั้งเจตนาวิรัติละเว้นในองค์ศีล                        
ต่อจากนั้น ให้เจตนาวิรัติละเว้นในส่วนแห่งองค์ศีล๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ หรือ ศีล ๒๒๗ ตามภูมิของตนที่จะสามารถรักษาได้ แล้วว่าคำสมาทานรวมลงในที่แห่งเดียวกันอีกว่า 
๑ อิมานิ ปัญจสิกขา ปทานิ สมาทิยามิ ให้ว่า ๓ หน นี้สำหรับศีล ๕ แปลว่าข้าพเจ้าสมาทานเอาซึ่งสิกขาบททั้งหลาย ๕ คือ      
๑ ปาณาฯ ไม่ฆ่าสัตว์ ๒ อทินนาฯ ไม่ลักทรัพย์           ๓ กาเมฯ ไม่ประพฤติผิดในกาม ๔ มุสาฯ ไม่กล่าวคำเท็จ                             
๕ สุราฯ ไม่ดื่มสุราเมรัย ( เป็น ๕ ข้อ)                        
๒ อิมานิ อัฏฐสิกขา ปทานิ สมาทิยามิให้ว่า ๓ หน สำหรับศีล ๘ แปลว่า ข้าพเจ้าสมาทานเอาซึ่งสิกขาบททั้งหลาย ๘ คือ      
๑ ปาณาฯ ไม่ฆ่าสัตว์ ๒ อทินนาฯ ไม่ลักทรัพย์ ๓ อพรหฺมจริยาฯ ไม่ประพฤติร่วมสังวาสกับหญิงชายทั้งปวง ๔ มุสาฯ ไม่กล่าวคำเท็จ ๕ สุราฯ ไม่ดื่มสุราเมรัย          ๖ วิกาลโภฯ ไม่กินอาหารในเวลาตะวันบ่ายไปแล้ว ๗ นัจจคีมาลาฯ ไม่ดูการละเล่นและตกแต่งประดับประดาอัตตภาพร่างกาย เพื่อความสวยงามต่างๆ ๘ อุจจาฯ ไม่นั่งนอนบนเตียงตั่ง ที่สูงเกินประมาณ   และฟูกเบาะทียัดด้วยนุ่นและสำลี  (เป็น ๘ ข้อ)                      
๓ อิมานิ ทสสิกขา ปทานิ สมาทิยามิให้ว่า ๓ หน นี้สำหรับศีล ๑๐ แปลว่า ข้าพเจ้าสมาทานเอาซึ่งสิกขาบททั้งหลาย ๑๐ คือ ปาณาฯอทินนาฯ    มุสาฯสุราฯวิกาลโภฯนัจจคีฯมาลาฯอุจจาฯชาตรูฯ ไม่ให้รับเงินทองใช้สอยด้วยตนเอง (เป็น ๑๐ ข้อ)                 
๔ ศีล ๒๒๗ ให้ว่าดังนี้                                              
ปาริสุทโธ อหัง ภันเต ปาริสุทโธ ติมัง พุทโธ ธาเรตุ      
ปาริสุทโธ อหัง ภันเต ปาริสุทโธ ติมัง ธัมโม ธาเรตุ      
ปาริสุทโธ อหัง ภันเต ปาริสุทโธ ติมัง สังโฆ ธาเรตุ      
เมื่อทำความบริสุทธิ์ของตนด้วยกาย วาจา ใจ ต่อคุณพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสังฆเจ้า แล้วกราบลง ๓ หน แล้วจึงค่อยนั่งราบลง ประณมมือไหว้ทำใจให้เที่ยง                                                                        

ไม่มีความคิดเห็น: