วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ชัยปริตร (มหาการุณิโก นาโถ)


ชัยปริตร (มหาการุณิโก นาโถ)
มะหาการุณิโก นาโถ                                         พระพุทธเจ้าทรงเป็นที่พึ่งได้อย่างแท้จริงของสัตว์
หิตายะ  สัพพะปาณีนัง                                    ทรงประกอบแล้วด้วยพระมหากรุณาธิคุณ
ปูเรตฺวา  ปาระมี  สัพพา                                   ทรงบำเพ็ญพระบารมีทั้งหลายทั้งปวงให้เต็ม
ปัตโต  สัมโพธิมุตตะมัง                                   ทรงตรัสรู้อันอุดม ทรงถึงความเป็นผู้เลิศแล้ว
เอเตนะ  สัจจะวัชเชนะ                                     ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้
โหตุ เต ชะยะมังคะลัง ฯ                                  ขอชัยนะอันเป็นมงคล จงมีแก่ท่าน ฯ
ชะยันโต  โพธิยา  มูเล                                      พระพุทธเจ้าศากยะวงศ์ผู้จำเริญ ทรงผจญมาร
สักฺยานัง  นันทิวัฑฒะโน                                 โคนโพธิ์พฤกษ์ทรงบันเทิงยินดีด้วยชัยชนะ ฉันใด
เอวัง ตะวัง วิชะโย  โหหิ                                  ขอให้ท่านจงเป็นผู้มีชัยชนะอันเป็นมงคล ฉันนั้น
ชะยัสสุ  ชะยะมังคะเล                                     ดั่งพระองค์ประสบความชัยชนะแห่งมาร
อะปะราชิตะปัลลังเก                                        ที่อปราชิตบัลลังก์, (บัลลังก์แห่งผู้ไม่อัปราชัย)
สีเส  ปะฐะวิโปกขะเร                                       ทรงประทับเหนือใบบัว เป็นจอมปฐพี 
อภิเสเก  สัพพะพุทธานัง                                  ถึงความอภิเษกเป็นอย่างแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
อัคคัปปัตโต  ปะโมทะติ.                                  ได้ถึงความเป็นผู้เลิศแล้ว.
สุนักขัตตัง  สุมังคะลัง                                     สัตว์ทั้งหลาย เมื่อประพฤติสุจริตดี แม้ในเวลาใด
                                                                        เวลานั้นแล ชื่อว่า เป็นฤกษ์ดี  เป็นมงคลอันดี
สุปะภาตัง  สุหุฏฐิตัง,                                      เวลายามรุ่งก็ดี  เวลาสว่างแจ้งแล้วก็ดี 
สุขะโณ  สุมุหุตโต จะ                                       แม้ครู่เดียวก็ดี  และขณะเดียวก็ดี  อันเป็นการ
สุยิฏฐัง  พรหมะจาริสุ,                                     ปฏิบัติบูชาดีแล้ว ในพรหมจารีบุคคลทั้งหลาย
ปะทักขิณัง  กายะกัมมัง                                   กระทำกายกรรม อันเป็นกุศล
วาจากัมมัง  ปะทักขิณัง,                                  กระทำวจีกรรม อันเป็นกุศล 
ปะทักขิณัง  มะโนกัมมัง                                   กระทำมโนกรรม อันเป็นกุศล
ปะณิธิ  เต  ปะทักขิณา,                                    ความปรารถนาของท่านอันเป็นกุศล (ประทักษิน-
-วนเบื้องขวา เป็นการแสดงความเคารพในสมัยนั้น)
ปะทักขิณานิ  กัตฺวานะ                                     สัตว์ทั้งหลาย เมื่อกระทำกุศลกรรม ทำเหตุไว้ดีแล้ว
ละภันตัตเถ  ปะทักขิเณ                                 ย่อมได้ประโยชน์ทั้งมวลเป็นผล ประสบโชค-ดี แล.

ภะวะตุ  สัพพะมังคะลัง                                   ขอสรรพมงคลทั้งหลาย  จงมีแก่ท่าน
รักขันตุ สัพพะเทวะตา                                                ขอเหล่าเทวดาทั้งปวง จงรักษาท่าน
สัพพะพุทธานุภาเวนะ                                     ด้วยอานุภาพ แห่งพระพุทธเจ้าทั้งปวง
สะทา โสตถี ภะวันตุ  เต                                   ขอความสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ท่านทุกเมื่อ
ภะวะตุ  สัพพะมังคะลัง                                   ขอสรรพมงคลทั้งหลาย จงมีแก่ท่าน
รักขันตุ  สัพพะเทวะตา                                   ขอเหล่าเทวดาทั้งปวง จงรักษาท่าน
สัพพะธัมมานุภาเวนะ                                      ด้วยอานุภาพ แห่งพระธรรมทั้งปวง
สะทา โสตถี ภะวันตุ  เต                                   ขอความสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ท่านทุกเมื่อ
ภะวะตุ  สัพพะมังคะลัง                                   ขอสรรพมงคลทั้งหลาย จงมีแก่ท่าน
รักขันตุ  สัพพะเทวะตา                                   ขอเหล่าเทวาทั้งปวง จงรักษาท่าน
สัพพะสังฆานุ  ภาเวนะ                                   ด้วยอานุภาพ แห่งพระสงฆ์ทั้งปวง
สะทา โสตถี ภะวันตุ  เต                                   ขอความสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ท่านทุกเมื่อ

ไม่มีความคิดเห็น: