วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2555

มัคควิภังคสูตร ๒


7 กะตะมา จะ ภิกขะเว สัมมาสติ?                    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาสติ เป็นอย่างไร?   
อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ                                            ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
กาเย กายานุปัสสนี วิหะระติ,                           ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่
อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา วิเนยยะ                มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อน มีสัมปชัญญะ มีสติ
โลเก อภิชฌาโทมะนัสสัง,                                พึงนำอภิชฌาและโทมนัส
( ความยินดีและความยินร้าย)ในโลกเสียให้พินาศ
เวทะนาสุ เวทนานุปัสสี วิหะระติ,                    ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่
อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา วิเนยยะ                มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อน มีสัมปชัญญะ มีสติ
โลเก อภิชฌาโทมะนัสสัง,                                พึงนำอภิชฌาและโทมนัส
( ความยินดีและความยินร้าย)ในโลกเสียให้พินาศ
จิตเต จิตตานุปัสสี วิหะระติ,                            ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่
อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา วิเนยยะ                มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อน มีสัมปชัญญะ มีสติ
โลเก อภิชฌาโทมะนัสสัง,                                พึงนำอภิชฌาและโทมนัส
( ความยินดีและความยินร้าย)ในโลกเสียให้พินาศ
ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ,                         ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่
อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา วิเนยยะ                มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อน มีสัมปชัญญะ มีสติ
โลเก อภิชฌาโทมะนัสสัง,                                พึงนำอภิชฌาและโทมนัส
( ความยินดีและความยินร้าย)ในโลกเสียให้พินาศ
อะยัง วัจจะติ ภิกขะเว สัมมาสติ.                      ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้ที่กล่าวว่า สัมมาสติ
8 กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมาสมาธิ?                ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาสมาธิ เป็นอย่างไร?
1 ฌานที่ ๑
อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ วิวิจเจวะ กาเมหิ                 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
สงัดแล้วจากกามารมณ์
วิวิจจะ อะกุสะเลหิ ธัมเมหิ,                              สงัดแล้วจากธรรมที่เป็นอกุศล เข้าถึงปฐมฌาน
สะวิตักกัง สะวิจารัง                                         ประกอบด้วยวิตกและวิจาร
วิเวกชัมปีติสุขัง ปะฐะมัง ฌานัง                      มีปีติและสุข
อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ                                    อันเกิดจากวิเวก อยู่
2 ฌานที่ ๒
วิตักกะวิจารานัง วูปะสะมา,                            เพราะความที่วิตกและวิจาร(ทั้ง ๒ ) ระงับลง
อัชฌัตตัง สัมปะสาทะนัง เจตะโส                    เข้าถึงทุติยฌาน( ความเพ่งที่ ) เป็นเครื่องผ่องใสใจ
เอโกทิภาวัง อะวิตักกัง อะวิจารัง,                     ภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอก
สะมาธิชัมปีติสุขัง ทุติยัง ฌานัง                       ผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข
อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ,                                   อันเกิดจากสมาธิ อยู่
3  ฌานที่ ๓
ปีติยา จะ วิราคา                                              อนึ่ง เพราะความที่ปีติวิราศ(ปราศ)ไป
อุเปกขะโก จะ วิหะระติ                                    ย่อมเป็นผู้เพิกเฉยอยู่
สะโต จะ สัมปะชาโน,                                      และมีสติ สัมปชัญญะ
สุขัญจะ กาเยนะ ปะฏิสังเวเทติ,                       และเสวยความสุขด้วยกาย
ยันตัง อะริยา อาจิกขันติ                                  อาศัยคุณคืออุเบกขา สติ สัมปชัญญะ
และเสวยสุขใดเล่าเป็นเหตุ
อุเปกขะโก สะติมา สุขะวิหารีติ,                       พระอริยเจ้าทั้งหลายย่อมกล่าวสรรเสริญผู้นั้นว่า
เป็นผู้อุเบกขามีสติ อยู่เป็นสุข
ตะติยัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ,            เข้าถึงตติยฌาน (ความเพ่งที่ )
ฌานที่
สุขัสสะ จะ ปะหานา ทุกขัสสะ จะ ปะหานา,    เพราะละสุขเสียได้ เพราะละทุกข์เสียได้
ปุพเพ วะ โสมะนัสสะ                                      เพราะความที่โสมนัส และโทมนัส
โทมะนัสสานัง อัตถังคะมา,                             (ทั้ง๒) ในกาลก่อนอัสดงค์ดับไป
อะทุกขะมะสุขัง อุเปกขาสะติปาริสุทธิง,         เข้าถึงจตุตถฌาน ( ความเพ่งที่ ) ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
จะตุตถัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ.         มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์
เพราะอุเบกขา อยู่
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาสมาธิ.                  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้ที่กล่าวว่า สัมมาสมาธิ
อิทะมะโว จะ ภะคะวา,                                     พระผู้มีพระภาคตรัสพระสูตรนี้จบแล้ว
อัตตะมะนา เต ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง,          ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดี  เพลิดเพลินนักซึ่งภาษิต
อะภินันทุนติ.                                                   ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยประการฉะนี้ แล.

ไม่มีความคิดเห็น: