วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

๑ พุทธานุสสติ


๑ พุทธานุสสติ
(หัวหน้านำ)
หันทะ มะยัง พุทธานุสสะตินะยัง                   เราทั้งหลายสวดพรรณนาระลึกถึง
กะโรมะ เสฯ                                                     คุณพระพุทธเจ้ากันเถิด
 (รับพร้อมกัน)
ตัง โข ปะนะ ภะคะวันตัง เอวัง                       ก็กิตติศัพท์อันงามของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น
กัลยาโณกิตติสัทโท อัพภุคคะโต,                     ได้ฟุ้งเฟื่องไป ดังนี้ว่า                         
อิติปิ โส ภะคะวา,                                             เพราะเหตุอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น
อะระหัง,                                                          เป็นผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ควรไหว้ควรบูชา
สัมมาสัมพุทโธ,                                               เป็นผู้รู้ชอบเอง
วิชชาจะระณะสัมปันโน,                                  เป็นผู้บริบูรณ์แล้วด้วยวิชชาและจะระณะ
สุคะโต,                                                            เป็นผู้ไปดีแล้ว
โลกะวิทู,                                                          เป็นผู้ทรงรู้โลก
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ,                       เป็นผู้ฝึกบุรุษที่สมควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า
สัตถา เทวะมะนุสสานัง,                                  เป็นผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
พุทโธ,                                                              เป็นผู้เบิกบานแล้ว
ภะคะวา ติ.                                                       เป็นผู้จำแนกธรรม ดังนี้
  พุทธานุสสติ
(หัวหน้านำ)
หันทะ มะยัง พุทธาภิคีติง กะโรมะ เสฯ           เราจงทำการขับสรรเสริญพระพุทธเจ้ากันเถิด
(รับพร้อมกัน)
พุทธวาระหันตะวะระตาทิคุณาภิยุตโต,           พระพุทธเจ้าประกอบแล้วด้วยพระคุณ
มีความเป็นพระอรหันต์ เป็นต้น 
สุทธาภิ ญาณะกะรุณาหิ สะมาคะตัตโต,           มีพระอัธยาศัย ประกอบด้วยพระบริสุทธิคุณ
 พระปัญญาคุณและพระกรุณาคุณ 
โพเธสิ โย สุชะนะตัง กะมะรังวะ สูโร,              พระองค์ใดยังประชุมชนดีให้เบิกบานแล้ว
ดุจดวงอาทิตย์ยังดอกบัวให้บาน ฉะนั้น
วันทามะหัง ตะมะระณัง สิระสา ชิเนนทัง,       ข้าพเจ้าขอไหว้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ผู้ไม่มีข้าศึก ผู้เป็นจอมชนะ  ด้วยเศียรเกล้า
ปะฐะมานุสสติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหังข้าพเจ้าไหว้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
                                                                        ผู้เป็นที่ตั้งแห่งอนุสสติที่ ๑ ด้วยเศียรเกล้า
พุทธัสสาหัสมิ ทาโส(ทาสี) วะ พุทโธ เม          ข้าพเจ้าขอเป็นทาส(ทาสี)ของพระพุทธเจ้า
สามิกิสสะโร,                                                    พระพุทธเจ้านายของข้าพเจ้า
พุทโธ ทุกขัสสะ ฆาตา จะ                                พระพุทธเจ้าผู้กำจัดทุกข์ด้วย
วิธาตา จะ หิตัสสะ เม,                                      เป็นผู้ทำซึ่งประโยชน์เกื้อกูลแก่ข้าพเจ้าด้วย
พุทธัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง,     ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตอันนี้แก่พระพุทธเจ้า
วันทันโตหัง ( ตีหัง) จะริสสามิ                         ข้าพเจ้าไหว้อยู่จักประพฤติ
พุทธัสเสวะ สุโพธิตัง,                                      ซึ่งความตรัสรู้ดีของพระพุทธเจ้าทีเดียว
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง                                 สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระพุทธเจ้าเป็น
พุทโธ เม สะระณัง วะรัง,                                 สรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง                    ด้วยการกล่าวคำสัจจ์นี้ ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระ
สัตถุสาสะเน,                                                   ศาสนาของพระศาสดา
พุทธัง เม วันทะมาเนนะ(มานายะ)                   บุญใด อันข้าพเจ้าไหว้พระพุทธเจ้า
ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ,                                  ขวนขวายแล้วในที่นี้
สัพเพปิ อันตะรายา เม มาเหสุง                        แม้สรรพอันตรายนทั้งหลาย  อย่าได้มีแก่ข้าพเจ้า
ตัสสะ เตชะสา.                                                            ด้วยเดชบุญนั้น
(หมอบลงกล่าวว่า)
กาเยนะ วาจา วะ เจตะสา วา,                           กรรมอันน่าเกลียดอันใด ที่ข้าพเจ้าได้กระทำแล้วใน
พุทเธ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง,                    พระพุทธเจ้า ด้วยกายหรือด้วยวาจาใจ

พุทโธ ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง,                  ขอพระพุทธเจ้า จงงดซึ่งโทษนั้น
กะลันตะเร สังวะริตุง วะ พุทเธ.                       เพื่อระวังต่อไปในพระพุทธเจ้า    

ไม่มีความคิดเห็น: