วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2556

อาทิตตปริยายสูตร ๓ ๒๕-๓-๕๖


. มโน อาทิตโต                                              มนะ(คือใจ) เป็นของร้อน
ธัมมา อาทิตตา                                                 ธรรมทั้งหลาย(คืออารมณ์ที่เกิดแก่ใจ)เป็นของร้อน
มโนวิญญาณัง อาทิตตัง                                   วิญญาณอาศัยมนะเป็นของร้อน
มโน สัมผัสโส อาทิตโต                                    สัมผัสอาศัยมนะเป็นของร้อน
ยัมปิทัง มะโนสัมผัสสะปัจจะยา                      ความรู้สึกอารมณ์นี้ เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส
อุปปัชชะติ เวทะยิตัง                                       เป็นปัจจัย แม้อันใด
สุขัง วา ทุกขัง วา                                             เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี
อะทุกขะมะสุขัง วา                                          ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ดี
ตัมปิ อาทิตตัง                                                  แม้อันนั้น ก็เป็นของร้อน
เกนะ อาทิตตัง                                                 ร้อนเพราะอะไร
อาทิตตัง ราคัคคินา                                          ร้อนเพราะไฟคือราคะ
โทสัคคินา โมหัคคินา                                       เพราะไฟคือโทสะ เพราะไฟคือโมหะ
อาทิตตัง ชาติยา                                               ร้อนเพราะความเกิด
ชรามะระเณนะ                                                เพราะความแก่และความตาย
โสเกหิ ปะริเทเวหิ                                             เพราะความโศก และความร่ำไรรำพัน
ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ                                        เพราะความทุกข์ เพราะความเสียใจ
อุปายาเสหิ                                                       เพราะความคับแค้นใจ
อาทิตตันติ วะทามิ                                           เราจึงกล่าวว่าเป็นของร้อน
. เอวัง ปัสสัง ภิกขะเว                                                ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับมาแล้ว
สุตะวา อะริยะสาวะโก                                     เห็นอยู่อย่างนี้
จักขุสมิงปิ นิพพินทะติ                                    ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในจักษุ
รูเปสุปิ นิพพินทะติ                                         ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในรูปทั้งหลาย
จักขุวัญญาเณปิ นิพพินทะติ                            ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในวิญญาณอาศัยจักษุ
จักขุสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ                             ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งผัสสะอาศัยจักษุ
ยัมปิทัง จักขุสัมผัสสะปัจจะยา                        ความรู้สึกอารมณ์นี้ เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัส
อุปะปัชชะติ เวทะยิตัง                                     เป็นปัจจัย แม้อันใด
สุขัง วา ทุกขัง วา                                             เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี
อทุกขะมะสุขขัง วา                                         ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ดี
ตัสมิงปิ นิพพินทะติ                                        ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในความรู้สึกอันนั้น
.โสตัสมิงปิ นิพพินทะติ                                ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในโสตะ
สัทเทสุปิ นิพพินทะติ                                      ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในเสียงทั้งหลาย
โสตะวิญญาเณปิ นิพพินทะติ                          ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในวิญญาณอาศัยโสตะ
โสตะสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ                            ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในสัมผัสอาศัยโสตะ
ยัมปิทัง โสตะสัมผัสสะปัจจะยา                       ความรู้สึกอารมณ์นี้ เกิดขึ้นเพราะโสตสัมผัส
อุปปัชชะติ เวทะยิตัง                                       เป็นปัจจัย แม้อันใด
สุขัง วา ทุกขัง วา                                             เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี
อทุกขะมะสุขัง วา                                            ใม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ดี
ตัสมิงปิ นิพพินทะติ                                        ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในความรู้สึกนั้น

ไม่มีความคิดเห็น: