วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ทำวัตรเช้า



ทำวัตรเช้า
ปุพพภาคนมะการ
เมื่อเข้าประชุมพร้อมกันแล้ว เวลาผู้เป็นหัวหน้าทำสักการะ พึงนั่งคุกเข่าประณมมือ  ครั้นเสร็จแล้ว ผู้เป็นหัวหน้าพึงกล่าวคำอภิวาทนำดังต่อไปนี้
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา                    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นพระอรหันต์ตรัสรู้
ถูกถ้วนแล้ว
พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิฯ                      ข้าพเจ้าอภิวาทซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้ดีแล้ว
(กราบ ครั้ง)
สฺวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม                           พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว
ธัมมัง นะมัสสามิฯ                                           ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม
(กราบ ๑ ครั้ง)
สุปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ             พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าปฏิบัติดีแล้ว
สังฆัง นะมามิฯ                                               ข้าพเจ้านอบน้อมซึ่งพระสงฆ์
(กราบ ๑ ครั้ง)
หัวหน้าว่าคำบูชา
ยะมัมหะ โข มะยัง ภะคะวันตัง สะระณัง         เราเป็นผู้ถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดว่าเป็นสรณะ
คะตา(อุทิสสะ ปัพพะชิตา ) โย โน ภะคะวา     พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดเป็นศาสดาของเรา และ
สัตถา,ยัสสะ จะ มะยัง ภะคะวะโต ธัมมัง         เราชอบใจธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด   
โรเจมะ, อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ภะคะวันตัง          เราตั้งใจบูชาซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น พร้อมสะสัทธัมมัง สะสาวะกะสังฆัง อภิปูชะยามะฯ      ทั้งพระธรรม พร้อมทั้งพระสงฆ์ ด้วยเครื่องสักการะเหล่านี้
 (หัวหน้านำ)
หันทะทานิ มะยันตัง ภะคะวันตัง วาจายะ       เชิญเถิด บัดนี้เราจงทำการนอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า
อะภิตุง ปุพพะภาคะ นะมะการัง กะโรมะ เสฯ  นั้นอันเป็นส่วนเบื้องต้นเพื่อขับสรรเสริญด้วยวาจา
(รับพร้อมกัน)
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต                                   ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ             ซึ่งเป็นไปไกลจากกิเลส ตรัสรู้ได้โดยพระองค์เอง
( ๓ ครั้ง)
๑ พุทธาภิถุติ
(หัวหน้านำ)
หันทะ มะยัง พุทธาภิถุติง กะโรมะ เสฯ           เราทั้งหลายสรรเสริญคุณพระพุทธเจ้ากันเถิด
โย โส ตะถาคะโต                                             พระตถาคตเจ้านั้น พระองค์ใด
อะระหัง                                                           เป็นผู้ไกลจากกิเลส
สัมมาสัมพุทโธ                                                เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
วิชชาจะระณะสัมปันโน                                   เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
สุคะโต                                                             เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี
โลกะวิทู                                                           เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ                        เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้ อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า
สัตถา เทวะมะนุสสานัง                                   เป็นครูผู้สอนเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
พุทโธ                                                               เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม
ภะคะวา                                                           เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์
โย อิมัง โลกัง สะเทวะกัง สะมาระกัง                พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ได้ทรงทำคาม
สะพฺหรห์มะกัง,                                               ดับทุกข์ให้แจ้งด้วยพระปัญญาอันยิ่งเองแล้ว
สัสสะมะนะพฺราหฺมะนิง ปะชัง สะเทวะ           ทรงสอนโลกนี้ พร้อมทั้งเทวดา มาร พรหม และ
มะนุสสังสะยัง อะภิญญา                                 หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์
 สัจฉิกัตฺวา ปะเวเทสิฯ                                     พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม
โย ธัมมัง เทเสสิ                                               พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ทรงแสดงธรรมแล้ว
อาทิกัลยาณัง                                                    ไพเราะในเบื้องต้น
มัชเฌกัลป์ยาณัง                                              ไพเราะในท่ามกลาง
ปะริโยสานะกัลยาณัง                                       ไพเราะในที่สุด
สาตถึง สะพฺยัญชะนัง เกวะละปะริปุณณัง       ทรงประกาศพรหมจรรย์ คือแบบแห่งการปฏิบัติ
ปะริสุทธัง พฺรหมะจะริยัง ปะกาเสสิ                อันประเสริฐบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สิ้นเชิง
พร้อมอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ
ตะมะหัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ                 ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะ
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ด้วยเศียรเกล้า
(กราบ ระลึกถึงพระพุทธคุณ
๒ ธัมมาภิถุติ
(ห้วหน้านำ)
หันทะ มะยัง ธัมมาภิถุติง กะโรมะ เสฯ            เราทั้งหลายสวดสรรเสริญพระธรรมคุณกันเถิด
(รับพร้อมกัน)
โย โส สฺวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม                 พระธรรมนั้นใด เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว
สันทิฏฐิโก                                                       เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง
อะกาลิโก                                                          เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล
เอหิปัสสิโก                                                       เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด
โอปะนะยิโก                                                     เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญหิ                            เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัวเป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน
ตะมะหัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิ                           ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระธรรมนั้น
ตะมะหัง ธัมมัง สิระสา นะมามิฯ                     ข้าพเจ้านอบน้อมพระธรรมนั้นด้วยเศียรเกล้าฯ
 (กราบระลึกถึงพระธรรมคุณ)
๓ สังฆาภิถุติ
(หัวหน้านำ)
หันทะ มะยัง สังฆา ภิถุติง กะโรมะ เสฯ           เราทั้งหลายสวดสรรเสริญพระสังฆคุณกันเถิด
(รับพร้อมกัน)
โย โส สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ  สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นหมู่ใด ปฏิบัติดีแล้ว
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,        สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเข้าหมู่ใดปฏิบัติตรงแล้ว
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,    สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด
ปฏิบัติธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,    สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใดปฏิบัติสมควรแล้วยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคคานิ                                    คู่แห่งบุรุษ คู่
อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา                                       นับเรียงตัวบุรุษได้ บุรุษ
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,                      นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
อาหุเนยโย,                                                       เป็นสงฆ์ควรแก่การสักการะที่เขานำมาบูชา
ปาหุเนยโย,                                                      เป็นสงฆ์ควรแก่การสักการะทีเขาจัดไว้ต้อนรับ
ทักขิเณยโย,                                                     เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน
อัญชะลีกะระณีโย,                                            เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ                 เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า
ตะมะหัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ,                         ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระสงฆ์หมู่นั้น
ตะมะหัง สังฆัง สิระสา นะมามิ                        ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์หมู่นั้นด้วยเศียรเกล้าฯ
(กราบระลึกพระสังฆคุณ)
จบ
ระตะนัตตะยัปปะณามะคาถา         คาถานอบน้อมพระรัตนตรัย
(หัวหน้านำ)
หันทะ มะยัง ระตะนัตตะยัปปะณามะ              เรามาสวดนอบน้อม
คาถาโย            เจวะสังเวคะปะริกิตตะนะปาฐัญจะ     พระรัตนตรัยและปลงธรรม
ภะณามะ เส                                                      สังเวชกันเถิด
(รับพร้อมกัน)
พุทโธ สุสุทโธ กะรุณามะหัณณะโว                  พระพุทธเจ้าผู้บริสุทธิ์มีพระกรุณาดุจห้วงมหรรณพ
โยจจันตะสุทธัพพะระญาณะโลจะโน,              พระองค์ใด มีตาคือญาณอันประเสริฐหมดจดถึงที่สุด
โลกัสสะ ปาปูปะกิเลสะฆาตะโก,                      เป็นผู้ฆ่าเสียซึ่งบาปและอุปกิเลสของโลก
วันทามิ พุทธัง อะหะมาทะเรนะ ตัง,                ข้าพเจ้าไหว้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นโดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ
ธัมโม ปะทีโป วิยะ ตัสสะ สัตถุโน,                   พระธรรมของพระศาสดา สว่างรุ่งเรืองเปรียบดวงประทีบ
โย มัคคะปากามะตะเภทะภินนะโก,                 จำแนกประเภทคือมรรค ผล นิพพาน ส่วนใด
โลกุตตะโร โย จะ ตะทัตถะทีปะโน,                  ซึ่งเป็นตัวโลกุตตระ และส่วนใดที่ชี้แนวแห่งโลกุตตระนั้น
วันทามิ ธัมมัง อะหะมาทะเรนะ ตัง                  ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมนั้นโดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ
ส้งโฆ สุเขตตาภฺยะติเขตตะสัญญิโต,                พระสงฆ์เป็นนาบุญอันยิ่งใหญ่กว่านาบุญอันดีทั้งหลาย
โย ทิฏฐะสันโต สุคะตานุโพธะโก,                    เป็นผู้เห็นพระนิพพาน ตรัสรู้ตามพระสุคต หมู่ใด
โลลัปปะหีโน อะริโย สุเมธะโส,                        เป็นผู้ละกิเลสเรื่องโลเล เป็นพระอริยเจ้ามีปัญญาดี
วันทามิ สังฆัง อะหะมาทะเรนะ ตัง                 ข้าพเจ้าไหว้พระสงฆ์หมู่นั้นโดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ
อิจเจวะเมกันตะภิปูชะเนยยะกัง.                      บุญใดที่ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งวัตถุสาม คือ พระรัตนตรัย
วัตถุตตะยัง วันทะยะตาภิสังขะตัง,                 อันควรบูชายิ่งโดยส่วนเดียว ได้กระทำแล้ว
เป็นอย่างยิ่งเช่นนี้นี้
ปุญญัง มะยา ยัง มะมะ สัพพุปัตตะวา,            ขออุปัทวะ (ความชั่ว) ทั้งหลาย จงอย่ามีแก่ข้าพเจ้าเลย 
มา โหนตุ เว ตัสสะ ปะภาวะสิทธิยา.                ด้วยอำนาจความสำเร็จ อันเกิดจากบุญนั้น
สังเวคะปะริทีปะกะปาฐะ
อิธะ ตะถาคะโต โลเก อุปปันโน                        พระตถาคตเจ้าเกิดขึ้นแล้วในโลกนี้เป็นไปไกลจากกิเลส
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ                                  ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองและพระธรรมที่ทรงแสดง
ธัมโม จะ เทสิโต นิยยานิโก                              เป็นธรรมเครื่องออกจากทุกข์
อุปะสะมิโก ปะรินิพพานิโก,                             เป็นเครื่องสงบกิเลส เป็นไปเพื่อพระนิพพาน
สัมโพธะคามี สุคะตัปปะเวทิโต,                       เป็นไปเพื่อความรู้พรอมเป็นธรรมที่พระสุคตประกาศ
มะยันตัง ธัมมัง สุตฺวา เอวัง ชานามะ,              เราเมื่อได้ฟังธรรมนั้นแล้วจึงได้รู้อย่างนี้ว่า
ชาติปิ ทุกขา,                                                   แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์
ชะราปิ ทุกขา,                                                  แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์
มะระณัมปิ ทุกขัง,                                            แม้ความตายก็เป็นทุกข์
โสกะปริเทวะทุกขะ                                          แม้ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบาย
โทมะนสสุปายาสาปิ ทุกขา,                             กาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์
อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข,                             ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์
ปืเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข                                   ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นทีรักที่พอใจก็เป็นทุกข์
ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง                     มีความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น ก็เป็นทุกข์
สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา,           ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง เป็นตัวทุกข์
เสยยะถีทัง,                                                      ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ
รูปูปาทานักขันโธ                                            ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือรูป
เวทะนูปาทานักขันโธ,                                     ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือเวทนา
สัญญูปาทานักขันโธ,                                       ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือสัญญา
สังขารูปาทานักขันโธ,                                     ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือสังขาร
วิญญาณูปาทานักขันโธ,                                  ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือวิญญาณ
เยสัง ปะริญญายะ,                                           เพื่อให้สาวกกำหนดรอบรู้อุปาทานขันธ์เหล่านี้เอง
ธะระมาโน โส ภะคะวา,                                   พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเมื่อทรงพระชนม์อยู่
เอวัง พะหุลัง สาวะเก วิเนติ,                            ย่อมทรงแนะนำสาวกทั้งหลายเช่นนี้เป็นส่วนมาก
เอวัง ภาคา จะ ปะนัสสะ ภะคะวะโต                อนึ่ง คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ย่อม
สาวะเกสุ อะนุสาสนี พะหุลา ปะวัตตะติ,         เป็นไปในสาวกทั้งหลาย ส่วนมาก มีส่วนคือการ
จำแนกอย่างนี้ว่า
รูปัง อะนิจจัง,                                                  รูปไม่เที่ยง
เวทะนา อะนิจจา                                             เวทนาไม่เที่ยง
สัญญา อะนิจจา,                                              สัญญาไม่เที่ยง
สังขารา อะนิจจา,                                            สังขารไม่เที่ยง
วิญญาณัง อะนิจจัง,                                         วิญญาณไม่เที่ยง
รูปัง อะนัตตา,                                                  รูปไม่ใช่ตัวตน
เวทะนา อะนัตตา                                             เวทนาไม่ใช่ตัวตน
สัญญา อะนัตตา,                                              สัญญาไม่ใช่ตัวตน
สังขารา อะนัตตา,                                            สังขารไม่ใช่ตัวตน
วิญญาณัง อะนัตตา                                          วิญญาณไม่ใช่ตัวตน
สัพเพ สังขารา อะนิจจา                                   สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง
สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ.                                  ธรรมทั้งหลายทั้งปวงไม่ใช่ตัวตนดังนี้
เต(ตา) มะยัง โอติณณามะหะ,                          พวกเราทั้งหลายเป็นผู้ถูกครอบงำแล้วด้วย
ชาติยา,                                                                        โดยความเกิด
ชะรามะระเณนะ,                                             โดยความแก่ และความตาย
โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ           โดยความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบาย
อุปายาเสหิ,                                                      กาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ทั้งหลาย
ทุกโขติณณา,                                                   เป็นผู้ถูกความทุกข์หยั่งเอาแล้ว
ทุกขะปะเรตา,                                                   เป็นผู้มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้าแล้ว
อัปเปวะนามิมัสสะ เกวะลัสสะ                         ทำไฉน การทำที่สุดแห่งทุกทั้งสิ้นนี้ จะพึง
ทุกขักขันธัสสะอันตะกิริยา ปัญญาเยถาติ.       ปรากฏชัดแก่เราได้
(ฆราวาส เว้นตรงนี้ไปสวดต่อด้านท้ายสุด)
จิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง                  เราทั้งหลาย อุทิศเฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้
อุททิสสะ อะระหันตัง สัมมาสัมพุทธัง,            ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ขอบได้โดยพระองค์เอง แม้
สัทธา อะคารัสฺมา อะนะคาริยัง ปัพพะชิตา,     ปรินิพพานนานแล้วพระองค์นั้นเป็นผู้มีศรัทธา
ออกบวชจากเรือน ไม่เกี่ยวข้องกับเรือนแล้ว
ตัสฺมิง ภะคะวันติ พฺหรหฺจะริยัง จะรามะ,         ประพฤติอยู่ซึ่งพรหมจรรย์
ในพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ภิกขูนัง     (สามะเณรานัง)                               ถึงพร้อมด้วยสิกขาและธรรมเป็นเครื่องเลี้ยง
 สิกขาสาชีวะสะมาปันนา,                               ชีวิตของภิกษุทั้งหลาย
ตัง โน พฺรหฺมจะริยัง อิมัสสะ เกวะลัสสะ          ขอให้พรหมจรรย์ของเราทั้งหลายนั้น จงเป็นไป
ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยายะ สังวัตตะตุ.       เพื่อทำการที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นเทอญ.
(ฆราวาส สวดดังนี้)
จิระปะรินิพพุต้มปิ ตัง ภะคะวันตัง                  เราทั้งหลายขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์
สะระณังคะตา,                                                 นั้นแม้ปรินิพพานนานมาแล้วว่าเป็นสรณะ
ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ,                                 พร้อมทั้งถึงซึ่งพระธรรมและถึงซึ่งพระสงฆ์
ตัสสะ ภะคะวะโต สาสะนัง ยะภาสติ               จักทำในใจอยู่ปฏิบัติตามอยู่ซึ่งคำสอนของพระผู้
ยะถาพะลังมะนะสิกะโรมะ,                             มีพระภาคเจ้านั้นตามสติกำลัง
อะนุปะฏิปัชชามะสา สา โน ปะฏิปัตติ,            ขอให้การปฏิบัตินั้นๆ ของเราทั้งหลาย
อิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ                 จงเป็นไปเพื่ออันทำที่สุด
อันตะกิริยายะ สังวัตตะตุฯ                              แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นเทอญ
ตังขณิกปัจจเวกขณะปาฐะ
(หัวหน้ำนำ)
หันทะ มะยัง ตังขะณิกปัจจเวกขณะปาฐัง       เราทั้งหลายจงสวดตังขณิกปัจจเวกขณะปาฐะ
ภะณามะ เสฯ                                                   กันเถิด
(รับพร้อมกัน)
.ว่าด้วยจีวร
ปะฏิสังขา โยนิโส จีวะรัง ปะฏิเสวามิ,             เราย่อมพิจารณาโดยแยบคายแล้วนุ่มห่มจีวร
อุณหัสสะ ปฏิฆาตายะ                                     เพื่อบำบัดความร้อน
ยาวะเทวะ สีตัสสะ ปะฏิฆาตายะ,                    เพียงเพื่อบำบัดความหนาว
ฑังสะมะกะสะวาตาตะปะสิริงสะปะ                เพื่อบำบัดสัมผัสอันเกิดจากเหลือบ ยุง ลมแดด
สัมผัสสานังปะฏิฆาตายะ                                และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย
ยาวะเทวะ หิริโกปินะปฏิจฉาทะนัตถัง            และเพียงเพื่อปกปิดอวัยวะ อันให้เกิดความละอาย
.ว่าด้วยบิณบาตร
ปะฏิสังขา โยนิโส ปิณฑปาตัง ปะฏิเสวามิ       เราย่อมพิจารณาโดยแยบคายแล้วฉันบิณฑบาต
เนวะทะวายะ,                                                  ไม่ให้เป็นไปเพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนาน
นะ มัณฑะนายะ,                                              ไม่ให้เป็นไปเพื่อความประดับ
นะ วิภูสะนายะ,                                               ไม่ให้เป็นไปเพื่อตกแต่ง
ยาวะเทวะ อิมัสสะ กายัสสะ ฐิติยา,                  แต่ให้เป็นไปเพียงเพื่อความตั้งอยู่ได้แห่งกายนี้
ยาปะนายะ.                                                      เพื่อความเป็นไปได้ของอัตภาพ
วิหิงสุปะระติยา,                                              เพื่อความสิ้นไปแห่งความลำบากทางกาย
พฺรหฺมะจะริยานุคคาหายะ,                              เพื่ออนุเคราะห์แก่การประพฤติพรหมจรรย์
อิติ ปูรานัญจะ เวทะนัง ปะฏิหังขามิ,               ด้วยอาการทำอย่างนี้ เราย่อมระงับเสียได้ซึ่ง
ทุกขเวทนาเก่าคือความหิว,
นะวัญจะ เวทะนัง อุปปาเทสสามิ,                   และไม่ทำทุกขเวทนาใหม่ให้เกิดขึ้น
ยาตฺรา จะ เม ภะวิสสะติ อะนะวัชชะตา           อนึ่ง ความเป็นไปโดยสะดวกแห่งอัตตภาพนี้
จะ ผาสุวิหาโรจาติ                                           ด้วยความเป็นผู้หาโทษมิได้ด้วย และความ
๓.ว่าด้วยเสนาสนะ
ปะฏิสังขา โยนิโส เสนาสะนัง ปะฏิเสวามิ        เราย่อมพิจารณาโดยแยบคายแล้วใช้สอยเสนาสนะ
ยาวะเทวะ สีตัสสะ ปะฏิฆาตายะ,                    เพียงเพื่อบำบัดความหนาว
อุณฺหัสสะ ปะฏิฆาตายะ,                                  เพื่อบำบัดความร้อน
ฑังสะมะกะสะวาตาตะปะสิงริงสะปะ              เพื่อบำบัดสัมผัสกันเกิดจากเหลือบ ยุง ลม แดด
สัมผัสสานังปะฏิฆาตายะ                                และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย
ยาวะเทวะ อุตุปริสสะยะวิโนทะนัง                  เพียงเพื่อบรรเทาอันตรายอันจะพึงมีจากดินฟ้า
ปะฏิสัลลานารามัตถัง,                                     อากาศ และเพื่อความเป็นผู้ยินดีอยู่ได้
ในที่หลีกเร้นสำหรับภาวนา
๔.ว่าด้วยคิลานเภสัข
ปะฏิสังขา โยนิโส คิลานะปัจจะยะเภสัชชะ      เราย่อมพิจารณาโดยแยบคายแล้วบริโภคเภสัช
ปะริกขารัง ปะฏิเสวามิ,                                   บริขารอันเกื้อกูลแก่คนไข้
ยาวะเทวะ อุปปันนานัง เวยยาพาธิกานัง         เพียงเพื่อบำบัดทุกขเวทนาอันบังเกิดขึ้นแล้ว มี
เวทะนานัง ปะฏิฆาตายะ,                                อาพาธต่างๆ เป็นมูล
อัพฺยาปัชฌะปะระมะตายาติ,                           เพื่อความเป็นผู้ไม่มีโรคเบียดเบียน เป็นอย่างยิ่ง ดังนี้
อภิณหะปัจจะเวกขณะปาฐะ
หันทะ มะยัง อะภิณหะปัจจะเวปขณะปาฐัง     เชิญเถิด เราทั้งหลาย มาสวดอภิณหปัจจเวกขณะปาฐะ
ภะณามะ เส                                                      กันเถิด
ชราธัมโมมหิ ชะรัง อะนะตีโต                          เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้
พฺยาธิธัมโมมหิ พฺยาธิง อะนะตีโต,                   เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้
มะระณะธัมโมมหิ มะระณัง อะนะตีโต เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้
สัพเพหิ เม ปิเยหิ มะนาเปหิ                             เราจะละเว้นเป็นต่างๆ คือว่าพลัดพรากจากของรัก
นานาภาโว วินาภาโภ                                       ของเจริญใจทั้งหลายทั้งปวง
กัมมัสสะโกมหิ                                                 เรามีกรรมเป็นของ ตน
กัมมะทายาโท                                                  เราเป็นผู้รับผลของกรรม
กัมมะโยนิ                                                        เรามีกรรมเป็นกำเนิด
กัมมะพันธุ                                                       เรามีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์
กัมมะปะฏิสะระโณ,                                         เรามีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย
ยัง กัมมัง กะรัสสามิ,                                        เราจักทำกรรมอันใดไว้
กัลป์ยาณัง วา ปาปะกังวา,                               ดีหรือชั่วก็ตาม
ตัสสะ ทายาโท ภะวิสสามิ                                เราจักเป็นผู้รับผลของกรรม
เอวัง อัมเหหิ อะภิณหัง ปัจจะเวขิตัพพัง          เราทั้งหลายพึงพิจารณาอย่างนี้ทุกวันๆ เทอญ

ไม่มีความคิดเห็น: